แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่ก็เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจทำสัญญาประกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา106,113จึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันในฐานะเจ้าพนักงานตามอำนาจแห่งหน้าที่โดยชื่อตำแหน่งหน้าที่ของตนได้ส่วนกรมตำรวจไม่ใช่พนักงานสอบสวนและมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประกันจึงฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้ฟ้องหาได้ไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน มีอำนาจ หน้าที่ ให้ ประกันตัว ผู้ต้องหา ซึ่ง อยู่ ใน ความ ควบคุม ได้ ตาม กฎหมาย เมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 จำเลย ที่ 2ใน ฐานะ ส่วนตัว และ ใน ฐานะ ผู้รับมอบอำนาจ จาก จำเลย ที่ 1 ได้ ทำสัญญาประกัน ตัว นาย ณรงค์ ฐาปโนสถ ผู้ต้องหา ความผิด ต่อ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ไป จาก ความ ควบคุม ของ โจทก์โดย สัญญา ว่า จะ ส่งตัว ผู้ต้องหา ตาม กำหนด นัด ของ โจทก์ หาก ผิดสัญญา ยินยอมใช้ เงิน จำนวน 290,000 บาท เพื่อ เป็น หลักประกัน จำเลย ที่ 2 ได้ มอบโฉนด ที่ดิน เลขที่ 37309 ตำบล ออเงิน (ท่าแร้ง) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร ซึ่ง จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ให้ โจทก์ไว้ เป็น หลักฐาน ต่อมา จำเลย ทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตาม สัญญา และ ไม่ยอมชำระ เงิน ค่าปรับ จำนวน 290,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ใช่ พนักงานสอบสวน ของ สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน ไม่มี อำนาจ ควบคุม และ ให้ ประกันตัว นาย ณรงค์ ผู้ต้องหา เพราะ อำนาจ การ ควบคุม และ ให้ ประกันตัว ผู้ต้องหา ต้อง ได้รับมอบอำนาจ จาก กรมตำรวจ แต่ โจทก์ ไม่ได้ รับมอบ อำนาจ ดังกล่าว จำเลย ที่ 1ไม่เคย ทำ หนังสือมอบอำนาจ ให้ จำเลย ที่ 2 นำ โฉนด ที่ดิน เลขที่ 37309ไป เป็น หลักประกัน ตัว นาย ณรงค์ จาก การ ควบคุม ของ พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน จำเลย ที่ 1 ไม่เคย ผิดสัญญา ประกัน ต่อ โจทก์ ทั้ง โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ โจทก์ ไม่มี ฐานะ เป็น นิติบุคคลหรือ บุคคลธรรมดา เป็น เพียง ตำแหน่ง ทางราชการ เท่านั้น และพันตำรวจโท บริบูรณ์ วาราชนนท์ ไม่ใช่ คู่สัญญา ประกัน ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน290,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ ให้ โจทก์ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 2ได้ ทำ สัญญาประกัน ตัว นาย ณรงค์ ฐาปโนสถ ผู้ต้องหา ความผิด ต่อ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ไป จาก การ ควบคุมของ โจทก์ แล้ว ผิดสัญญา ไม่ส่ง ตัว นาย ณรงค์ ตาม กำหนด นัด ของ โจทก์ คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้องหรือไม่ เกี่ยวกับ ปัญหา ข้อ นี้ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า ที่ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน อนุญาต ให้ ผู้ต้องหา ประกันตัว ไป เป็น การกระทำ แทน กรมตำรวจ เมื่อ มี การ ผิดสัญญา ประกัน ผู้มีอำนาจ ฟ้องบังคับตาม สัญญา ดังกล่าว คือ กรมตำรวจ พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน ซึ่ง เป็น เพียง ตำแหน่ง ทางราชการ ไม่ได้ เป็น นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา ไม่มี อำนาจฟ้อง โดย ไม่ได้ รับมอบ อำนาจ จาก กรมตำรวจเห็นว่า ถึง แม้ พนักงานสอบสวน จะ ไม่มี ฐานะ เป็น นิติบุคคล แต่ ก็ เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่ง โดย ตำแหน่ง หน้าที่ ราชการ อัน กฎหมาย กำหนด ไว้ ให้ มีอำนาจ ทำ สัญญาประกัน ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 106 และ มาตรา 113 ฉะนั้น จึง ย่อม มีอำนาจ ที่ จะ ฟ้อง ขอให้ บังคับตาม สัญญาประกัน ใน ฐานะ เจ้าพนักงาน ตาม อำนาจ แห่ง หน้าที่ โดย ชื่อตำแหน่ง หน้าที่ ของ ตน ดังนี้ เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง ทำ สัญญาประกัน ตัวผู้ต้องหา ไป จาก การ ควบคุม ของ พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 และ จำเลย ทั้ง สองผิดสัญญา ดังกล่าว พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน ย่อม มีอำนาจ เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ตาม สัญญา ได้ กรมตำรวจ ไม่ใช่พนักงานสอบสวน และ มิได้ เป็น คู่สัญญา กับ จำเลย ทั้ง สอง จะ ฟ้อง เองหรือ มอบอำนาจ ให้ ฟ้อง หาได้ไม่ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน