คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การใช้ทางในที่ดินของบุคคลหนึ่งจะตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้นไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งเจ้าของบ้านอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่นดังกล่าวโจทก์ที่2ผู้เป็นเจ้าของบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นเจ้าของทางภารจำยอมจึงไม่อาจอ้างการได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความได้เพราะเป็นการใช้ทางภารจำยอมโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ที่1และเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 29447 โจทก์ ที่ 2 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์บ้าน เลขที่ 18/6 ซึ่ง ปลูก ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1 โจทก์ ทั้ง สองตั้ง บ้านเรือน อยู่ ใน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ไม่ น้อยกว่า 25 ปี ที่ดินตั้ง บ้าน ของ โจทก์ ทั้ง สอง ล้อมรอบ ด้วย ที่ดิน แปลง อื่น ไม่มี ทาง ออกสู่ ถนน สาธารณะ โจทก์ ทั้ง สอง และ ครอบครัว ได้ ใช้ ที่ดิน ของ จำเลยกว้าง ประมาณ 4 เมตร ยาว ประมาณ 25 เมตร เป็น ทางเดิน และ ทาง รถยนต์เข้า ออก สู่ ถนน สาธารณะ ตลอดมา ไม่ น้อยกว่า 25 ปี เมื่อ ประมาณ เดือนธันวาคม 2534 จำเลย ได้ ปิด กั้น ทางเดิน รถยนต์ เข้า ออก ดังกล่าวขอให้ พิพากษา ว่า ทางเดิน ตาม แผนที่ ท้ายฟ้อง หมายเลข 3 เป็น ทางภารจำยอมและ ให้ จำเลย จดทะเบียน ภารจำยอม ใน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 29444 และ 29445ถ้า จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ขอให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลยและ ให้ บังคับ จำเลย รื้อถอน สิ่ง ปิด กั้น ทาง ออก ไป จาก ที่พิพาท ห้าม มิให้จำเลย และ บริวาร ขัดขวาง การ ใช้ ทางพิพาท ของ โจทก์ ทั้ง สอง หาก จำเลยไม่ รื้อถอน สิ่ง ปิด กั้น ทาง ออก ก็ ให้ โจทก์ ทั้ง สอง หรือ ตัวแทน ของ โจทก์ทั้ง สอง มีอำนาจ รื้อถอน รั้ว และ สิ่ง ปิด กั้น ดังกล่าว ได้ โดย ห้าม มิให้จำเลย และ บริวาร ขัดขวาง
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ใช้ ทางเดิน ออก สู่ ทางสาธารณะผ่าน ที่ดิน ของ จำเลย ไม่ถึง 10 ปี จึง ไม่เป็น ทางภารจำยอม และ ไม่ได้เป็น การ เข้า ออก โดย ความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของการ เข้า ออก โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง ขออนุญาต จาก จำเลย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย จดทะเบียน ภารจำยอม ใน ที่ดิน โฉนดเลขที่ 29444 และ 29445 ตำบล นา (ตำบลในเมือง) อำเภอ เมือง นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช ถ้า จำเลย ไม่ จดทะเบียน ภารจำยอมดังกล่าว ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลยห้าม มิให้ จำเลย และ บริวาร ขัดขวาง การ ใช้ ทางภารจำยอม ของ โจทก์ ทั้ง สองและ ให้ จำเลย รื้อถอน สิ่ง ปิด กั้น ออก ไป จาก ที่พิพาท สำหรับ ประตู รั้วนั้น ให้ จำเลย เปิด ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ใช้ รถยนต์ เข้า ออก ได้ ตาม ปกติ และให้ ปิด ไว้ เมื่อ ไม่ได้ ใช้ ประตู ดังกล่าว แล้ว
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ประการ ต่อไป ว่า ทางพิพาท เป็นภารจำยอม แก่ ที่ดิน โจทก์ หรือไม่ และ มี ความ กว้าง เท่าใด ข้อเท็จจริงรับฟัง ได้ เป็น ยุติ ตาม ที่ คู่ความ นำสืบ ตรง กัน และ มิได้ ฎีกา โต้เถียง กันว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น บุตร ของ โจทก์ ที่ 2 ที่ดิน โฉนด เลขที่ 19447เอกสาร หมาย จ. 1 ของ โจทก์ ที่ 1 กับ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 29445 และ 29444เอกสาร หมาย ล. 1 และ ล. 2 ของ จำเลย เดิม เป็น ที่ดิน แปลง เดียว กันเป็น กรรมสิทธิ์ ของ นาย เพิ่ม หนูนิล ซึ่ง เป็น บิดา ของ จำเลย และ โจทก์ ที่ 2 ต่อมา นาย เพิ่ม ได้ แบ่งแยก ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย อยู่ ติด กัน โดย ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1อยู่ ทิศตะวันตก ของ ที่ดิน ของ จำเลย ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1 อยู่ ด้าน ในขณะที่ นาย เพิ่ม ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ นั้น ได้ สั่ง ไว้ ให้ เว้น เป็น ทางเดิน เข้า ออก แก่ ที่ดิน ที่อยู่ ด้าน ใน ซึ่ง ใน เวลา ต่อมา จำเลย ก็ ได้เว้น ทางเดิน ให้ กว้าง 1 เมตร และ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ใช้ ทางเดิน จากที่ดิน โจทก์ ที่ 1 ออก สู่ ถนน สาธารณะ โดย ผ่าน ที่ดิน ของ จำเลย เป็น เวลากว่า 10 ปี แล้ว คง มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า โจทก์ทั้ง สอง ใช้ ทางพิพาท ดังกล่าว ออก สู่ ทางสาธารณะ โดย ผ่าน ที่ดิน ของ จำเลยนั้น เป็น การ ถือ วิสาสะ ใน ระหว่าง พี่น้อง ด้วยกัน หรือ ได้รับ อนุญาต จากจำเลย หรือไม่ จำเลย เบิกความ ว่า ได้ ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ใช้ ทางพิพาทกว้าง 1 เมตร โดย ทำ ตาม คำสั่ง ของ นาย เพิ่ม แต่ จำเลย ก็ ยัง สงวนสิทธิ ด้วย การ ทำ ประตู รั้ว ตา ข่าย 2 บาน บาน เล็ก กว้าง ประมาณ 1 เมตรจะ เปิด ให้ พี่น้อง ที่ มี ที่ดิน อยู่ ด้าน ใน รวมทั้ง โจทก์ ทั้ง สอง ใช้ เดินเข้า ออก สู่ ถนน สาธารณะ ได้ โดย มอบ กุญแจ ให้ แก่ โจทก์ เปิด เฉพาะ ประตูบาน เล็ก 1 ดอก ส่วน ประตู บาน ใหญ่ จะ ปิด ไว้ และ จะ เปิด เมื่อ จำเลยนำ รถ เข้า ออก เท่านั้น จาก คำเบิกความ ของ จำเลย ที่ ว่า ได้ เว้น เป็นทางเดิน กว้าง 1 เมตร ให้ แก่ ที่ดิน ที่อยู่ ด้าน ใน รวมทั้ง โจทก์ ทั้ง สองใช้ เดิน เข้า ออก สู่ ถนน สาธารณะ ตาม เจตนา ของ นาย เพิ่ม เจ้าของ ที่ดิน เดิม เมื่อ พิเคราะห์ ประกอบ กับ พฤติการณ์ ตาม ความ เป็น จริง ที่ จำเลย ปล่อย ให้โจทก์ ทั้ง สอง และ พี่น้อง ที่อยู่ ด้าน ใน ได้ ใช้ ทางเดิน ดังกล่าว มา เป็นเวลา ช้านาน กว่า 10 ปี แล้ว ที่ จำเลย นำสืบ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง มาขออนุญาต จาก จำเลย นั้น เห็นว่า จำเลย นำสืบ อ้าง เพียง ลอย ๆ ว่าโจทก์ ทั้ง สอง ขออนุญาต จาก จำเลย ใช้ ทาง ดังกล่าว แต่ ตาม พฤติการณ์ไม่ปรากฏ ว่า มี ผู้ใด ทักท้วง หรือ โต้แย้ง ไม่ให้ ใช้ ทาง ดังกล่าวแต่ ประการใด ข้อ นำสืบ ของ จำเลย จึง ขัด ต่อ ความ เป็น จริง และ ไม่ สม เจตนาของ เจ้าของ ที่ดิน เดิม รูปคดี มีเหตุ ผล เชื่อ ได้ว่า มิได้ ขออนุญาต จากจำเลย และ มิใช่ เป็น การ ใช้ โดย ถือ วิสาสะ แต่ โจทก์ ทั้ง สอง ใช้ ทาง ดังกล่าวอย่าง ทางภารจำยอม และ ได้ ตกเป็น ภารจำยอม โดย อายุความ แล้ว แต่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์ จะ ตกอยู่ในภารจำยอม ก็ ต้อง เพื่อ ประโยชน์ แก่ อสังหาริมทรัพย์ อื่น กรณี การ ใช้ทาง ใน ที่ดิน ของ บุคคล หนึ่ง จะ ตกเป็น ทางภารจำยอม โดย อายุความ ก็ ต้องเพื่อ ประโยชน์ แก่ ที่ดิน ของ บุคคลอื่น เท่านั้น ไม่ใช่ เพื่อ ประโยชน์แก่ ตัว บ้าน ซึ่ง เจ้าของ บ้าน อาศัย สิทธิ ปลูก อยู่ บน ที่ดิน ของบุคคลอื่น ดังกล่าว ดังนั้น โจทก์ ที่ 2 ผู้เป็น เจ้าของ บ้าน เลขที่ 18/6แต่ มิได้ เป็น เจ้าของ ที่ดิน ที่ บ้าน ดังกล่าว ตั้ง อยู่ จึง ไม่อาจอ้าง การ ได้ สิทธิ ทางภารจำยอม โดย อายุความ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1401 เพราะ เป็น การ ใช้ ทางภารจำยอม โดย อาศัยสิทธิ ของ โจทก์ ที่ 1 ผู้เป็น เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 29447ที่ โจทก์ ที่ 2 ปลูก บ้าน อยู่ โจทก์ ที่ 2 ไม่อาจ อ้างว่า ที่ดิน ของ จำเลยตกเป็น ทางภารจำยอม แก่ บ้าน ของ โจทก์ ที่ 2 ได้ ทางพิพาท จึง ตกเป็นภารจำยอม แก่ ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1 เท่านั้น ปัญหา ดังกล่าว และ เป็นปัญหา เรื่อง อำนาจฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 2 เป็น ปัญหา อัน เกี่ยว ด้วยความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน และ ข้อเท็จจริง ดังกล่าว อยู่ ใน ฟ้องของ โจทก์ ทั้ง สอง จึง เป็น ข้อเท็จจริง ที่ เข้า สู่ สำนวน โดย ถูกต้องตาม วิธีพิจารณา แม้ จำเลย ไม่ได้ ยกขึ้น ว่ากล่าว ก็ ตาม ศาลฎีกา ก็ มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย เอง ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 29444 และ 29445 ตำบล นา (ตำบล ใน เมือง ) อำเภอ เมือง นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราชของ จำเลย ใน ส่วน ทางพิพาท ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 3 กว้าง ประมาณ3 เมตร ตกเป็น ทางภารจำยอม แก่ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 29447 ตำบล นา (ตำบล ใน เมือง ) อำเภอ เมือง นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราชของ โจทก์ ที่ 1 และ ให้ จำเลย ไป ขอ จดทะเบียน ภารจำยอม ดังกล่าว หาก จำเลยไม่ไป ดำเนินการ ดังกล่าว ก็ ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดงเจตนา ของ จำเลย ห้าม มิให้ จำเลย และ บริวาร ขัดขวาง การ ใช้ ทางภารจำยอมของ โจทก์ ที่ 1 และ บริวาร และ ให้ จำเลย รื้อถอน สิ่ง ปิด กั้น ออก ไป จากทางภารจำยอม ให้ยก คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ใน ส่วน ที่ บังคับให้ จำเลย เปิด และ ปิด ประตู รั้ว นั้น เสีย และ ให้ยก ฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 2

Share