แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เดิมที่ดินของโจทก์จำเลยที่1และที่3เป็นที่ดินแปลงเดียวกันที่ดินแปลงดังกล่าวมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะต่อมาที่ดินแปลงดังกล่าวถูกแบ่งแยกจนเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงที่ตกเป็นของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไปออกทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1และที่3เปิดทางเดินผ่านไปออกทางสาธารณะซึ่งจะต้องผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของจำเลยที่1ซึ่งไม่ได้แบ่งแยกจากที่ดินพิพาทกรณีไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่1และที่3ได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ทั้ง สาม เปิด ทางเดิน เข้า ออก แก่ โจทก์เนื่องจาก เป็น ทาง จำเป็น
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า ทางพิพาทไม่มี ทาง ออก สู่ ถนน สาธารณะ โจทก์ ต้อง ดำเนินคดี ขอให้ บังคับจำเลย ที่ 1 เปิด ทาง เข้า ออก ก่อน จำเลย ที่ 3 จึง จะ ยอม เปิด ทาง ให้ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง การ พิจารณา โจทก์ ทิ้งฟ้อง จำเลย ที่ 2 ศาลชั้นต้น มีคำสั่ง จำหน่ายคดี จาก สารบบความ
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า พิเคราะห์ แล้ว ที่ โจทก์ ฎีกาข้อ แรก ว่า โจทก์ มีสิทธิ ขอให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ร่วมกัน เปิด ทาง บนที่ดิน โฉนด เลขที่ 41373, 41374 และ 41381 ให้ โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และ 1350 นั้นเห็นว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ตาม ที่ โจทก์ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 นำสืบ ว่าเดิม ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 34522 ของ โจทก์ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3เป็น ที่ดิน แปลง เดียว กัน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว มี ทาง ออก ไป สู่ ทางสาธารณะทาง ทิศตะวันออก เฉียง ใต้ ปรากฏ ตาม ภาพถ่าย โฉนด ที่ดิน เอกสารหมาย จ. 7 ต่อมา ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ถูก แบ่งแยก จน เป็นเหตุให้ ที่ดิน แปลง ที่ ตกเป็น ของ โจทก์ ไม่มี ทาง ออก สู่ ทางสาธารณะ ได้ ฉะนั้นโจทก์ ย่อม มีสิทธิ เรียกร้อง เอา ทางเดิน ผ่าน ไป ออก ทางสาธารณะ ได้เฉพาะ บน ที่ดิน แปลง ที่ ได้ แบ่งแยก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 แต่ คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 เปิด ทางเดิน ผ่าน ไป ออก ถนน พุทธมณฑล สาย 7 ซึ่ง อยู่ ด้าน ทิศตะวันตก ซึ่ง จะ ต้อง ผ่าน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 42046 เอกสาร หมาย จ. 15 ของจำเลย ที่ 1 ด้วย และ ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว นี้ ไม่ได้ แบ่งแยก จาก โฉนดเลขที่ 34522 กรณี ไม่ต้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ได้
พิพากษายืน