คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ในวันเกิดเหตุผู้เสียหายทำธนบัตรของกลางตกที่หน้าแผงลอยของนางสาวพ.ขณะที่ล้วงกระเป๋าหยิบเงินมาชำระค่าปลาหมึกให้แก่นางสาวพ.จำเลยที่1มาพบก้มลงหยิบธนบัตรดังกล่าวไปหลังจากที่จำเลยที่1เดินจากไปแล้วผู้เสียหายจึงรู้ตัวว่าธนบัตรของกลางหายไปสอบถามนางสาวพ.ได้ความว่าจำเลยที่1เก็บเอาไปดังนี้การที่จำเลยที่1เอาธนบัตรของกลางไปในขณะที่ผู้เสียหายยังยืนอยู่ในบริเวณที่ทำธนบัตรตกและในเวลาใกล้เคียงกันนั้นเองผู้เสียหายก็รู้ทันทีว่าธนบัตรของตนหายไปถือได้ว่านับแต่เวลาที่ธนบัตรของกลางหล่นลงไปที่พื้นจนถึงเวลาที่จำเลยที่1หยิบเอาไปผู้เสียหายยังคงยึดถือธนบัตรนั้นอยู่การครอบครองธนบัตรยังอยู่กับผู้เสียหายเมื่อจำเลยที่1เอาธนบัตรของกลางไปจากความครอบครองของผู้เสียหายเพื่อจะเอาไปเป็นของตนเองจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ลัก ธนบัตร ฉบับ ละ 500 บาท1 ฉบับ ฉบับละ 100 บาท 3 ฉบับ ของ พลตำรวจ สำรอง พิเศษ สุริยา ศิริพันธะ ผู้เสียหาย ไป โดย ทุจริต ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา83, 334, 335 พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่5) พ.ศ. 2525 มาตรา 11
จำเลย ทั้งสอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 จำคุก 1 ปี จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 วรรคหนึ่ง จำคุก 8 เดือน
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น ความผิด ฐานยักยอก ทรัพย์ และ พยาน หลักฐาน โจทก์ ไม่ พอ ฟัง ลงโทษ จำเลย ที่ 2ฐาน รับ ของ โจร พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง จำคุก 3 เดือน ยกฟ้อง จำเลย ที่ 2
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่า ใน วัน เกิดเหตุผู้เสียหาย ทำ ธนบัตร จำนวน 800 บาท ตก ที่ หน้า แผงลอย ของ นางสาวพิศมัย ชอบเพชร ขณะ ที่ ล้วง กระเป๋า หยิบ เงิน มา ชำระ ให้ แก่ นางสาวพิศมัย จำเลย ที่ 1 มา พบ ก้ม ลง หยิบ ธนบัตร จำนวน ดังกล่าว ไปหลังจาก ที่ จำเลย ที่ 1 เดิน จาก ไป แล้ว ผู้เสียหาย จึง รู้ตัว ว่าธนบัตร จำนวน 800 บาท หาย ไป สอบถาม นางสาว พิศมัย ได้ ความ ว่าจำเลย ที่ 1 เก็บ เอา ไป เห็นว่า จำเลย ที่ 1 เอา ธนบัตร ของกลาง ไปใน ขณะ ที่ ผู้เสียหาย ยัง ยืน อยู่ ใน บริเวณ ที่ ทำ ธนบัตร ตกใน เวลา ใกล้เคียง กัน นั้น ผู้เสียหาย ก็ รู้ ทันที ว่า ธนบัตร ของตน หาย ไป และ ได้ สอบถาม นางสาว พิศมัย ใน ขณะ นั้น จึง ถือ ได้ ว่านับ แต่ เวลา ที่ ธนบัตร ของกลาง หล่น ลง ไป ที่ พื้น จน ถึง เวลา ที่จำเลย ที่ 1 หยิบ เอา ไป ผู้เสียหาย ยังคง ยึดถือ ธนบัตร นั้น อยู่การ ครอบครอง ธนบัตร ยัง อยู่ กับ ผู้เสียหาย เมื่อ จำเลย ที่ 1 เอาธนบัตร ของกลาง ไป จาก การ ครอบครอง ของ ผู้เสียหาย เพื่อ จะ เอา ไปเป็น ของ ตนเอง จำเลย ที่ 1 จึง มี ความผิด ฐาน ลักทรัพย์
ส่วน คดี เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 2 นั้น ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ว่า จำเลย ที่2 ได้ รับ ธนบัตร ของกลาง ไว้ จาก จำเลย ที่ 1 โดย รู้ อยู่ ว่า ธนบัตรของกลาง เป็น ของ ที่ จำเลย ที่ 1 เก็บ ได้ การ ที่ จำเลย ที่ 2 ปกปิดซ่อนเร้น ไว้ จึง เป็น ความผิด ฐาน รับ ของ โจร แต่ จำเลย ทั้ง สองรับสารภาพ ตาม ข้อหา ใน ฟ้อง โจทก์ มา แต่ ชั้น จับกุม และ ชั้น สอบสวนโดย จำเลย ที่ 1 ให้การ มี ข้อเท็จจริง เข้า ลักษณะ ความผิด ฐานลักทรัพย์ จำเลย ที่ 2 ให้การ มี ข้อเท็จจริง เข้า ลักษณะ ความผิด ฐานรับ ของ โจร มี ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา เป็น เหตุ บรรเทา โทษ สมควรลดโทษ ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง สำหรับ จำเลย ที่ 2 นั้น เป็น หญิง อายุเพียง 18 ปี และ เป็น บุตร จำเลย ที่ 1 รับ ธนบัตร ของกลาง จาก มารดาและ ถูก กำชับ ให้ ปกปิด มิได้ ให้ ผู้ใด ทราบ เรื่อง ที่ เกิด ขึ้นเมื่อ ถูก สอบถาม เกี่ยวกับ ธนบัตร ของกลาง ใน เวลา กระชั้นชิด กับเวลา ที่ มารดา นำ มา มอบ ให้ ย่อม ไม่ มี เวลา ไตร่ตรอง โดย รอบคอบคง ยึดถือ คำสั่ง มารดา เป็น ที่ตั้ง ใน ภาวะ เช่นนั้น เป็น ที่ น่าเห็นใจ ไม่ ปรากฎ ว่า จำเลย ที่ 2 เคย ต้องโทษ หรือ ต้องหา คดีอาญา ใดๆมา ก่อน เห็น เป็น การ สมควร ที่ จะ ให้ โอกาส จำเลย ที่ 2 กลับตัวประพฤติ ตน เป็น พลเมือง ดี ต่อไป สักครั้ง
พิพากษา กลับ เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด และ ให้ ลงโทษ ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น เมื่อ ลดโทษ ให้ จำเลย ทั้ง สอง คนละ 1 ใน 3ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คง จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ 8 เดือนจำคุก จำเลย ที่ 2 ไว้ 5 เดือน 10 วัน แต่ ให้ รอ การ ลงโทษ จำคุกจำเลย ที่ 2 ไว้ 1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56

Share