คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้โจทก์ซึ่งเป็น สหภาพแรงงานฟ้องโดยอ้างว่าจำเลยปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเป็นการจัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา98(2)แต่ผลของคำพิพากษาย่อมผูกพันลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็น นายจ้างให้ต้องปฏิบัติตามอันอาจกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกเป็นส่วนรวมซึ่งมาตรา103(2)บัญญัติให้กระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งมุ่งหมายให้มีการทบทวนและไตร่ตรองให้รอบคอบโดยผ่าน มติที่ประชุมใหญ่ก่อนที่จะดำเนินการเมื่อโจทก์ ฟ้องคดีโดยไม่มีมติของที่ประชุมใหญ่จึงไม่มี อำนาจฟ้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ่ายเงิน สมทบ เข้า กองทุน สะสม สำรอง เลี้ยงชีพไม่ถูกต้อง ตาม ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง ขอให้ บังคับ จำเลยปฏิบัติ ให้ ถูกต้อง ตาม ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง ฉบับ ลงวันที่14 พฤษภาคม 2534 ข้อ 10 และ ให้ จำเลย จ่ายเงิน ส่วน ของ จำเลยสมทบ เข้า กองทุน สะสม สำรอง เลี้ยงชีพ ที่ จำเลย จ่าย ขาด ไป อีก ร้อยละ 1ของ ค่าจ้าง ลูกจ้าง จำเลย ซึ่ง เป็น สมาชิก โจทก์ ที่ มี อายุงาน เกิน 2 ปี แต่ยัง ไม่ครบ 3 ปี
จำเลย ให้การ ว่า ที่ จำเลย จ่ายเงิน สมทบ เข้า กองทุน เป็น การจ่าย ที่ ถูกต้อง แล้ว การ ฟ้องคดี นี้ โจทก์ คง มี รายงาน การ ประชุม ของคณะกรรมการ บริหาร สหภาพแรงงาน โจทก์ โดย ไม่มี มติ ของ ที่ประชุมใหญ่ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
วันนัด พิจารณา คู่ความ แถลงรับ ข้อเท็จจริง กัน ว่า โจทก์ เป็นนิติบุคคล ตาม กฎหมาย มี ระเบียบ ข้อบังคับ สหภาพแรงงาน มา ร์คอ ทตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 โจทก์ กับ จำเลย ทำ ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพ การจ้าง ปี พ.ศ. 2534 กัน ไว้ ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 4ก่อน ที่ โจทก์ กับ จำเลย จะ ทำ ข้อตกลง ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 4เคย ทำ ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง ปี พ.ศ. 2533 กัน ไว้ ตามเอกสาร หมาย จ. 1
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า การ ฟ้องคดี นี้ เป็น การ ที่ สหภาพแรงงานโจทก์ ดำเนิน กิจการ อัน อาจ กระทบ กระเทือน ถึง ส่วนได้เสีย ของ สมาชิกเป็น ส่วนรวม จะ ต้อง มี การ ขอม ติของ ที่ ประชุมใหญ่ ของ สมาชิก สหภาพแรงงานก่อน จึง จะ ฟ้องคดี ได้ ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 103(2) แต่ ปรากฏว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง มา โดย ที่ มิได้ มี การประชุมใหญ่ กัน มา ก่อน เพียงแต่ มี รายงาน การ ประชุม ของ กรรมการ สหภาพซึ่ง ได้ ประชุม กัน เมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2536 ตาม เอกสาร หมาย จ. 3และ โจทก์ เพิ่ง จะ มี การ ประชุมใหญ่ เกี่ยวกับ เรื่อง ที่ นำ คดี นี้ มา ฟ้องเมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม 2536 ตาม เอกสาร หมาย จ. 4 ซึ่ง เป็น การประชุมใหญ่ หลังจาก ที่ ได้ มี การ ฟ้องคดี นี้ ไป แล้ว โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องพิพากษายก ฟ้องโจทก์
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ เป็นยุติ ว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้ โดย อาศัย มติ ของ ที่ ประชุม คณะกรรมการบริหาร สหภาพแรงงาน การ ประชุม เอกสาร หมาย จ. 3 โดย ไม่มี มติ ของที่ ประชุมใหญ่ ปัญหา วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ มี ว่า โจทก์ ซึ่ง เป็นสหภาพแรงงาน ฟ้อง โดย อ้างว่า จำเลย ปฏิบัติ ไม่ถูกต้อง ตาม ข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง จะ ต้อง ขอม ติที่ ประชุมใหญ่ หรือไม่ เห็นว่าแม้ การ ฟ้องคดี เช่นนี้ ถือได้ว่า เป็น การ จัดการ และ ดำเนินการ เพื่อ ให้สมาชิก ได้รับ ประโยชน์ ตาม มาตรา 98(2)แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ก็ ตาม แต่ การ ฟ้องคดี นี้ ไม่ เพียงแต่ ศาล พิพากษา โดย การวินิจฉัยชี้ขาด ข้อโต้เถียง ของ คู่ความ เกี่ยวกับ สิทธิ และ หน้าที่อัน มี อยู่ ตาม ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง เพื่อ หา ข้อ ยุติ เท่านั้นหาก แต่ การ ดำเนินคดี ย่อม ต้อง ใช้ ความ จัดเจน ใน การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา อย่าง ละเอียด รอบคอบ และ ถูกต้อง นอกจาก นี้ โจทก์ จำเลยยัง อาจ ทำการ ประนีประนอม ยอมความ กัน ให้ ผิดแผก ไป จาก ข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง ที่ ทำ ไว้ ก็ ได้ เป็นต้น ผล ของ คำพิพากษาย่อม ผูกพัน ลูกจ้าง ซึ่ง เป็น สมาชิก โจทก์ กับ จำเลย ซึ่ง เป็น นายจ้างให้ ต้อง ปฏิบัติ ตาม อัน อาจ กระทบ กระเทือน ถึง ส่วนได้เสีย ของ ลูกจ้างซึ่ง เป็น สมาชิก เป็น ส่วนรวม ซึ่ง ตาม มาตรา 103(2) แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บัญญัติ ว่า สหภาพแรงงาน จะ ทำการ ได้ก็ แต่ โดย มติ ของ ที่ ประชุมใหญ่ ใน กรณี ดำเนิน กิจการ อัน อาจ กระทบ กระเทือนถึง ส่วนได้เสีย ของ สมาชิก เป็น ส่วนรวม บทบัญญัติ ดังกล่าว นี้ มุ่งหมายให้ มี การ ทบทวน และ ไตร่ตรอง ให้ รอบคอบ โดย ผ่าน มติ ที่ ประชุมใหญ่เสีย ก่อน ที่ จะ ดำเนินการ เมื่อ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ โดย ไม่มี มติ ของที่ ประชุมใหญ่ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ศาลแรงงานกลาง พิพากษาชอบแล้ว อุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share