แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าเหตุละเมิดเกิดจากจำเลยที่1ได้ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2ชนรถยนต์ฝ่ายโจทก์โดย ประมาทเลินเล่อจำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้เป็นยุติปัญหาที่ว่าโจทก์ที่1ไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วยตามที่โจทก์ที่2ฎีกาหรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะหากวินิจฉัยแล้วผลออกมาว่าโจทก์ที่1มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วยจำเลยทั้งสองก็ยังต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่2อยู่เช่นเดิม โจทก์ที่2มิได้มีส่วนในการทำละเมิดด้วยจึงนำป.พ.พ.มาตรา442มาใช้บังคับแก่โจทก์ที่2หาได้ไม่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่1และจำเลยที่1ต่างมีส่วนประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันจำเลยที่1และที่2จึงร่วมกันรับผิดในความเสียหายเพียงกึ่งเดียวส่วนอีกกึ่งหนึ่งโจทก์ที่2จะต้องไปเรียกร้องจากโจทก์ที่1จึงไม่ชอบเพราะโจทก์ที่2ไม่ได้ฟ้องให้โจทก์ที่1รับผิดชอบใช้ค่าเสียหายร่วมกับจำเลยทั้งสองด้วย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง และ เป็น ตัวแทน ของจำเลย ที่ 2 ได้ ขับ รถยนต์บรรทุก รับจ้าง ใน กิจการ ของ จำเลย ที่ 2ด้วย ความประมาท ปราศจาก ความระมัดระวัง เป็นเหตุ ให้ ชน รถยนต์ ของโจทก์ ที่ 1 เสียหาย และ นาย ไผ่ดง บุตร ของ โจทก์ ที่ 2 ถึงแก่ความตาย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ โจทก์ ที่ 1เป็น เงิน 66,000 บาท และ ร่วมกัน ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ กับ โจทก์ ที่ 2จำนวน 320,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ ที่ 1 ได้ ขับ รถ พุ่ง เข้าชน ท้ายรถ ยนต์บรรทุก ขณะที่ จอด อยู่ ที่ ด้านขวา เพราะ ความประมาท ปราศจากความระมัดระวัง ของ โจทก์ ที่ 1 ฝ่ายเดียว ทำให้ รถยนต์บรรทุก ของจำเลย ที่ 2 ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง และ ให้ โจทก์ ที่ 1 ชำระเงิน จำนวน 37,000 บาท แก่ จำเลย ที่ 2 พร้อม ดอกเบี้ย
โจทก์ ที่ 1 ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ ค่าสินไหมทดแทนแก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 67,500 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ที่ 1 และ ยกฟ้อง แย้ง จำเลย ที่ 2
โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ค่าเสียหายให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 เพิ่ม อีก 7,500 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา ศาลชั้นต้น สั่ง รับ เฉพาะ ฎีกา โจทก์ ที่ 2ส่วน ฎีกา โจทก์ ที่ 1 ศาลชั้นต้น สั่ง ไม่รับ เพราะ ต้องห้าม ฎีกา ในข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ที่ 2 ฎีกา ว่า ที่ รถ เกิด ชนกัน ตาม ฟ้องเพราะ จำเลย ที่ 1 เป็น ฝ่าย ประมาท เลินเล่อ ฝ่ายเดียว โดย โจทก์ ที่ 1มิได้ มี ส่วน ประมาท เลินเล่อ ร่วม ด้วย เห็นว่า เมื่อ ศาลล่าง ทั้ง สองฟัง ข้อเท็จจริง ต้อง กัน ว่า ที่ รถ ฝ่าย โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย ชนกัน เกิดจากจำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ได้ ขับ รถ ของ จำเลย ที่ 2ไป ใน ทางการที่จ้าง โดยประมาท เลินเล่อ แต่ จำเลย ทั้ง สอง มิได้ ฎีกาโต้แย้ง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ดังนี้ ข้อเท็จจริง จึง ฟัง ยุติ ว่า ที่รถ เกิด ชนกัน เพราะ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ได้ ขับ รถ ของ จำเลยที่ 2 ไป ใน ทางการที่จ้าง โดยประมาท เลินเล่อ ดัง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองฟัง มา เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ดังกล่าว ปัญหา ที่ ว่า โจทก์ ที่ 1ไม่มี ส่วน ประมาท เลินเล่อ ร่วม ด้วย ตาม ที่ โจทก์ ที่ 2 ฎีกา หรือไม่จึง ไม่จำเป็น ต้อง วินิจฉัย เพราะ ถึง หาก วินิจฉัย แล้ว ผล ออก มา ว่าโจทก์ ที่ 1 มี ส่วน ประมาท เลินเล่อ ร่วม ด้วย ก็ ดี หรือ มิได้ มี ส่วนประมาท เลินเล่อ ร่วม ด้วย ดัง ที่ โจทก์ ที่ 2 ฎีกา ก็ ดี จำเลย ทั้ง สองก็ ยัง ต้อง ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 อยู่เช่น เดิม ทั้งนี้ เพราะ โจทก์ ที่ 2 มิได้ มี ส่วน ใน การ ทำละเมิด ใน คดี นี้ด้วย ดังนั้น จึง มี ข้อ วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ที่ 2 เฉพาะ ข้อ ค่าเสียหายของ โจทก์ ที่ 2 ว่า มี เท่าใด เพียง อย่างเดียว ซึ่ง มี ปัญหา ที่ จะ ต้องวินิจฉัย เฉพาะ ค่า ขาดไร้อุปการะ เท่านั้น สำหรับ ค่าเสียหาย ใน ประการอื่น นั้น โจทก์ ที่ 2 และ จำเลย ทั้ง สอง ต่าง ไม่ได้ ฎีกา ค่าเสียหายใน ประการอื่น จึง ฟัง เป็น ยุติ ตาม คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ที่ กำหนดให้ เท่าที่ โจทก์ ที่ 2 ขอ คือ 30,000 บาท ส่วน ค่า ขาดไร้อุปการะโจทก์ ที่ 2 ฎีกา ว่า ค่า ขาดไร้อุปการะ อย่างน้อย ที่สุด ก็ ตก เดือน ละ2,000 บาท เพราะ ค่าครองชีพ ใน ปัจจุบัน สูง มาก และ ยัง จะ ต้อง สูง ขึ้นอีก ใน อนาคต อัน ใกล้ นั้น ได้ความ จาก การ นำสืบ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ว่าขณะ เกิดเหตุ นาย ไผ่ดง ผู้ตาย มี อายุ 18 ปี มี เงินเดือน ๆ ละ 1,000 บาท ส่วน โจทก์ ที่ 2 มี อายุ 54 ปี ดังนั้น ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองกำหนด ค่า ขาดไร้อุปการะ ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 เดือน ละ 1,000 บาท เท่ากับเงินเดือน ที่นาย ไผ่ดง ผู้ตาย ได้รับ ใน แต่ละ เดือน เป็น เวลา 10 ปี จึง เหมาะสม แก่ พฤติการณ์ แห่ง คดี แล้ว ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัยต้อง กัน ว่า โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย ที่ 1 ต่าง มี ส่วน ประมาท เลินเล่อก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย ไม่ ยิ่งหย่อน ไป กว่า กัน จำเลย ที่ 1 และ จำเลยที่ 2 จึง ร่วมกัน รับผิด ใน ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น เพียง กึ่ง เดียวส่วน ค่าเสียหาย อีก กึ่งหนึ่ง โจทก์ ที่ 2 จะ ต้อง ไป เรียกร้อง เอา จากโจทก์ ที่ 1 นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย กับ ข้อ วินิจฉัย ของ ศาลล่างทั้ง สอง ดังกล่าว เพราะ นอกจาก โจทก์ ที่ 2 จะ ไม่ได้ ฟ้อง ให้ โจทก์ที่ 1 รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ร่วม กับ จำเลย ทั้ง สอง แล้ว โจทก์ ที่ 2ยัง มิได้ ร่วม กระทำ ละเมิด ใน คดี นี้ ด้วย กรณี จะ นำ บทบัญญัติ ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 442 มา บังคับ ใช้ แก่ โจทก์ ที่ 2 หาได้ไม่สรุป แล้ว โจทก์ ที่ 2 มีสิทธิ ได้ ค่าสินไหมทดแทน สำหรับ ค่า ขาด ไร้อุปการะ 120,000 บาท และ ค่าสินไหมทดแทน ประการอื่น ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อีก 30,000 บาท รวมเป็น ค่าสินไหมทดแทน ทั้งสิ้น 150,000บาท ฎีกา โจทก์ ที่ 2 ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ ค่าสินไหมทดแทน150,000 บาท แก่ โจทก์ ที่ 2 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์