คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยกับผู้เสียหายเคยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันมาก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทำทีขอนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของพลตำรวจส.เมื่อสบโอกาสจำเลยแย่งเอาอาวุธปืนของพลตำรวจส.แล้ววิ่งไปทางบ้านพักที่เกิดเหตุครั้งพบผู้เสียหายและอยู่ห่างจากผู้เสียหายประมาณ2.50เมตรจำเลยชักอาวุธปืนออกยิงผู้เสียหายทันทีพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยได้ทะเลาะโต้เถียงกับผู้เสียหายหรือผู้เสียหายได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อจำเลยซึ่งมีลักษณะเป็นการข่มเหงการที่จำเลยและผู้เสียหายต่างเป็นภรรยาของสิบตำรวจโทพ.ไม่ว่าจำเลยจะเป็นภรรยามาก่อนหรือไม่ก็ตามจำเลยจะอ้างว่าตนถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหาได้ไม่แต่การที่จำเลยเบิกความยอมรับว่าจำเลยมีอาวุธปืนติดตัวไปในวันเกิดเหตุและกระสุนปืนของจำเลยได้ลั่นขึ้นนั้นเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาของศาลถือเป็นเหตุบรรเทาโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78.(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ใช้ อาวุธ ปืนพก รีวอลเวอร์ ของ กรมตำรวจ ซึ่งจำเลย ฉกฉวย ไป จาก การ ครอบครอง ของ พลตำรวจ สมศักดิ์ นิเงาะเจ้าพนักงาน ตำรวจ สถานี ตำรวจ นครบาล คันนายาว ยิง ทำร้าย ร่างกายนาง วันเพ็ญ เปลี่ยน นาริม หลายนััด โดย เจตนา ฆ่า และ โดย ไตร่ตรองไว้ ก่อน แต่ การ กระทำ ไม่ บรรลุผล เพราะ กระสุนปืน ที่ จำเลย ยิง นั้นบางนัด ด้าน และ บางนัด พลาด ไป ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80, 288, 289 คืน ของกลาง แก่ เจ้าของ
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน พยายาม ฆ่า ผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 288 วางโทษ จำคุก 10 ปี ข้อหา อื่น ให้ ยกและ คืน ของกลาง แก่ เจ้าของ
โจทก์ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘พิเคราะห์ แล้ว เห็น ว่า ถึงแม้ ตอน ที่ จำเลยใช้ อาวุธปืน ยิง ผู้เสียหาย โจทก์ จะ มี ประจักษ์พยาน ปากเดียว คือผู้เสียหาย โดย ไม่ มี พยาน อื่น รู้เห็น อีก ก็ ตาม แต่ ปรากฏ ว่าตอน เกิดเหตุ เป็น เวลา กลางวัน และ เกิดเหตุ ใน บริเวณ บ้านพัก ของทางราชการ ตำรวจ ทั้ง ใน วัน เกิดเหตุ นั้น ผู้เสียหาย มิได้ ไป ระรานจำเลย โดย ผู้เสียหาย กำลัง ช่วย นางสาว เกษราภรณ์ ทับทิมทอง ทำ การขนย้าย สิ่งของ อยู่ ที่ ห้องพัก ของ นางสาว เกษราภรณ์ จำเลย ต่างหากเป็น ฝ่าย ไป หา ผู้เสียหาย ฉะนั้น จึง ไม่ มี เหตุ ที่ จะ ระแวง ว่าผู้เสียหาย แกล้ง กล่าวหา หรือ ปรักปรำ จำเลย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ตามข้อเท็จจริง ซึ่ง ได้ ความ ว่า เมื่อ เกิดเหตุ แล้ว สิบตำรวจโท ไพรัชได้ ขอร้อง ผู้เสียหาย มิให้ เอา ความ กับ จำเลย หลังจาก สิบตำรวจโทไพรัช กับ ผู้เสียหาย เจรจา ตกลง กัน ได้ สิบตำรวจโท ไพรัช และผู้เสียหาย กับ จำเลย ได้ พา กัน ไป พบ ร้อยตำรวจตรี ไพโรจน์ โคตรโยธาพนักงานสอบสวน ที่ สถานี ตำรวจ นครบาล คันนายาว โดย ขอ ให้ จด บันทึกข้อตกลง กัน ไว้ และ ผู้เสียหาย ได้ เล่า สาเหตุ ของ ข้อตกลง ว่า จำเลยใช้ อาวุธปืน ยิง ผู้เสียหาย แต่ ผู้เสียหาย ไม่ ติดใจ เอา ความ กับจำเลย เพราะ ได้ ตกลง กับ สิบตำรวจโท ไพรัช แล้ว ข้อเท็จจริง ดังกล่าวย่อม เป็น พยานหลักฐาน สนับสนุน ให้ น่าเชื่อ ว่า จำเลย ได้ ใช้อาวุธปืน ยิง ผู้เสียหาย มิฉะนั้น ไม่ มี เหตุ ผล ที่ สอบตำรวจโท ไพรัชจะ ร้อง ขอ ให้ ผู้เสียหาย ระงับ คดี โดย ยอม ปฏิบัติ ตาม เงื่อนไขที่ ผู้เสียหาย เรียกร้อง หรือ ไม่ มี ความ จำเป็น ใดๆ ที่ ผู้เสียหายจะ กล่าวหา จำเลย ต่อ ร้อยตำรวจตรี ไพโรจน์ ทั้งๆ ที่ ผู้เสียหาย ก็มิได้ ติดใจ เอา ความ กับ จำเลย อยู่ ก่อน แล้ว อีก ประการหนึ่ง จำเลยเบิกความ ยอมรับ อยู่ แล้ว ว่า จำเลย มี อาวุธปืน ติดตัว ไป ในวันเกิดเหตุ และ กระสุนปืน ของ จำเลย ลั่น ขึ้น จริง ตาม ข้อเท็จจริงปรากฏ ว่า กระสุนปืน ของ จำเลย ซึ่ง ลั่น ขึ้น นั้น ถูก ขอบ ประตูห้องพัก ของ นางสาว เกษราภรณ์ สูงกว่า ระดับ พื้นห้อง ประมาณ 1 เมตรแสดง ให้ เห็น ว่า เป็น กระสุนปืน ซึ่ง เกิด จาก การ ยิง ข้อ ที่ จำเลยนำสืบ ว่า ขณะ ที่ จำเลย ขึ้น บันได จำเลย เสีย หลัก กระสุนปืน ของจำเลย จึง ลั่น ขึ้น เอง นั้น เห็น ว่า จำเลย มิได้ นำสืบ ให้ ชัดแจ้งว่า จำเลย ถือ หรือ พกพา อาวุธปืน ไว้ ใน ลักษณะ ใด กรณี ที่ กระสุนปืนลั่น ขึ้น เอง กระสุนปืน จึง สามารถ พุ่ง ไป ถูก ขอบประตู สูงกว่า ระดับพื้นห้อง ประมาณ 1 เมตร ได้ และ ตาม คำให้การ ชั้น สอบสวน ของ จำเลยเอกสาร หมาย จ.9 จำเลย ก็ มิได้ ให้การ ต่อสู้ ว่า กระสุนปืน ของ จำเลยลั่น ขึ้น เนื่องจาก เกิด อุบัติเหตุ แต่ กลับ ต่อสู้ ว่า จำเลย มิได้มี อาวุธปืน ติดตัว ไป ใน วัน เกิดเหตุ พยานหลักฐาน ของ จำเลย ไม่มั่นคง รับ ฟัง ไม่ ได้ ศาลฎีกา เชื่อ ว่า จำเลย ได้ ใช้ อาวุธปืน ยิงผู้เสียหาย จริง
มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ว่า จำเลย มี เจตนา ฆ่า ผู้เสียหายหรือไม่
พิเคราะห์ แล้ว ตาม ข้อเท็จจริง ซึ่ง ได้ ความ ว่า จำเลย กับผู้เสียหาย มี เรื่อง ทะเลาะ วิวาท กัน มา ก่อน วัน เกิดเหตุ จำเลย ทำที ขอ นั่ง ซ้อนท้าย รถจักรยานยนต์ ของ พลตำรวจ สมศักดิ์ เมื่อ สบโอกาสจำเลย แย่ง เอา อาวุธปืน ของ พลตำรวจ สมศักดิ์ แล้ว วิ่ง ไป ทาง บ้านพัก ที่ เกิดเหตุ ครั้น พบ ผู้เสียหาย และ อยู่ ห่าง จาก ผู้เสียหายประมาณ 2.50 เมตร จำเลย ชัก อาวุธปืน ออก ยิง ผู้เสียหาย ทันทีพฤติการณ์ ดังกล่าว ย่อม เห็น ได้ ชัด ว่า จำเลย มี เจตนา ฆ่าผู้เสียหาย ไม่ มี เหตุ ที่ จะ ฟัง ว่า จำเลย มี เจตนา เพียง ยิง ขู่ผู้เสียหาย การ ที่ จำเลย ยิง ไม่ ถูก ผู้เสียหาย นั้น ไม่ มี เหตุ ที่จะ ฟัง ว่า จำเลย มี เจตนา เพียง ยิง ขู่ ผู้เสียหาย การ ที่ จำเลย ยิงไม่ ถูก ผู้เสียหาย นั้น เกิดจาก ความ ไม่ ชำนาญ ใน การ ใช้ อาวุธปืนของ จำเลย จะ ฟัง ว่า จำเลย ไม่ มี เจตนา ฆ่า หา ได้ ไม่
ข้อ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย ถูก ข่มเหง อย่าง ร้ายแรง ด้วย เหตุ อันไม่ เป็นธรรม นั้น
พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ไม่ ปรากฏ ว่า ใน ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ได้ทะเลาะ โต้เถียง กับ ผู้เสียหาย หรือ ผู้เสียหาย ได้ กระทำ การอย่างหนึ่ง อย่างใด ต่อ จำเลย ซึ่ง มี ลักษณะ เป็น การ ข่มเหง การ ที่จำเลย และ ผู้เสียหาย ต่าง เป็น ภรรยา ของ สิบตำรวจโท ไพรัช ไม่ ว่าจำเลย จะ เป็น ภรรยา มา ก่อน หรือไม่ ก็ ตาม จำเลย จะ อ้าง ว่า จำเลยถูก ข่มเหง อย่าง ร้ายแรง ด้วย เหตุ อัน ไม่ เป็นธรรม หา ได้ ไม่
ฎีกา ของ จำเลย ทุก ข้อ ฟัง ไม่ ขึ้น
อย่างไร ก็ ตาม การ ที่ จำเลย เบิกความ ยอมรับ ว่า จำเลย มี อาวุธปืนติดตัว ไป ใน วัน เกิดเหตุ และ กระสุนปืน ของ จำเลย ได้ ลั่น ขึ้น นั้นเป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา ของ ศาล ถือ เป็น เหตุ บรรเทาโทษอย่างหนึ่ง เห็น สมควร ลดโทษ ให้ จำเลย หนึ่ง ใน สาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ ลดโทษ จำเลย หนึ่ง ใน สาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก จำเลย มี กำหนด 6 ปี 8 เดือนนอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์’

Share