คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้จ่ายและได้รับรองตั๋วแลกเงินอันต้องผูกพันจ่ายเงินตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา937ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับลูกหนี้ที่1ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินลูกหนี้ที่1ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา967วรรคสามเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ลูกหนี้ที่1ได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้ (จำเลย ) ที่ 1 และ ที่ 3 เด็ดขาด เจ้าหนี้ ได้ ยื่น ขอรับชำระหนี้ จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ที่ 1 และ ที่ 3 รวม 4 อันดับอันดับ ที่ 1 หนี้ ตาม คำขอ ออก หนังสือ ค้ำประกัน อันดับ ที่ 2หนี้ ตาม สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี อันดับ ที่ 3 หนี้ เงินกู้และ อันดับ ที่ 4 หนี้ อาวัล ตั๋วเงิน รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น157,169,191.02 บาท
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ นัด ตรวจ คำขอ รับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 104 แล้ว ไม่มี ผู้ใด โต้แย้งคำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ สอบสวน แล้ว เห็นว่า ควร ให้ เจ้าหนี้ได้รับ ชำระหนี้ ใน มูลหนี้ อันดับ ที่ 1, 2 และ 3 จาก กอง ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ ที่ 1 รวมเป็น เงิน 135,178,718.44 บาท โดย ใน หนี้ ดังกล่าวให้ ลูกหนี้ ที่ 3 ร่วมรับผิด จำนวน 19,280,000 บาท ตาม มาตรา 130(8)แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดย มี เงื่อนไข ใน หนี้อันดับ ที่ 1 เจ้าหนี้ จะ ได้รับ ชำระหนี้ ต่อเมื่อ เจ้าหนี้ ได้ ปฏิบัติการชำระหนี้ ตาม สัญญาค้ำประกัน ให้ แก่ กรมชลประทาน กรมทางหลวง และการ เคหะ แห่งชาติ แล้ว และ หาก ได้รับ ชำระหนี้ อันดับ ที่ 1, 2 และ 3จาก ผู้ค้ำประกัน ร่วม หรือ บังคับจำนอง ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้างที่ มี อยู่ หรือ จะ มี ขึ้น ภายหน้า ไป แล้ว เพียงใด ก็ ให้สิทธิ ที่ จะได้รับ ชำระหนี้ ใน คดี นี้ ลดลง เพียง นั้น สำหรับ หนี้ อันดับ ที่ 4และ ส่วน ที่ ขอ เกิน มา ให้ยก เสีย
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง อนุญาต ให้ เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระหนี้ตาม ความเห็น ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
เจ้าหนี้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี คง มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ เจ้าหนี้ ว่าเจ้าหนี้ มีสิทธิ ได้รับ ชำระหนี้ ใน มูลหนี้ อันดับ ที่ 4 ซึ่ง ได้รับ รองตั๋วแลกเงิน รวม 116 ฉบับ เป็น เงิน 19,996,724.08 บาท หรือไม่ เพียงใดปัญหา ดังกล่าว ข้อเท็จจริง ที่ มิได้ โต้เถียง กัน ใน ชั้น นี้ ฟัง ยุติตาม ทาง สอบสวน ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ และ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ว่าลูกหนี้ ที่ 1 ได้ ออก ตั๋วแลกเงิน รวม 116 ฉบับ สั่ง ให้ เจ้าหนี้สำนัก พหลโยธิน จ่ายเงิน ให้ แก่ บุคคล ที่ ระบุ ใน ตั๋วแลกเงิน โดย เจ้าหนี้ได้ ลงลายมือชื่อ ไว้ ด้านหน้า ของ ตั๋วแลกเงิน ใต้ ข้อความ ว่า”รับรอง แล้ว ” หรือ ข้อความ ว่า “ข้าพเจ้า ธนาคาร กสิกรไทย (สำนัก พหลโยธิน ) รับรอง จ่ายเงิน ตาม ตั๋วแลกเงิน นี้ ” ปรากฏ ตามตั๋วแลกเงิน เอกสาร หมาย จ. 44/1 ถึง จ. 44/116 อันเป็น การ รับรองตั๋วแลกเงิน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 931เมื่อ ตั๋วแลกเงิน แต่ละ ฉบับ ถึง กำหนด ชำระ ผู้ทรง ได้ เรียกเก็บเงินตาม ตั๋วแลกเงิน เจ้าหนี้ ได้ จ่ายเงิน ไป ตาม ตั๋วแลกเงิน ทุก ฉบับปัญหา ตาม ฎีกา ซึ่ง เจ้าหนี้ ฎีกา ว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิ ไล่เบี้ย บังคับเอา แก่ ลูกหนี้ ที่ 1 ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967นั้น เห็นว่า มาตรา 967 บัญญัติ ว่า “ใน เรื่อง ตั๋วแลกเงิน นั้นบรรดา บุคคล ผู้สั่งจ่าย ก็ ดี รับรอง ก็ ดี สลักหลัง ก็ ดี หรือ รับประกันด้วย อาวัล ก็ ดี ย่อม ต้อง ร่วมกัน รับผิด ต่อ ผู้ทรง
ผู้ทรง ย่อม มีสิทธิ ว่ากล่าว เอาความ แก่ บรรดา บุคคล เหล่านี้เรียงตัว หรือ รวมกัน ก็ ได้ โดย มิพัก ต้อง ดำเนิน ตามลำดับ ที่ บุคคลเหล่านั้น มา ต้อง ผูกพัน
สิทธิ เช่นเดียวกัน นี้ ย่อม มี แก่ บุคคล ทุกคน ซึ่ง ได้ ลงลายมือชื่อใน ตั๋วเงิน และ เข้า ถือเอา ตั๋วเงิน นั้น ใน การ ที่ จะ ใช้ บังคับ เอา แก่ผู้ที่ มี ความผูกพัน อยู่ แล้ว ก่อน ตน ฯลฯ ” ซึ่ง ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าววรรคสาม ผู้ที่ ลงลายมือชื่อ ใน ตั๋วแลกเงิน และ เข้า ถือเอา ตั๋วแลกเงินนั้น จะ มีสิทธิ ไล่เบี้ย บังคับ เอา แก่ ผู้ที่ มี ความผูกพัน ตาม ตั๋วแลกเงินได้ เฉพาะ ผู้ที่ มี ความผูกพัน อยู่ แล้ว ก่อน ตน เท่านั้น ดังนี้ เจ้าหนี้ซึ่ง เป็น ผู้จ่าย และ ได้รับ รอง ตั๋วแลกเงิน อัน ต้อง ผูกพัน จ่ายเงินตาม เนื้อความ แห่ง คำรับ รอง ของ ตน ตาม มาตรา 937 ย่อม อยู่ ใน ฐานะลูกหนี้ ชั้นต้น อย่างเดียว กับ ลูกหนี้ ที่ 1 ซึ่ง เป็น ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน ลูกหนี้ ที่ 1 ไม่ได้ อยู่ ใน ฐานะ ที่ มี ความผูกพัน อยู่ แล้วก่อน เจ้าหนี้ ตาม มาตรา 967 วรรคสาม เจ้าหนี้ จึง ไม่มี สิทธิ ไล่เบี้ยบังคับ เอา แก่ ลูกหนี้ ที่ 1 ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ยก คำขอ รับชำระหนี้ อันดับ ที่ 4 ของ เจ้าหนี้ ตาม ความเห็น ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ชอบแล้ว ฎีกา ของ เจ้าหนี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share