คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

อำนาจหน้าที่และความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการขนไปรษณียภัณฑ์ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2515และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520มิใช่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. จากข้อบังคับของไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ131,141,143,146และ147สิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณียภัณฑ์รับประกันมีเฉพาะจดหมายรับประกันซึ่งจดหมายรับประกันนี้จะจดแจ้งราคาหรือไม่ก็ได้การขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งของที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุอยู่หากมีราคามากกว่า3,950บาทขอรับประกันได้ไม่เกิน3,950บาท. ความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีไปรษณียภัณฑ์รับประกันแตกหักสูญหายต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ141ส่วนมาตรา30แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับไปรษณียภัณฑ์อื่นอันมิใช่จดหมายรับประกัน.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า บริษัท และ ห้าง ที่ โจทก์ รับ ประกันภัย สินค้า ไว้ได้ ส่ง ทับทิบ และ พลอย สี น้ำเงิน เจียระไน ไป ให้ ลูกค้า ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย ทาง ไปรษณีย์ ของ จำเลย ที่ 1 เสีย ค่า ธรรมเนียมส่ง ไปรษณีย ภัณฑ์ ต่างประเทศ ลง ทะเบียน ตอบ รับ และ ได้ แจ้งข้อเท็จจริง ทั้ง สิ่งของ น้ำหนัก และ ราคา อัน แท้จริง ของ สิ่งของที่ บรรจุ อยู่ ภายใน ไปรษณีย ภัณฑ์ ตาม แบบ พิมพ์ ของ จำเลย ที่ 1ครบ ถ้วน ตาม ระเบียบ ทุก ประการ จำเลย ที่ 1 ได้ ว่าจ้าง จำเลย ที่2 ให้ ขนส่ง ไปรษณีย ภัณฑ์ ดังกล่าว ไป อีก ทอด หนึ่ง ต่อมา ปรากฏ ว่าสินค้า ที่ ส่ง ไป นั้น สูญหาย โจทก์ จึง ได้ ชดใช้ ค่า เสียหาย ให้แก่ บริษัท และ ห้าง ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน กรมธรรม์ ประกันภัย ไป แล้วจึง รับ ช่วง สิทธิ มา ขอ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ราคา สินค้า ดังกล่าว แก่ โจทก์รวม เป็น เงิน 2,116,883.15 บาท
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า บริษัท และ ห้าง ได้ ฝาก ส่ง ไปรษณีย ภัณฑ์ต่างประเทศ ลง ทะเบียน ตอบรับ ประเภท จดหมาย รับ ประกัน โดย ขอ รับประกัน เป็น เงิน 3,950 บาท ซึ่ง เป็น อัตรา สูงสุด ตาม ที่ กำหนด ไว้ใน ไปรษณีย นิเทศ ข้อ 146 สินค้า ที่ อ้างว่า ส่ง ไป จะ มี จริง หรือไม่ จำเลย ไม่ ทราบ ตาม ระเบียบ ของ จำเลย ที่ 1 ไม่ จำต้อง รับรู้ ว่าผู้ ฝากส่ง จะ บรรจุ สิ่งของ อะไร ไม่ มี แบบพิมพ์ ให้ ผู้ ฝากส่งเขียน แจ้ง ข้อเท็จจริง ดัง อ้าง จำเลย ที่ 1 ไม่ ต้อง รับผิด ชอบใน ฐานะ ผู้ รับขน เพราะ ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 มิใช่เป็น การ ขนส่ง หลาย ทอด จำเลย ที่ 2 ไม่ มี นิติสัมพันธ์ ใดๆ กับโจทก์ จำเลย ที่ 2 ได้ ส่งมอบ ถุง ไปรษณีย์ ให้ แก่ ที่ทำการ ไปรษณีย์ปลายทาง โดย เรียบร้อย ไม่ ชำรุด เสียหาย จึง ไม่ ต้อง รับผิด ขอ ให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน แก่ โจทก์ รวม8,530 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ส่วน จำเลย ที่ 2 ให้ ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 มิใช่ ผู้ ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 609 การ ขน ไปรษณีย์ ภัณฑ์ ของ จำเลย ที่ 1 ให้ บังคับ ตามกฎหมาย และ กฎ ข้อบังคับ สำหรับ ทบวง การ นั้นๆ ซึ่ง มี พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และ พระราชบัญญัติ การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 เป็น กฎหมาย ที่ บัญญัติ กำหนด อำนาจ หน้าที่ ของ จำเลยที่ 1 ไว้ ตาม มาตรา 22 แห่ง พระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477และ มาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติ การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519ให้ อำนาจ จำเลย ที่ 1 ออก ข้อ บังคับ เกี่ยวกับ การ ฝาก ส่ง ไปรษณีย์ภัณฑ์ จำเลย ที่ 1 ได้ ออก ข้อบังคับ ใน การ ฝาก ส่ง ไปรษณีย ภัณฑ์ไว้ เรียกว่า ไปรษณีย นิเทศ พุทธศักราช 2520 ดังนั้น เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ และ ความ รับผิด ของ จำเลย ที่ 1 ใน การ ขน ไปรษณีย ภัณฑ์ จึงต้อง บังคับ ตาม พระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 และ ไปรษณีย นิเทศ พุทธศักราช2520 ซึ่ง ตาม ไปรษณีย นิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 131 ระบุ ว่าไปรษณีย ภัณฑ์ แบ่ง ออก เป็น 5 ชนิด คือ จดหมาย ไปรษณียบัตร ของ ตีพิมพ์ พัสดุย่อย เครื่องอ่าน สำหรับ คน เสีย จักษุ ข้อ 141 ระบุ ว่าจดหมาย รับประกัน คือ จดหมาย ต่างประเทศ ที่ ทางการ ให้ ความ คุ้มครองรักษา เป็น พิเศษ หาก ของ ที่ รับประกัน สูญหาย หรือ เสียหาย ไปทั้งหมด หรือ บางส่วน ใน ระหว่าง ส่ง ทาง ไปรษณีย์ เพราะ ความผิด ของทางการ ทางการ ยินยอม ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ ตาม ราคา ที่ เป็นจริงของ จดหมาย รับประกัน ที่ สูญหาย หรือ เสียหาย แต่ ไม่เกิน จำนวนเงิน ที่ ขอ รับ ประกัน ไว้ ข้อ 143 ระบุ ว่า ไปรษณีย ภัณฑ์ ชนิด อื่นๆไม่ อนุญาต ให้ รับประกัน ข้อ 146 ระบุ ว่า จำนวน เงิน ที่ จะ ขอ ให้รับประกัน อย่าง สูง ไม่ เกิน 3,950 บาท หรือ 500 แฟรงก์ทอง ต่อจดหมาย 1 ฉบับ และ ข้อ 147 ระบุ ว่า ห้าม ขอ รับประกัน เกินกว่า ราคาแท้จริง ของ สิ่ง ที่ บรรจุ อยู่ แต่ จะ ขอ รับประกัน น้อยกว่า ราคาแท้จริง ก็ ได้ ตาม ข้อบังคับ ของ ไปรษณีย นิเทศ พุทธศักราช 2520จะ เห็นว่า สิ่งของ ที่ ฝาก ส่ง ทาง ไปรษณีย ภัณฑ์ รับประกัน มี เฉพาะจดหมาย รับประกัน เท่านั้น จดหมาย ที่ ขอ ให้ รับประกัน จะ จดแจ้ง ราคาหรือ ไม่ ก็ ได้ การ ขอ ให้ รับประกัน จะ ขอ ให้ รับประกัน เกินกว่าราคา ที่ แท้จริง ของ สิ่ง ที่ บรรจุ อยู่ ไม่ ได้ สิ่งของ ที่ บรรจุอยู่ หาก มี ราคา มากกว่า 3,950 ขอ รับประกัน ได้ ไม่เกิน 3,950 บาทข้อ บังคับ ของ จำเลย ที่ 1 นี้ บริษัท สว่าง เอ็กปอร์ต จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด นิวสยาม ลั้คกี้เยมส์ ย่อม ทราบ ดี เพราะ ได้ ขอรับประกัน เป็น เงิน 3,950 บาท ทั้ง สอง ราย ตาม เอกสาร หมาย จ.6จ.7 และ เมื่อ ฝาก ส่ง แล้ว ผู้ ฝากส่ง ได้ เอา ประกันภัย ไว้ กับโจทก์ อีก ทอดหนึ่ง ทันที เต็ม ตาม ราคา ของ สิ่งของ ที่ ฝาก ส่งอัน เป็น การ ยอมรับ แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 จำกัด ความ รับผิด เท่า ที่รับประกัน เท่านั้น และ ขอ ให้ รับประกัน ได้ ไม่เกิน 3,950 บาทและ มาตรา 29 แห่ง พระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 บัญญัติให้ จำเลย ที่ 1 รับผิด ชดใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ใน การ ที่ ไปรษณียภัณฑ์ รับประกัน แตก หัก สูญหาย ใน ระหว่าง ส่ง ทาง ไปรษณีย์ ตามข้อบังคับ ที่ ใช้ อยู่ ใน เวลา นั้น ความ รับผิด ของ จำเลย ที่ 1ใน การ ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน กรณี ที่ ไปรษณีย ภัณฑ์ รับประกัน(จดหมาย รับประกัน) แตกหัก สูญหาย จึง ต้อง บังคับ ตาม ไปรษณีย นิเทศพุทธศักราช 2520 ข้อ 141 ส่วน มาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติ ไปรษณีย์พุทธศักราช 2477 เป็น บทบัญญัติ เกี่ยวกับ ไปรษณียภัณฑ์ อื่น อัน มิใช่ไปรษณีย ภัณฑ์ รับประกัน (จดหมาย รับประกัน) กรณี ของ โจทก์ ผู้ ฝากส่งได้ ฝากส่ง ประเภท ไปรษณีย ภัณฑ์ รับประกัน (จดหมาย รับประกัน) โดยแจ้ง ขอ รับประกัน ไปรษณีย ภัณฑ์ ที่ ฝากส่ง แต่ ละ ราย เป็น จำนวน เงิน 3,950 บาท กับ เสีย ค่า ธรรมเนียม การ ฝาก ส่ง รายละ 277 บาท และ293 บาท ค่า ธรรมเนียม ลง ทะเบียน ต่างประเทศ รายละ 5 บาท ค่าบริการไปรษณีย์ ตอบรับ รายละ 5 บาท ค่า ธรรมเนียม รับ ประกัน รายละ 20 บาทตาม ใบ รับ เอกสาร หมาย จ.6 จ.7 การ ที่ ผู้ ฝาก ส่ง ทั้ง สอง รายขอ ให้ จำเลย ที่ 1 รับประกัน ไปรษณีย ภัณฑ์ ของ ผู้ ฝากส่ง เป็น เงินรายละ 3,950 บาท เมื่อ ไปรษณีย ภัณฑ์ สูญหาย ไป จำเลย ที่ 1 ต้องรับผิด ใช้ ค่าเสียหาย ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน ไปรษณีย นิเทศ เท่า ที่รับประกัน ไว้ กับ ผู้ ฝากส่ง ทั้ง สอง ราย รวม กับ ค่า ธรรมเนียมดังกล่าว แล้ว เท่านั้น
ปัญหา วินิจฉัย ต่อไป มี ว่า จำเลย ที่ 2 ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์หรือไม่ เห็นว่า จำเลย ที่ 2 มิได้ รับ ขนส่ง ให้ ผู้ ฝากส่ง และ กรณีมิใช่ การ ขนส่ง หลายทอด หาก แต่ จำเลย ที่ 2 มี หน้าที่ ต้อง ขนส่งให้ จำเลย ที่ 1 ตาม พระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา48 ตาม ที่ จำเลย ที่ 1 กำหนด ให้ ส่ง ทั้ง มิได้ รับแจ้ง ถึง สภาพและ ราคา ของ ไปรษณีย ภัณฑ์ ที่ บรรจุ อยู่ ใน ถุง ไปรษณีย์ ที่ จำเลยที่ 1 มอบ ให้ และ ไม่ ปรากฏ ว่า สินค้า ของ ผู้ ฝากส่ง สูญหาย ไป จากที่ แห่งใด ถุง ไปรษณีย ภัณฑ์ ที่ จำเลย ที่ 2 รับ ไป จำเลย ที่ 2ได้ ขนส่ง ไป ถึง ปลายทาง ใน สภาพ เรียบร้อย ไม่ ปรากฏ ว่า จำเลย ที่2 จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ ใน การ ขน จน เป็น เหตุ ให้ ของ หายจำเลย ที่ 2 ไม่ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์
พิพากษา ยืน.

Share