คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ทั้งห้าฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าอาหารค่าที่พักค่าใช้จ่ายในการติดต่อเจ้าหน้าที่ในประเทศ สิงคโปร์ และค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งห้าได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจอับอายขายหน้าสูญเสียเวลานัดหมายและธุรกิจแต่โจทก์ทั้งห้าฎีกาว่าการที่จำเลยห้ามไม่ให้โจทก์ที่1ขึ้นเครื่องบินของจำเลยเดินทางไปประเทศ สหรัฐอเมริกาทำให้โจทก์ทั้งห้าจำยอมอยู่ในประเทศ สิงคโปร์ไม่สามารถเดินทางไปประเทศ สหรัฐอเมริกาตามเจตนาได้เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งห้าได้รับความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพจำเลยต้องรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนในการทำให้โจทก์ทั้งห้าเสียเสรีภาพเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องแม้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ทำให้โจทก์ทั้งห้าเสียเสรีภาพก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งห้าฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง ห้า ได้ ซื้อ ตั๋ว เดินทาง จาก จำเลย เพื่อเดินทาง จาก กรุงเทพมหานคร ไป ยัง เมือง ลอสแอนเจลิส ประเทศ สหรัฐอเมริกา กำหนด เดินทาง ใน วันที่ 4 มีนาคม 2533 โดย โจทก์ ที่ 2และ ที่ 3 เป็น ผู้ มี ถิ่นที่อยู่ ถาวร ใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา มีสิทธิ เดินทาง เข้า ประเทศ ได้ เสมอ โจทก์ ที่ 4 และ ที่ 5 ได้รับ อนุญาต ให้เดินทาง เข้า ประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้ สำหรับ โจทก์ ที่ 1 อายุ เพียง 1 ปี เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 นั้นไม่จำต้อง ขออนุญาต เข้า เมือง เพียง แสดง หลักฐาน ว่า เป็น บุตร ก็ ได้รับ อนุญาต ให้ เดินทาง เข้า ประเทศ ได้ วันที่ 4 มีนาคม 2533 ที่ท่าอากาศยาน กรุงเทพ กรุงเทพมหานคร พนักงาน ของ จำเลย ได้ สั่ง ห้ามการ เดินทาง ของ โจทก์ ที่ 1 โดย อ้างว่า ไม่ได้ รับ การ ประทับตรา อนุญาตให้ เข้า เมือง ของ ประเทศ สหรัฐอเมริกา โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5 ได้ อธิบาย และ ยืนยัน ถึง สิทธิ จน จำเลย ยอม ให้ โจทก์ ที่ 1 เดินทาง ร่วม ไป ได้การ สั่ง ห้าม การ เดินทาง และ การ โต้แย้ง ถกเถียง กัน เกิดขึ้น ต่อหน้าผู้โดยสาร อื่น จำนวน มาก ทำให้ โจทก์ ทั้ง ห้า ต้อง อับอายขายหน้า และเสื่อมเสีย ชื่อเสียง อย่างร้ายแรง เมื่อ เดินทาง ไป ถึง ท่าอากาศยานประเทศ สิงคโปร์ ใน วันที่ 4 มีนาคม 2533 เพื่อ เปลี่ยน เครื่องบิน เดินทาง ต่อไป ยัง จุดหมาย พนักงาน ของ จำเลย ที่ ประเทศ สิงคโปร์ ได้ สั่ง ห้าม การ เดินทาง ของ โจทก์ ที่ 1 อีก ครั้งหนึ่ง และ ได้ เกิด การโต้แย้ง ถกเถียง กัน ขึ้น อีก ต่อหน้า ผู้โดยสาร จำนวน มาก และ มีผล ให้โจทก์ ทั้ง ห้า ไม่สามารถ เดินทาง ต่อไป ได้ รุ่งขึ้น โจทก์ ทั้ง ห้า ได้ไป ติดต่อ ขอ คำ ยืนยัน จาก สถาน เอกอัครราชทูต อเมริกา ประจำ ประเทศ สิงคโปร์ มา ยืนยัน แก่ จำเลย จำเลย จึง ยินยอม ให้ โจทก์ ที่ 1 เดินทาง ไป ได้ โจทก์ ทั้ง ห้า จึง เดินทาง ต่อ ใน วันที่ 6 มีนาคม 2533 การกระทำของ จำเลย เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ทั้ง ห้า ได้รับ ความเสียหาย กล่าว คือค่าใช้จ่าย เป็น ค่า ที่พัก ค่า อาหาร ค่าใช้จ่าย ใน การ ติดต่อ กับเจ้าหน้าที่ นับแต่ วันที่ 4 ถึง 6 มีนาคม 2533 เป็น เงิน 30,000 บาทโจทก์ ทั้ง ห้า ได้รับ ความ กระทบ กระเทือน จิตใจ อย่าง รุนแรง ต้อง อับอายขาย หน้า ต่อ ผู้โดยสาร คนอื่น ๆ รวมทั้ง สูญเสีย เวลา นัดหมาย และ ธุรกิจที่ ประเทศ สหรัฐ อเมริกา เป็น เงิน 1,000,000 บาท รวมเป็น เงิน 1,030,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน 1,030,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มีสิทธิ ที่ จะ ปฏิเสธ การ รับขน ผู้โดยสารตาม ระเบียบ ปฏิบัติ สำหรับ ผู้โดยสาร ของ จำเลย เพื่อ ป้องกัน การ ละเมิดต่อ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ คำสั่ง ของรัฐ หรือ ประเทศ ต่าง ๆซึ่ง เครื่องบิน ของ จำเลย จะ ต้อง บิน เข้า ไป จำเลย มิได้ ปฏิเสธ การ รับขนโจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5 แต่ บุคคล ทั้ง สี่ สมัครใจ จะ พัก อยู่ ที่ ประเทศ สิงคโปร์ เอง ความเสียหาย ที่ โจทก์ ได้ คิด เป็น เงิน ไม่เกิน 10,000 บาท พนักงาน ของ จำเลย มิได้ สั่ง ห้าม โจทก์ ที่ 1 เดินทางที่ ท่าอากาศยาน กรุงเทพ แต่ พนักงาน ของ จำเลย สังกัด สำนักงาน ใหญ่ ณประเทศ สิงคโปร์ เป็น ผู้สั่ง การกระทำ ซึ่ง โจทก์ ทั้ง ห้า อ้างว่า เป็น ละเมิด เกิด ใน ประเทศ สิงคโปร์ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 และ จำเลย มี ภูมิลำเนา ใน ต่างประเทศ อยู่ นอก เขตอำนาจศาล ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 330,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน 30,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ทั้ง ห้า นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ ทั้ง ห้า ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ ทั้ง ห้า ฟ้อง เรียก ค่าสินไหมทดแทนเป็น ค่า อาหาร ค่า ที่พัก ค่าใช้จ่าย ใน การ ติดต่อ เจ้าหน้าที่ ใน ประเทศ สิงคโปร์ และ ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ ทั้ง ห้า ได้รับ ความ กระทบ กระเทือน จิตใจ ต้อง อับอายขายหน้า สูญเสีย เวลา นัดหมาย และ ธุรกิจ ที่ ประเทศ สหรัฐอเมริกา แต่ โจทก์ ทั้ง ห้า ฎีกา ว่า การ ที่ จำเลย ห้าม ไม่ให้ โจทก์ ที่ 1 ขึ้น เครื่องบิน ของ จำเลย เดินทาง ไป ประเทศ สหรัฐอเมริกา ทำให้ โจทก์ ทั้ง ห้า จำยอม อยู่ ที่ ประเทศ สิงคโปร์ ไม่สามารถ เดินทาง ต่อไป ยัง ประเทศ สหรัฐอเมริกา ตาม เจตนา ได้ เป็น การ ทำให้ โจทก์ ทั้ง ห้า ไป ไหน มา ไหน ไม่ได้ ตาม ใจ ชอบ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ทั้ง ห้า ได้รับ ความเสียหายต่อ สิทธิ และ เสรีภาพ จำเลย ต้อง รับผิด ชำระ ค่าสินไหมทดแทน ใน การทำให้ โจทก์ ทั้ง ห้า เสีย เสรีภาพ นั้น เป็น เรื่อง นอกเหนือ คำฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์ จะ ยกขึ้น วินิจฉัย ว่า จำเลย ไม่ได้ ทำให้ โจทก์ ทั้ง ห้าเสีย เสรีภาพ ก็ ถือว่า เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบใน ศาลอุทธรณ์ จึง ต้องห้าม มิให้ โจทก์ ทั้ง ห้า ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษายก ฎีกา โจทก์ ทั้ง ห้า

Share