คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์เป็นผู้นำ เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยซึ่งเป็น ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามปกติแล้วโจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่ต้องชำระ ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายตามตาราง5ข้อ3ท้ายป.วิ.พ.และป.วิ.พ.มาตรา149แต่มาตรา149อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชั้นที่สุดของคู่ความในเรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งมาตรา161วรรคแรกบัญญัติให้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีและวรรคสองบัญญัติว่าถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยคดีนี้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงต้องรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีอย่างไรก็ตามบทบัญญัติมาตรา161วรรคแรกให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน444,816.03 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 17.5 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 1 กันยายน 2526 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ยก่อน ฟ้อง (ฟ้อง วันที่ 21 มีนาคม 2529) ต้อง ไม่เกิน 198,979.02 บาทและ ให้ จำเลย ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ2,500 บาท จำเลย ไม่ยอม ชำระหนี้ ให้ โจทก์ โจทก์ ขอให้ ศาลชั้นต้นออกหมาย บังคับคดี ยึดทรัพย์สิน ของ จำเลย ออก ขายทอดตลาด ใช้ หนี้ โจทก์ตาม คำพิพากษา โจทก์ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด ที่ดิน ของ จำเลย 3 แปลงโฉนด เลขที่ 16843, 39928 และ เลขที่ 39929 พร้อม สิ่งปลูกสร้างเจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ดำเนินการ ประกาศ ขายทอดตลาด ที่ดิน ทั้ง สาม แปลงพร้อม สิ่งปลูกสร้าง และ ใน วัน ขายทอดตลาด เจ้าพนักงาน บังคับคดี กำหนดให้ แยก ขาย ที่ดิน ที ละ แปลง โดย ได้ ทำการ ขายทอดตลาด ที่ดิน โฉนด เลขที่16843 เป็น ลำดับ แรก ปรากฏว่า มี ผู้ ให้ ราคา สูงสุด เป็น เงิน 1,270,000บาท เจ้าพนักงาน บังคับคดี ตกลง ขาย ให้ แก่ ผู้ ให้ ราคา สูงสุด นั้น และเห็นว่า จำนวนเงิน ที่ ขาย ได้ นั้น เพียงพอ ที่ จะ ชำระหนี้ ให้ โจทก์ ตามคำพิพากษา และ ค่าธรรมเนียม กับ ค่าใช้จ่าย ใน ชั้น บังคับคดี แล้วจึง ให้ งด ขายทอดตลาด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 39928 และ เลขที่ 39929 และมี คำสั่ง ให้ โจทก์ เป็น ผู้ เสีย ค่าธรรมเนียม ยึด แล้ว ไม่มี การ ขาย
โจทก์ ยื่น คำร้อง ว่า คำสั่ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เพราะ ผู้ที่ มี หน้าที่ ต้อง เสีย ค่าธรรมเนียม ดังกล่าว คือ จำเลยไม่ใช่ โจทก์ โจทก์ นำยึด ที่ดิน ทั้ง สาม แปลง พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ของจำเลย โดยสุจริต ตาม ความจำเป็น มิได้ กลั่นแกล้ง จำเลย จำเลย กับพวกร่วมกัน ประมูล ซื้อ ที่ดิน ใน ราคา สูง เกินกว่า ราคา ท้องตลาด โดย ไม่สุจริตเพื่อ ไม่ให้ มี การ ขาย ที่ดิน อีก สอง แปลง ที่ ยึด หาก การ ขาย เป็น ไป ตามปกติ และ โดยสุจริต แล้ว ที่ดิน ทั้ง สาม แปลง ต้อง ขาย ไป ทั้งหมด จึง จะพอ แก่ การ ชำระหนี้ ของ โจทก์ ได้ จำเลย ต้อง เป็น ฝ่าย รับผิด เสียค่าธรรมเนียม ยึด แล้ว ไม่มี การ ขาย ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงานบังคับคดี และ ให้ จำเลย เป็น ฝ่าย เสีย ค่าธรรมเนียม ยึด แล้ว ไม่มี การ ขายตลอดจน ค่าใช้จ่าย ใน ชั้น บังคับคดี ด้วย
จำเลย ยื่น คำคัดค้าน ว่า โจทก์ ยึดทรัพย์ ของ จำเลย เกินกว่า หนี้เป็น การกระทำ โดย ไม่สุจริต และ กลั่นแกล้ง จำเลย โจทก์ ต้อง รับผิดใน ค่าธรรมเนียม แล้ว ไม่มี การ ขาย ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง ว่า คำสั่ง ของ เจ้าพนักงานบังคับคดี ชอบแล้ว ยกคำร้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ ว่า โจทก์ หรือ จำเลยมี หน้าที่ ต้อง ชำระ ค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงาน บังคับคดี เมื่อ ยึดทรัพย์สิน แล้ว ไม่มี การ ขาย ตาม ตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง ศาลฎีกา เห็นว่า ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 149 ค่าธรรมเนียมศาล ใน การ ดำเนิน กระบวนพิจารณาอย่างอื่น ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน ตาราง ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น ให้ คู่ความ ผู้ ดำเนิน กระบวนพิจารณา นั้น ๆ เป็น ผู้ชำระ แม้ โจทก์เป็น ผู้นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ไป ยึด ที่ดิน ทั้ง สาม แปลง ของ จำเลยซึ่ง ถือได้ว่า โจทก์ ดำเนินการ กระบวนพิจารณา อย่างอื่น และ เมื่อขายทอดตลาด ที่ดิน ที่ ยึด เพียง แปลง เดียว ได้ เงิน เพียงพอ ชำระหนี้ตาม คำพิพากษา แก่ โจทก์ ทำให้ ไม่ต้อง ขายทอดตลาด ที่ดิน ที่ ยึด อีก สอง แปลงซึ่ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ถอน การ ยึด แล้ว โจทก์ จึง มี หน้าที่ ต้องชำระ ค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงาน บังคับคดี ตาม ตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาม บท มาตรา ดังกล่าว ก็ ตาม แต่บทบัญญัติ มาตรา 149 ก็ อยู่ ภายใต้ บังคับ บทบัญญัติ ว่าด้วย ความรับผิดชั้น ที่สุด ของ คู่ความ ใน เรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียม และ มาตรา 161 วรรคแรกบัญญัติ ให้ ความรับผิด ชั้น ที่สุด สำหรับ ค่าฤชาธรรมเนียม ของ คู่ความใน คดี ย่อม ตก อยู่ แก่ คู่ความ ฝ่าย ที่ แพ้ คดี และ วรรคสอง บัญญัติ ว่าถ้า มิได้ ระบุ ค่าฤชาธรรมเนียม ชนิด ใด ไว้ โดยเฉพาะ ค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ให้ รวม ถึง ค่าธรรมเนียม ใน การ บังคับคดี ด้วย คดี นี้ จำเลย เป็นฝ่าย ที่ แพ้ คดี ซึ่ง ต้อง รับผิด ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ความรับผิด ชั้น ที่สุด สำหรับ ค่าฤชาธรรมเนียม ของ คู่ความ ใน คดี ย่อม ตกอยู่ แก่ จำเลย แต่ อย่างไร ก็ ตาม บทบัญญัติ มาตรา 161 วรรคแรก ให้ เป็นดุลพินิจ ของ ศาล ที่ จะ กำหนด ให้ คู่ความ ฝ่ายใด หรือ ทั้ง สอง ฝ่าย เสียค่าฤชาธรรมเนียม ทั้งหมด หรือ แต่ บางส่วน โดย คำนึง ถึง เหตุสมควร และความ สุจริต ใน การ ดำเนินคดี ของ คู่ความ ทั้งปวง ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า เมื่อ โจทก์ เป็น ฝ่าย ดำเนินการ บังคับคดี โดย เป็น ผู้นำยึดที่ดิน ของ จำเลย อีก สอง แปลง แล้ว ไม่มี การ ขาย โจทก์ ย่อม มี หน้าที่ต้อง เสีย ค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงาน บังคับคดี โดย ไม่ต้อง คำนึง ว่าโจทก์ จะ ได้ นำยึด โดยสุจริต และ เป็น ผู้ขอ ให้ ถอน การ ยึด หรือไม่ กรณีไม่ใช่ เรื่อง ความรับผิด ชั้น ที่สุด สำหรับ ค่าฤชาธรรมเนียม ของ คู่ความใน คดี ซึ่ง ศาล ไม่อาจ ใช้ ดุลพินิจ กำหนด ให้ ฝ่าย จำเลย รับผิด แทน ฝ่ายโจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ได้ ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย และ เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ ไป ทีเดียวโดย ไม่จำต้อง ย้อนสำนวน พฤติการณ์ แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย เป็น ฝ่ายไม่สุจริต ใน การ บังคับคดี และ ประวิง การ ชำระหนี้ แก่ โจทก์ คดี มีเหตุ ผลสมควร ให้ จำเลย เป็น ผู้รับผิด ใน ค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงาน บังคับคดีเมื่อ ยึดทรัพย์สิน แล้ว ไม่มี การ ขาย ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ จำเลย เป็น ฝ่าย รับผิด เสีย ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงาน บังคับคดี เมื่อ ยึดทรัพย์สิน แล้ว ไม่มี การ ขาย

Share