คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนโจทก์จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นตัวแทนจำเลยร่วมประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่าโจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนหรือไม่ส่วนที่จำเลยให้การเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาท. จำเลยร่วมซึ่งร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยโดยอ้างเหตุว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)มีฐานะเสมอด้วยจำเลยและมีสิทธิต่อสู้คดีได้เพียงเท่าที่จำเลยมีอยู่เท่านั้นจึงไม่ต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่เพื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ตั้ง จำเลย เป็น ตัวแทน ของ โจทก์ มอบอำนาจ ให้ทำการ แบ่งขาย ที่ดิน ของ โจทก์ ให้ กับ บุคคล ทั่วไป โดย จำเลย ไม่คิด ค่า บำเหน็จ ตอบแทน จำเลย ขาย ที่ดิน ได้ และ รับ เงิน ไว้ แทนโจทก์ และ นำ ไป จ่าย แทน โจทก์ เป็น ค่า ไถ่ถอน จำนอง ค่า ธรรมเนียมการ โอน และ ค่าใช้จ่าย อื่นๆ คงเหลือ เงิน จำนวน 1,624,793.10 บาทจำเลย ผิดนัด ขอ ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ยให้ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ ใช่ เจ้าของ ที่ดิน ตาม ฟ้อง โจทก์ ไม่เคยแต่งตั้ง จำเลย เป็น ตัวแทน แต่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ แท้จริง ได้แต่งตั้ง จำเลย เป็น ตัวแทน ขาย ที่ดิน ตกลง ให้ บำเหน็จ ร้อยละ 10 ของราคา ขาย ขอ ให้ ยกฟ้อง
นาย อุทัย ถนอมกุลบุตร ร้อง ขอ เข้า เป็น จำเลยร่วม อ้าง ว่า มีส่วน ได้ เสีย ใน คดี ศาลชั้นต้น อนุญาต ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2)
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง
จำเลย และ จำเลย ร่วม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่ ใช่ เจ้าของ ที่ดิน พิพาท พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า ศาล จะ มีอำนาจ วินิจฉัย ได้ หรือ ไม่ ว่า โจทก์ ไม่ ใช่ เจ้าของ ที่ดิน ทั้ง สองแปลง ดังกล่าว และ โจทก์ ได้ มอบ ให้ จำเลย เป็น ตัวแทน ดำเนิน การ ขายที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ใช่ หรือไม่ ใน ประการ แรก เห็น ว่า คดี นี้ โจทก์ฟ้อง เรียก เงิน และ ทรัพย์สิน บรรดา ที่ จำเลย ใน ฐานะ ตัวแทน โจทก์ได้ รับ ไว้ เกี่ยวด้วย การ เป็น ตัวแทน เมื่อ จำเลย ให้การ ปฏิเสธว่า จำเลย ไม่ ได้ เป็น ตัวแทน โจทก์ แต่ จำเลย เป็น ตัวแทน ของจำเลยร่วม ศาลชั้นต้น จึง กำหนด ประเด็น ข้อ พิพาท เพียง ว่า โจทก์ตั้ง จำเลย เป็น ตัวแทน หรือไม่ ส่วน ที่ จำเลย ให้การ ไป ถึง ว่า โจทก์ไม่ ใช่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์ ที่ ตั้ง จำเลย เป็น ตัวแทน นั้นศาลชั้นต้น ไม่ ได้ กำหนด เป็น ประเด็น ข้อพิพาท ใน เรื่อง นี้ ไว้ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย เลย ไป ถึง ว่า โจทก์ ไม่ ใช่ เจ้าของกรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8101 จึง เป็น การ วินิจฉัย นอกเหนือจาก ประเด็น ข้อ พิพาท และ ดังนั้น จำเลยร่วม ซึ่ง ร้องขอ เข้า เป็นจำเลยร่วม กับ จำเลย โดย อ้าง เหตุ ว่า มี ส่วน ได้ เสีย ใน ผล แห่ง คดี และ ศาล ให้ สั่ง อนุญาต ให้ เข้า เป็น จำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) จำเลยร่วม จึง มี ฐานะเสมอ ด้วย จำเลย และ คง มี สิทธิ ต่อสู้คดี ได้ เพียง เท่า ที่ จำเลยมี อยู่ เท่านั้น และ กรณี นี้ ศาล หา จำต้อง กำหนด ประเด็น ข้อ พิพาทใหม่ ดัง ที่ จำเลย และ จำเลย ร่วม แก้ ฎีกา แต่ ประการ ใด ไม่ เมื่อเป็น ดังนี้ จึง ไม่ จำต้อง วินิจฉัย ถึง จำเลยร่วม ว่า เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8101 และ 8104 หรือไม่ ด้วย มี ปัญหาตาม ฎีกา โจทก์ ประการ ต่อมา ว่า โจทก์ ได้ มอบ ให้ จำเลย เป็น ตัวแทนดำเนินการ ขาย ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว ใช่ หรือไม่เห็นว่า ตาม เอกสาร จ.1 และ จ.2 ปรากฏ ชัด ว่า ที่ดิน ทั้ง สอง แปลงดังกล่าว เป็น ของ โจทก์ และ ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ.14, จ.15 ต่อมาว่า โจทก์ ได้ มอบอำนาจ ให้ จำเลย ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8104 เมื่อจำเลย ได้ รับ มอบอำนาจ ให้ ดำเนินการ ขาย แล้ว จำเลย เอง ยัง ได้ มีหนังสือ ถึง ผู้เช่า ที่ดิน พิพาท ราย หนึ่ง ให้ มี สิทธิ ซื้อ ที่ดินได้ ก่อน โดยจำเลย ยืนยัน ตาม หนังสือ ดังกล่าว ว่า จำเลย เป็น ตัวแทนโจทก์ ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ.33, จ.34, ยิ่งกว่า นั้น เมื่อ เกิด กรณีพิพาท กัน จำเลย ยัง ได้ ไป ทำ ความ ตกลง กับ โจทก์ ที่ สถานีตำรวจนครบาล ดอนเมือง จน ถึง ขั้น มี การ ทำ บันทึก ข้อตกลง กัน ไว้ ปรากฏตาม ภาพถ่าย รายงาน ประจำวัน เกี่ยวกับ คดี เอกสาร หมาย จ.21 ซึ่ง จำเลยหา ได้ โต้แย้ง เป็น ประการ อื่น ไม่ แต่ กลับ ยอมรับ ที่ จะ แสดงบัญชี การ จัดการ ทรัพย์สิน ตาม ที่ ได้ รับ มอบอำนาจ จาก โจทก์ ภายใน 3 เดือน รวมทั้ง มอบ ประโยชน์ หรือ ทรัพย์สิน อื่นใด ที่ ได้ มา จากการ จัดการ แก่ โจทก์ ด้วย ส่วน เอกสาร หมาย ล.4 ที่ จำเลย และจำเลยร่วม อ้าง มา นั้น ได้ ความ ว่า เป็น เอกสาร ที่ ฝ่าย จำเลย และจำเลยร่วม ทำ ขึ้น เพื่อ แสดง ว่า เป็น บันทึก ของ นาย เงิน แต่ นายเงิน ก็ ได้ ปฏิเสธ ไว้ แล้ว ว่า ไม่ ได้ ทำ เอกสาร ดังกล่าว และ ไม่ได้ ลงชื่อ ไว้ ด้วย ส่วน เอกสาร หมาย ล.13 แม้ เป็น ข้อความ บันทึกคำให้การ ของ นาย เงิน ต่อ พนักงาน สอบสวน แต่ ก็ ไม่ ปรากฏ ว่า พนักงานสอบสวน นำ ตัว นาย เงิน ซึ่ง มี อายุ ถึง 80 ปี เศษ มา จาก บ้าน นำ มาให้การ ใน ฐานะ อะไร พนักงาน สอบสวน เอง ก็ ไม่ ยอม ลงชื่อ ไว้ แต่ จะอย่างไร ก็ ตาม บันทึก คำให้การ ของ นาย เงิน ดังกล่าว ก็ หา มี ผลผูกพัน โจทก์ ไม่ อีก ทั้ง ข้อความ ตาม เอกสาร ดังกล่าว ก็ ไม่เกี่ยวกับ ความ เป็น ตัวการ ตัวแทน ระหว่าง โจทก์ จำเลย แต่ อย่างใดเอกสาร ดังกล่าว จึง ไม่ เป็น ผล แก่ คดี ของ จำเลย และ จำเลยร่วมเมื่อ จำเลย เป็น ตัวแทน โจทก์ จำเลย จึง มี หน้าที่ ต้อง ส่งมอบ เงินและ ทรัพย์สิน ที่ จำเลย ได้ รับ ไว้ ใน ฐานะ เป็น ตัวแทน โจทก์ทั้งสิ้น เป็น เงิน 2,122,200 บาท ซึ่ง เมื่อ หัก ค่าใช้จ่าย ใน การไถ่ถอน จำนอง ค่าธรรมเนียม การ โอน แบ่งแยก และ ค่าใช้จ่าย อื่น เป็นเงิน 500,406.90 บาท คง เป็น เงิน ที่ จำเลย ทำ หน้าที่ ต้อง ส่งมอบ ให้โจทก์ จำนวน 1,621,793.10 บาท และ ตาม เอกสาร หมาย จ.21 จำเลย ตกลงจะ ส่งมอบ เงิน และ ทรัพย์สิน ให้ โจทก์ ภายใน 3 เดือน จำเลย ทำ ความตกลง กับ โจทก์ เมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม 2521 จำเลย จึง ตก เป็น ผู้ผิดนัด ตั้งแต่ วันที่ 19 มีนาคม 2522 จำเลย จึง ต้อง ชำระ ดอกเบี้ยให้ แก่ โจทก์ ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี อีก ด้วย เมื่อ เป็นดังนี้ ฎีกา ของ โจทก์ นอกจาก นี้ จึง ไม่ จำต้อง วินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์ ยกฟ้อง โจทก์ ศาลฎีกา ไม่ เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ ขึ้น
พิพากษา กลับ ให้ บังคับ คดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น เว้นแต่ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี ให้ นับ ตั้งแต่ วันที่ 19มีนาคม 2522 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แต่ ดอกเบี้ย ถึง วัน ฟ้อง ให้ไม่เกิน 80,089.60 บาท ให้ จำเลย และ จำเลยร่วม ใช้ ค่าฤชา ธรรมเนียมแทน โจทก์ ทั้ง สาม ศาล โดย กำหนด ค่าทนายความ รวม 60,000 บาท’

Share