แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ตามสัญญาให้ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาเมื่อผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของตามที่ตกลงหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดแต่ไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบซึ่งเป็นสิทธิของผู้ซื้อที่จะเลิกหรือจะให้ปฏิบัติตามสัญญาก็ได้ เมื่อผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาในทันทีแต่ให้โอกาสแก่ผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาก็ย่อมได้เพราะผู้ซื้อยังมีความประสงค์จะซื้อสิ่งของตามสัญญานั้นอยู่เป็นหน้าที่ของผู้ขายจะต้องนำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อจนครบถ้วนการที่ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับตามสัญญาในอัตราที่ระบุไว้ในสัญญาก็เป็นไปตามเจตนาของคู่กรณีไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงใช้บังคับได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ผิดสัญญา ซื้อ น้ำยา ตรวจ รอย ร้าว ชนิด เรือ งแสงขอให้ บังคับ จำเลย ใช้ เงิน ค่าปรับ จำนวน 84,510.72 บาท แก่ โจทก์พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ปรับ จำเลย เพราะ จำเลย มิได้ประพฤติ ผิดสัญญา ค่าปรับ ตาม ฟ้อง สูง มาก ไม่ เหมาะ ควร กับ พฤติการณ์ใน การ ปฏิบัติ ตาม สัญญา และ มูลค่า ราคา ของ สิ่งของ ที่ ซื้อ ขาย ตาม สัญญาขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ เงิน ค่าปรับ 20,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก จึง ต้องฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ฟัง มา ว่า เมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม2529 โจทก์ ได้ ทำ สัญญา ซื้อ น้ำยา ตรวจ รอย ร้าว ชนิด เรือ งแสง จำนวน 70 ชุดจาก จำเลย ราคา รวมทั้งสิ้น 165,060 บาท กำหนด ส่งมอบ ภายใน วันที่10 มกราคม 2530 รายละเอียด ปรากฏ ตาม สัญญาซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 3เมื่อ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2529 จำเลย นำ น้ำยา ตรวจ รอย ร้าว ชนิด เรือ งแสงมา มอบ ให้ โจทก์ แต่ คณะกรรมการ ตรวจรับ ของ โจทก์ ตรวจ แล้ว ปรากฏว่าไม่ถูกต้อง ตาม สัญญา โจทก์ มี หนังสือ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ ตาม เอกสาร หมายจ. 6 ลงวันที่ 5 มกราคม 2530 ให้ จำเลย นำ สิ่งของ ที่ ถูกต้อง ตาม สัญญามา มอบ ให้ โจทก์ โดย สงวนสิทธิ จะ เรียก ค่าปรับ จาก จำเลย แต่ จำเลย เพิกเฉยวันที่ 22 เมษายน 2530 โจทก์ มี หนังสือ ตาม เอกสาร หมาย จ. 8 เตือน จำเลยไป อีก ครั้งหนึ่ง ต่อมา จำเลย นำ สิ่งของ มา ส่งมอบ ให้ โจทก์ คณะกรรมการตรวจรับ พัสดุ ของ โจทก์ ตรวจรับ เมื่อ วันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ปรากฏว่าสิ่งของ ไม่ ตรง ตาม สัญญา จึง ไม่ยอม รับ และ โจทก์ มี หนังสือ แจ้ง ให้ จำเลยทราบ โดย สงวนสิทธิ ที่ จะ เรียกร้อง ให้ ชำระ ค่าปรับ ตาม สัญญา ต่อมาจำเลย มี หนังสือ ลงวันที่ 23 กันยายน 2530 ขอ ยกเลิก สัญญาซื้อขายกับ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 13 โจทก์ อนุมัติ ให้ จำเลย เลิกสัญญา ได้และ มี หนังสือ ให้ จำเลย นำ เงิน ประกัน สัญญา และ ค่าปรับ กรณี ยกเลิก สัญญามา ชำระ ตาม เอกสาร หมาย จ. 14 แต่ จำเลย ไม่ชำระ สำหรับ เงิน ประกัน สัญญาจำนวน 16,506 บาท ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ซึ่ง เป็น ผู้ ออก หนังสือ ค้ำประกัน การ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ได้ ชำระ ให้ โจทก์ แล้ว
มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า โจทก์ มีสิทธิ ได้รับชำระ ค่าปรับ จาก จำเลย หรือไม่ เพียงใด โจทก์ ฎีกา ว่า ตาม ข้อเท็จจริงใน คดี เป็น กรณี เลิกสัญญา ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 ข้อ 9 วรรคสามมิใช่ ข้อ 8 นั้น เห็นว่า ตาม สัญญา ข้อ 8 วรรคแรก ระบุ ว่า “เมื่อ ครบกำหนด ส่งมอบ สิ่งของ ตาม สัญญา นี้ แล้ว ถ้า ผู้ขาย ไม่ส่ง มอบ สิ่งของตาม ที่ ตกลง ขาย ให้ แก่ ผู้ซื้อ หรือ ส่งมอบ สิ่งของ ทั้งหมด แต่ ไม่ถูกต้องหรือ ส่งมอบ สิ่งของ ไม่ครบ จำนวน ผู้ซื้อ มีสิทธิ บอกเลิก สัญญา นี้ ได้ “และ ข้อ 9 วรรคแรก ระบุ ว่า “ใน กรณี ที่ ผู้ซื้อ ไม่ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญาตาม ข้อ 8 ผู้ขาย ยอม ให้ ผู้ซื้อ ปรับ เป็น รายวัน ใน อัตรา ร้อยละศูนย์ จุด สอง (0.2) ของ ราคา สิ่งของ ที่ ยัง ไม่ได้ รับมอบ นับแต่ วัน ถัดจาก วัน ครบ กำหนด ตาม สัญญา เป็นต้น ไป จน ถึง วันที่ ผู้ขาย ได้ นำ สิ่งของมา ส่งมอบ ให้ แก่ ผู้ซื้อ จน ถูกต้อง ครบถ้วน ” และ ข้อ 9 วรรคสาม ระบุ ว่า”ใน ระหว่าง ที่ มี การ ปรับ นั้น ถ้า ผู้ซื้อ เห็นว่า ผู้ขาย ไม่อาจ ปฏิบัติตาม สัญญา ต่อไป ได้ ผู้ซื้อ จะ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญา และ ริบ หลักประกันหรือ เรียกร้อง จาก ธนาคาร ผู้ ออก หนังสือ ค้ำประกัน ตาม สัญญา ข้อ 7ให้ ชดใช้ ราคา ที่ เพิ่มขึ้น ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา ข้อ 8 วรรคสองนอกเหนือ จาก การ ปรับ จน ถึง วัน บอกเลิก สัญญา ด้วย ก็ ได้ ” จะ เห็น ได้ว่าสิทธิ ของ ผู้ที่ จะ เลิกสัญญา เมื่อ ครบ กำหนด ส่งมอบ สิ่งของ ตาม สัญญา นั้นมี อยู่ 3 กรณี คือ ผู้ขาย ไม่ส่ง มอบ สิ่งของ ตาม ที่ ตกลง ขาย ประการ หนึ่งส่งมอบ สิ่งของ ทั้งหมด แต่ ไม่ถูกต้อง ประการ หนึ่ง และ ส่งมอบ สิ่งของไม่ครบ จำนวน อีก ประการ หนึ่ง ซึ่ง สิทธิ ใน การ บอกเลิก สัญญา ดังกล่าวผู้ซื้อ จะ ใช้ สิทธิ นั้น หรือไม่ ก็ ได้ ตาม แต่ ผู้ซื้อ จะ เห็นสมควรเมื่อ ผู้ซื้อ ไม่ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญา ใน ทันที แต่ ให้ โอกาส แก่ ผู้ขายโดย ให้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ก็ ย่อม ได้ ดัง ที่ ระบุ ไว้ ใน ข้อ 9 วรรคแรกเพราะ ผู้ซื้อ ยัง มี ความ ประสงค์ จะซื้อ สิ่งของ ตาม สัญญา นั้น อยู่เป็น หน้าที่ ของ ผู้ขาย จะ ต้อง นำ สิ่งของ มา ส่งมอบ ให้ แก่ ผู้ซื้อจน ถูกต้อง ครบถ้วน การ ที่ ผู้ขาย ยอม ให้ ผู้ซื้อ ปรับ ตาม สัญญา ใน อัตราที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญา ก็ เป็น ไป ตาม เจตนา ของ คู่กรณี ไม่ ขัด ต่อ ความสงบเรียบร้อย จึง ใช้ บังคับ ได้ ตาม ข้อเท็จจริง คดี นี้ จำเลย ส่งมอบ สิ่งของไม่ ตรง ตาม สัญญา ถึง 2 ครั้ง โจทก์ มี หนังสือ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ ตามเอกสาร หมาย จ. 6 และ จ. 8 ซึ่ง ใน หนังสือ ทั้ง สอง ฉบับ โจทก์ ก็ แจ้งสงวนสิทธิ ที่ จะ ปรับ จำเลย ตาม สัญญา ไว้ แล้ว แม้ เอกสาร หมาย จ. 6ได้ กระทำ ขึ้น ก่อน วัน ครบ กำหนด ส่งมอบ สิ่งของ แต่ โจทก์ แจ้ง ว่า จะ ปรับตาม สัญญา นับแต่ วัน ถัด จาก วัน ครบ กำหนด ส่งมอบ จน ถึง วันที่ ส่งมอบ สิ่งของดังกล่าว ให้ ถูกต้อง ครบถ้วน ตาม สัญญา หรือ วัน บอกเลิก สัญญา แล้วแต่ กรณีเมื่อ จำเลย มี หนังสือ แจ้ง โจทก์ ขอ เลิกสัญญา เมื่อ วันที่ 23 กันยายน2530 และ โจทก์ อนุมัติ ให้ จำเลย เลิกสัญญา ได้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 14โดย ให้ มีผล บังคับ ตั้งแต่ วันที่ หนังสือ แสดง เจตนา ของ จำเลย ไป ถึง โจทก์การ แจ้ง ขอ เลิกสัญญา ของ จำเลย แสดง ว่า จำเลย ไม่อาจ ปฏิบัติ ตาม สัญญาต่อไป ได้ และ มิใช่ กรณี เลิกสัญญา เพราะ โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ดังนั้นเมื่อ โจทก์ อนุมัติ ให้ จำเลย เลิกสัญญา ได้ จึง เข้า กรณี ที่ ว่า ผู้ซื้อเห็นว่า ผู้ขาย ไม่อาจ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ต่อไป ได้ ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญาข้อ 9 วรรคสาม และ เป็น การ เลิกสัญญา ใน ระหว่าง ที่ มี การ ปรับ ตามที่ โจทก์ สงวนสิทธิ ไว้ โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้อง เรียก ค่าปรับ ตาม สัญญา ได้ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ต่อไป คือ โจทก์ มีสิทธิ ได้รับ ค่าปรับ เท่าใด เห็นว่าศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้อง จึง ไม่ได้ วินิจฉัย ใน ส่วน ของ จำนวน ค่าปรับเมื่อ ศาลฎีกา เห็นว่า โจทก์ มีสิทธิ เรียก ค่าปรับ ได้ และ เห็นว่า โจทก์จำเลย สืบพยาน มา จน สิ้น กระแสความ แล้ว ไม่ควร ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย แต่ เห็นควร วินิจฉัย ให้ เสร็จสิ้น ไป ใน กรณี ค่าปรับตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา ถ้า สูง เกิน ส่วน ศาล จะ ลดลง เป็น จำนวน พอสมควรก็ ได้ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383เมื่อ พิเคราะห์ ถึง ทาง ได้เสีย ของ โจทก์ ตาม ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย มาโดย ให้ จำเลย ชำระ ค่าปรับ แก่ โจทก์ จำนวน 20,000 บาท นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เหมาะสม แล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น