คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์เขียนข้อความนำไปปิดประกาศที่บอร์ดของสหภาพแรงงานเป็นข้อความวิจารณ์ด้วยถ้อยคำรุนแรงกล่าวหาผู้บริหารโรงแรมกลั่นแกล้งพนักงานสหภาพแรงงานเป็นทาสฝรั่งแม่บ้านของโรงแรมประพฤติชั่วจิตทรามเข้าลักษณะหมิ่นประมาทจำเลยการกระทำของโจทก์เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ประจำ โดยโจทก์ ไม่ ได้ ทำ ผิด เป็น การ เลิกจ้าง ไม่ เป็นธรรม ขอ ให้ บังคับให้ จำเลย รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน หาก ไม่ สามารถ ปฏิบัติ ได้ ให้ค่าเสียหาย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าชดเชย พร้อมดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ โจทก์ กระทำ การ ฝ่าฝืนข้อบังคับ ใน การ ทำงาน เป็น กรณี ร้ายแรง โดย โจทก์ ได้ เขียน บทความซึ่ง เป็น การ หมิ่นประมาท ผู้บังคับบัญชา ก่อ ให้ เกิด ความ แตกแยกและ เข้าใจ ผิด ต่อ จำเลย นำ ไป ติด บอร์ด ของ สหภาพ แรงงาน หลายครั้งจำเลย ได้ ตักเตือน เป็น หนังสือ แล้ว โจทก์ ยัง คง ฝ่าฝืน อีก การกระทำ ของ โจทก์ เป็น ผิด อาญา และ เป็น การ จงใจ ทำ ให้ จำเลย เสียหายจำเลย จึง เลิกจ้าง โจทก์ ได้ โดย ไม่ ต้อง จ่าย เงิน ตาม ฟ้อง ขอ ให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า โจทก์ เขียน ข้อความ วิจารณ์ ด้วยถ้อยคำ รุนแรง กล่าวหา ผู้บริหาร โรงแรม กลั่นแกล้ง พนักงาน สหภาพแรงงานเป็น ทาสฝรั่ง แม่บ้าน ของ โรงแรม ประพฤติ ชั่ว จิตทราม เข้า ลักษณะหมิ่นประมาท จำเลย การ กระทำ ของ โจทก์ เป็น การ จงใจ ทำ ให้ จำเลย ได้รับ ความ เสียหาย จำเลย ย่อม เลิกจ้าง โจทก์ ได้ โดย ไม่ ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และ โดย ไม่ ต้องจ่าย ค่าชดเชย ให้ ตาม ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลง วันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(2) และ ถือ ไม่ ได้ ด้วย ว่า เป็นการ เลิกจ้าง ที่ ไม่ เป็นธรรม
พิพากษา ยืน

Share