คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกและให้ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกันมิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมจำเลยแต่ละคนก็ให้การและฟ้องแย้งสู้คดีต่อโจทก์ตามส่วนของที่ดินที่จำเลยแต่ละคนครอบครองแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมาคดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไร่ละ3,000บาทคดีของจำเลยแต่ละคนจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา12แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวสิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น สมาชิก นิคมสร้างตนเอง คำ สร้อย และได้รับ การ จัดสรร ที่ดิน จาก นิคมสร้างตนเอง คำ สร้อย จำนวน 1 แปลงเนื้อที่ 24 ไร่ เมื่อ ต้น ปี 2531 จำเลย ทั้ง สาม และ บริวาร บุกรุก ที่ดินของ โจทก์ บางส่วน โดย เข้า ปลูก ข้าว อ้อย และ ต้นหม่อน จำเลย ที่ 1บุกรุก เนื้อที่ ประมาณ 6 ไร่ จำเลย ที่ 2 ประมาณ 10 ไร่ และ จำเลย ที่ 3ประมาณ 2 ไร่ เศษ ปรากฏ ตาม พื้นที่ สีแดง , สี เหลือง และ สี น้ำ เงินตามลำดับ ตาม แผนที่ สังเขป เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 8 โจทก์ ห้าม มิให้จำเลย ทั้ง สาม บุกรุก ที่ดิน ของ โจทก์ หลาย ครั้ง แต่ จำเลย ทั้ง สามไม่ เชื่อฟัง โจทก์ จึง มอบ ให้ ทนายโจทก์ มี หนังสือ บอกกล่าว ให้ จำเลยทั้ง สาม และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ จำเลย ทั้ง สาม ได้รับหนังสือ บอกกล่าว แล้ว ไม่ยอม ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ การกระทำ ของ จำเลยทั้ง สาม เป็น การ ละเมิด สิทธิ ของ โจทก์ ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหายขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม และ บริวาร ออกจาก ที่ดิน ของ โจทก์ แปลง โฉนดที่ดิน เลขที่ 388, 389 และ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ส่งมอบ ที่ดิน ดังกล่าว คืนโจทก์ ใน สภาพ เรียบร้อย ตาม สภาพ เดิม และ ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ ปี ละ 600 บาท จำเลย ที่ 2 ชำระ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ปี ละ1,000 บาท จำเลย ที่ 3 ชำระ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ปี ละ 200 บาทนับแต่ ปี 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สาม และ บริวาร จะ ออกจาก ที่ดิน ของ โจทก์
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ มิได้ เป็น สมาชิก นิคมสร้าง ตนเอง คำ สร้อย โจทก์ มิได้ เป็น เจ้าของ ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาท เพราะ โจทก์ ไม่เคย เข้า ครอบครอง และ ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาทหนังสือ แสดง การ ทำประโยชน์ (น. ค.3) เป็น เอกสารปลอม หรือ เป็นเอกสาร ที่ โจทก์ ได้ สมคบ กับ เจ้าพนักงาน กระทำ ขึ้น โดยทุจริต และ มิชอบ ด้วยกฎหมาย เพราะ ออก มา ทับ ที่ดิน ที่ จำเลย ทั้ง สาม ครอบครอง และ ทำประโยชน์อยู่ ฉะนั้น การ ออก โฉนด ที่ดิน ของ โจทก์ จึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วน จำเลยทั้ง สาม เป็น สมาชิก นิคมสร้างตนเอง คำ สร้อย จังหวัด มุกดาหาร จึง มีสิทธิครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท โดย สืบทอด มาจาก บรรพบุรุษ จำเลย ทั้ง สามไม่เคย บุกรุก ที่ดิน ของ โจทก์ โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จากจำเลย ทั้ง สาม เพราะ โจทก์ ไม่มี สิทธิ ครอบครอง หรือ หาก จะ ฟัง ว่าโจทก์ มีสิทธิ ครอบครอง โจทก์ ไม่มี สิทธิ ที่ จะ นำ ที่ดินพิพาท ไป ให้ ผู้อื่นเช่า เพราะ ไม่ชอบ ด้วย พระราชบัญญัติ จัด ที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 เมื่อ โจทก์ ไม่มี สิทธิ ดังกล่าว โจทก์ จึง ไม่ได้ รับความเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง โจทก์ และ พิพากษา ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย ทั้ง สาม มีสิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท ห้าม โจทก์ เข้า เกี่ยวข้อง ใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ เพิกถอนหนังสือ แสดง การ ทำประโยชน์ (น. ค.3) เลขที่ 2955 และ ให้ เพิกถอนโฉนด ที่ดิน เลขที่ 388, 389
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า จำเลย ทั้ง สาม ไม่มี อำนาจฟ้อง แย้งโจทก์ เพราะ ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ขณะที่ โจทก์ นำ เจ้าพนักงาน ไป รังวัด เพื่อ ออก โฉนดที่ดินพิพาท จำเลย ทั้ง สาม หา ได้ คัดค้าน แต่อย่างใด ไม่ จำเลย ทั้ง สามจึง ไม่มี อำนาจ ขอให้ เพิกถอน หนังสือ แสดง การ ทำประโยชน์ (น. ค.3)เลขที่ 2955 และ โฉนด ที่ดิน เลขที่ 388 และ 389 เป็น เอกสารที่ ออก โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดินของ โจทก์ ตาม โฉนด ที่ดิน เลขที่ 388, 389 โดย ให้ จำเลย ทั้ง สาม ส่งมอบที่ดิน ดังกล่าว คืน โจทก์ ใน สภาพ เรียบร้อย ตาม สภาพ เดิม ให้ จำเลย ที่ 1ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ปี ละ 600 บาท จำเลย ที่ 2 ปี ละ 1,000 บาท และจำเลย ที่ 3 ปี ละ 200 บาท นับแต่ ปี 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลยทั้ง สาม และ บริวาร จะ ออกจาก ที่ดิน ของ โจทก์ เสร็จสิ้น ฟ้องแย้ง ของจำเลย ทั้ง สาม ให้ยก เสีย
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 โจทก์ ถึงแก่ความตายนาง อวยพร เอี่ยมศิริแสงทอง หรือ ณ นครพนม บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ โจทก์ ร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สาม
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา คำสั่ง และ คำพิพากษา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ข้อ แรก ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม ว่าที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สาม เป็น อุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้าม อุทธรณ์ และ พิพากษายก อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สามนั้น ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ ศาลฎีกา เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง จำเลยทั้ง สาม ว่า จำเลย ที่ 1 บุกรุก ที่ดิน ของ โจทก์ ประมาณ 6 ไร่ จำเลย ที่ 2บุกรุก ที่ดิน ของ โจทก์ ประมาณ 10 ไร่ และ จำเลย ที่ 3 บุกรุก ที่ดิน ของโจทก์ ประมาณ 2 ไร่ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ตามที่ จำเลย แต่ละ คน บุกรุก นั้น และ ให้ ชำระ ค่าเสียหาย แยก ต่างหาก จาก กันโจทก์ มิได้ ฟ้อง กล่าวหา ว่า จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน บุกรุก ที่ดิน ของ โจทก์ใน ลักษณะ ที่ จำเลย ทั้ง สาม รับผิด ต่อ โจทก์ อย่าง ลูกหนี้ ร่วม จำเลยแต่ละ คน ก็ ให้การ และ ฟ้องแย้ง สู้ คดี ต่อ โจทก์ ตาม ส่วน ของ ที่ดิน ที่ จำเลยแต่ละ คน ครอบครอง ว่า จำเลย ทั้ง สาม มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาทห้าม โจทก์ เกี่ยวข้อง ดังนั้น แม้ โจทก์ จะ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม รวมกันมา ใน คดี เดียว กัน และ เสีย ค่าขึ้นศาล รวมกัน มา ก็ ตาม คดี สำหรับ จำเลยคนใด จะ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ได้ หรือไม่ ต้อง แยก พิจารณา จำนวนทุนทรัพย์ ตาม ที่ จำเลย แต่ละ คน พิพาท กับ โจทก์ มิใช่ คิด จำนวน ทุนทรัพย์ของ จำเลย ทั้ง สาม รวมกัน ดัง ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา เมื่อ ที่ดินพิพาท มี ราคาไร่ ละ 3,000 บาท คดี ของ จำเลย แต่ละ คน จึง มี จำนวน ทุนทรัพย์ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน ห้า หมื่น บาท ซึ่ง เป็น คดี ที่ ห้ามมิให้ คู่ความ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 มาตรา 14อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สาม ที่ ว่า โจทก์ ไม่ใช่ เจ้าของ ที่ดินพิพาท และ ไม่มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาท โจทก์ ไม่มี คุณสมบัติ ที่ จะ ได้รับ การ จัดสรรที่ดิน จำเลย ทั้ง สาม เป็น เจ้าของ ที่ดินพิพาท ซึ่ง ล้วน เป็น อุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง ทั้งสิ้น ต้องห้าม อุทธรณ์ ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าวดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ให้ยก อุทธรณ์ ของ จำเลยทั้ง สาม จึง ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น
สำหรับ ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม ที่ ว่า คำสั่งศาล อุทธรณ์ภาค 1 ที่ สั่ง อนุญาต ให้ นาง อวยพร เอี่ยมศิริแสงทองหรือ ณ นครพนม ผู้ร้อง เข้า เป็น คู่ความ แทนที่ โจทก์ ผู้มรณะ เป็น คำสั่ง ที่ ไม่ชอบ นั้นเห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้องขับไล่ จำเลย ทั้ง สาม ออกจาก ที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์ ได้รับ การ จัดสรร ที่ดิน จาก นิคมสร้างตนเอง คำ สร้อย อันเป็น การได้ ที่ดินพิพาท ตาม พระราชบัญญัติ จัดสรร ที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 เมื่อ โจทก์ ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาท ย่อม ตกทอด เป็น มรดกไป ยัง ทายาท ของ โจทก์ ได้ ตาม มาตรา 12 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าวสิทธิ ใน การ ฟ้องคดี นี้ ของ โจทก์ จึง หาใช่ เป็น เรื่อง เฉพาะตัว ของ โจทก์แต่อย่างใด ไม่ หาก เป็น คดี ที่ ทายาท จะ รับมรดก ความ ของ โจทก์ซึ่ง ถึงแก่ความตาย ได้ เมื่อ นาง อวยพร เอี่ยมศิริแสงทอง หรือ ณ นครพนม เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ โจทก์ ย่อม เป็น ทายาท ของ โจทก์ ผู้มรณะ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 อนุญาต ให้ เข้า เป็นคู่ความ แทนที่ โจทก์ ผู้มรณะ จึง ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สามฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
พิพากษายืน

Share