แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้โจทก์ได้นำยึดที่ดินพิพาทไว้ก่อนแต่เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่1จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องก็ถือว่าผู้ร้องมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทผู้ร้องย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ร้องขอให้เพิกถอนการยึดของโจทก์ได้
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษา ตามยอม ให้ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน ใช้ เงิน ยืม แก่ โจทก์ จำนวน 600,000 บาท ภายใน วันที่ 1 ตุลาคม2532 แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ชำระ โจทก์ ขอ หมาย บังคับคดี แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดี ยึด ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )เลขที่ 1389 ซึ่ง จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ที่ดิน ที่ โจทก์ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึดศาลจังหวัด ชลบุรี พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ไป จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดินดังกล่าว แก่ ผู้ร้อง จึง ขอให้ เพิกถอน การ ยึด
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ยื่น คำคัดค้าน ใน ทำนอง เดียว กัน ว่า ผู้ร้องไม่มี สิทธิ ขอให้ เพิกถอน การ ยึดทรัพย์ ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ปล่อย ที่พิพาท น.ส.3 ก. เลขที่ 1389ตำบล บึง อำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 บัญญัติ ว่า ภายใต้ บังคับ แห่ง บทบัญญัติ มาตรา 288 และ 289บทบัญญัติ แห่ง ประมวล กฎหมาย นี้ ว่าด้วย การ บังคับคดี แก่ ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ ตาม คำพิพากษา นั้น ย่อม ไม่ กระทบ กระทั่ง ถึง บุริมสิทธิ หรือ สิทธิอื่น ๆ ซึ่ง บุคคลภายนอก อาจ ร้องขอ ให้ บังคับ เหนือ ทรัพย์สิน นั้น ได้ตาม กฎหมาย จึง เห็นว่า แม้ โจทก์ ยึด ที่ดินพิพาท ก่อน ศาลจังหวัด ชลบุรีพิพากษา ให้ จำเลย โอน ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ ผู้ร้อง ก็ ตาม แต่ ต่อมา เมื่อศาลจังหวัด ชลบุรี พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ไป จดทะเบียน ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ ผู้ร้อง ย่อม ถือว่า ผู้ร้อง มีสิทธิ ตาม คำพิพากษา ที่ จะบังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน สิทธิ ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ฉะนั้น ตราบใด ที่ ยัง ไม่มีการ ขายทอดตลาด ที่ดินพิพาท ผู้ร้อง ย่อม ใช้ สิทธิ ร้องขอ ให้ เพิกถอนการ ยึด ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้ส่วน ที่ โจทก์ อ้างว่า การ บังคับคดี ของ โจทก์ ไม่ กระทบ สิทธิ ของ ผู้ร้องเพราะ ผู้ร้อง มีสิทธิ ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าเสียหาย ได้ นั้นก็ เห็นว่า เมื่อ ผู้ร้อง มีสิทธิ บังคับ เหนือ ที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ดัง ที่ กล่าว มา แล้วโจทก์ ก็ ไม่มี สิทธิ ยึด ที่พิพาท ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 จึง ไม่เกี่ยว เรื่องที่ ว่า ผู้ร้อง จะ มีสิทธิ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ให้ ใช้ ค่าเสียหาย ได้ หรือไม่ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน