คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2488

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยใช้อุบายหลอกลวงให้เจ้าทุกข์มอบทรัพย์ให้ แล้วจำเลยพาทรัพย์หนีไปในขณะที่เจ้าทุกข์ไม่ได้ควบคุมยึดถือ และไม่อาจติดตามได้ดังนี้ ถือได้ว่าเจ้าทุกข์ได้สละการครอบครองแล้ว จำเลยต้องมีผิดฐานฉ้อโกงไม่ใช่ลักทรัพย์
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามคำพะยานโจทก์ แล้วชี้ขาดว่า ข้อเท็จจริงที่ได้ความไม่ใช่ข้อที่โจทก์ประสงค์จะลงโทษดังนี้ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงได้ความตามฟ้อง ก็มีอำนาจพิพากษาได้ ไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังพะยานจำเลยด้วย

ย่อยาว

ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยในสำนวนที่ ๒ สมคบกันใช้อุบายหลอกลวงนายเฉยว่าจำเลยเป็นผู้วิเศษ ทำธนบัตร ๑ ฉบับให้เป็นธนบัตร ๒ ฉบับให้เป็นธนบัตร ๒ ฉบีบได้ให้โจทก์นำเงินมาให้จำเลย ๆ จะให้ทำ นายเฉยหลงเชื่อจึงเอาเงิน ๓๖๐๐ บาทมาทำเครื่องหมายแล้วมอบให้นายเทศ ๆ เอาเงินเข้าไปในห้องกับจำเลยนายเฉยจะตามเข้าไปด้วย จำเลยบอกว่าไม่ต้องเข้าไป ต่อมาสัก ๕๐ นาทีจำเลยก็ออกจากห้อง นายเทศถือหีบออกมาบอกว่าเอาเงินใส่ในหีบหมดแล้ว ห้ามเปิดหีบอีก ๒ วันจึงจะเปิดได้ แล้วนายเทศจึงเอาหีบไปเก็บไว้ ต่อมาจึงทราบว่าจำเลยเอาเงินไปหมด ส่วนนายเทศไม่ได้รู้เห็นกับจำเลย
ศาลชั้นต้นฟังว่า ตามข้อเท็จจริงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ฉ้อโกงตามที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวน
โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์เห็นว่าในสำนวนที่ ๑ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำผิด ส่วนสำนวนที่ ๒ คดีเป็นความผิดฐานฉ้อโกงดังฟ้องโจทก์ พิพากษาลงโทษจำเลย
จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฎีกาจำเลยที่ว่าศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจชี้ขาดข้อเท็จจริง เพราะศาลชั้นต้นเพียงแต่ตัดสินว่าทางพิจารณาได้ความต่างกับฟ้องนั้น เห็นว่าเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคำพะยานโจทก์แล้วชี้ขาดในข้อเท็จจริงศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจชี้ขาดข้อเท็จจริงได้ หาจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นขาดพะยานจำเลยอีกไม่ ส่วนปัญหาว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือฉ้อโกงนั้น เห็นว่าเจ้าทุกข์หลงเชื่อคำกล่าวเท็จของจำเลยจนได้มอบให้จำเลยทำอะไรแก่ธนบัตรนั้นตามชอบใจ จนจำเลยพาธนบัตรหนีไป ในโอกาสที่เจ้าทุกข์ไม่+และไม่อาจติดตามได้ ดังนี้ นับได้ว่าเจ้าทุกข์+ครอบครองให้จำเลยแล้ว จำเลยต้องมีผิดฐาน+ไม่ใช่ลักทรัพย์ พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share