แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
พ. ได้รับทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ จึงถือว่า พ.ได้รับทุนนี้จากรัฐบาลไทยโดยปริยาย เมื่อ พ.ประพฤติผิดสัญญา ต. ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นผู้จัดการมรดกและทายาทของ ต.ได้ แม้ทุนประเภทนี้องค์การอนามัยโลกต้องการให้เปล่าไม้ต้องการเรียกคืนไม่ว่าในกรณีใด ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ขอทุนกับ พ.ผู้ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้แก่รัฐบาลไทยนั้น
สัญญาระหว่างโจทก์กับ พ.มิได้ระบุระยะเวลาที่ พ. ได้รับอนุมัติไปศึกษาต่อและสัญญาค้ำประกันที่ ต.ให้ไว้แก่โจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก 1 ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับจึงได้อนุมัติให้ พ. ศึกษาต่ออีก 1 ปี แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้คือ พ.มิได้อยู่ในราชอาณาเขต โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 288 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิของโจทก์ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และเมื่อ พ.ลูกหนี้ของโจกท์ผิดนัดแล้วโจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะมิได้ยกเรื่องขดลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วย เพิ่มมายกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เรื่องเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคล เป็นส่วนราชการในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ นางสาวพะเยาว์ ฉายระบิล เป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ ด้วยทุนขององค์การอนามัยโลก เป็นทุนประเภท ๑ ข. ต่อมาได้เดินทางกลับมาประเทศไทยเข้ารับราชการในสังกัดเดิม แล้วได้ละทิ้งหน้าที่ โจทก์จึงมีคำสั่งไล่นางสาวพะเยาว์ออกจากราชการ ระหว่างไปศึกษาต่อต่างประเทศ นางสาวพะเยาว์ได้รับเงินเดือนจากโจทก์ ๕๔๖๐๐ บาท และเงินจากองค์การอนามัยโลก +๐๕,๖๘๖.๘๐ บาท นางสาวพะเยาว์ได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์ว่า++++รับราชการด้วยเหตุใดๆ จะชดใช้คืนเงินทุนหรือเงินเดือนรวมเงินเพิ่ม+++++ทั้งสิ้นแก่โจทก์ นายดิเรก มาลากร ได้ทำสัญญาค้ำประกัน เมื่อนางสาวพะเยาว์ถูกไล่ออกจากราชการ ถือว่าผิดสัญญา จึงต้องชดใช้เงินเดือนพร้อมทั้งเงินทุน พร้อมเบี้ยปรับแก่โจทก์รวม ๖๔๓,๒๖๓.๑๘ บาท นายดิเรกผู้ค้ำประกันได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว จำเลยที่ ๑ เป็นภริยาและผู้จัดการมรดกของนายดิเรก จำเลยที่ ๒, ๓ และที่ ๔ เป็นบุตรและทายาทของนายดิเรก จึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้ง ๙ ร่วมกันใช้เงิน ๖๕๓,๒๖๓.๑๘ บาท แก่โจทก์
จำเลยให้การว่า นางสาวพะเยาว์เป็นข้าราชการของโจทก์ ได้รับทุนขององค์การอนามัยโลกไปศึกษาต่อและนายดิเรกค้ำประกันจริง แต่จำเลย++ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเพราะ (๑) นางสาวพะเยาว์มารับราชการใช้ทุน+++ ของโจทก์เองที่ไล่นางสาวพะเยาว์ออก (๒) นางสาวพะเยาว์ ++++มีสิทธิรับเงินเดือนเป็นการตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ต้องส่งเงินเดือนที่รับมาแล้วคืน และโจทก์ไม่มีสิทธิปรับทั้งเบี้ยปรับสูงเกินไป++++นางสาวพะเยาว์ได้รับโดยตรงจากองค์การอนามัยโลก ซึ่งมิได้ประสงค์ได้รับทุนต้องชดใช้คืน โจทก์ชอบที่จะฟ้องนางสาวพะเยาว์ ซึ่งมีอยู่แน่นอนและมีทรัพย์+++ชำระหนี้ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ฟ้องภายใน ๑ ปีนับจากนายดิเรกถึงแก่กรรม จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ มิใช่ผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิด ส่วนจำเลยที่ ๑ ++++ รับผิดเพราะนายดิเรกมีหนี้มากกว่าทรัพย์มรดก โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่นางสาวพะเยาว์ผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้น ทั้งผู้ค้ำประกันและทายาทไม่เคยได้รับ++++ให้ชำระหนี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดใช้เงิน ๖๕๓,๒๖๓.๑๘ บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยทั้งสี่ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ประเด็นที่ ๑ จำเลยฎีกาว่า เงินทุนที่องค์การอนามัยโลกให้แก่นางสาวพะเยาว์ให้ไปศึกษาต่อนี้เป็นทุนประเภทให้เปล่า ไม่ต้องการเรียกคืนไม่ว่าในกรณีใด ได้จ่ายโดยตรงให้แก่นางสาวพะเยาว์โดยไม่ได้ผ่านโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของเงิน ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย ได้พิเคราะห์แล้วปรากฏว่าเกี่ยวกับข้อนี้โจทก์มีพยานบุคคลหลายปากประกอบกับพยานเอกสารได้แก่นายแพทย์โกมล รองปลัดกระทรวงรักษาการในหน้าที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๓ แล้วเป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๑๓ กับมีเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยโจทก์อีก ๔ ปาก คือ ศาสตราจารย์แถบอธิบดีการบดีระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๔ นางศศิธรประจำแผนกสารบรรณ สำนักงานเลขาธิการ นายอุดรหัวหน้ากองกลางซึ่งต่อมาเป็นผู้อำนวยการกองกลาง และนางนพรัตน์หัวหน้าแผนกวิชาพยาบาลศึกษา คณะครุศาสตร์ ได้ความว่าในแผนกวิชาพยาบาลศึกษา คณะครุศาสตร์ ขาดแคลนอาจารย์ผู้สอนวิชาพยาบาลจิตเวช คณบดี คณะครุศาสตร์ในขณะนั้นจึงทำเรื่องราวถึงสำนักงานเลขาธิการ ให้ขอทุนไปยังองค์การอนามัยโลกผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้นางสาวพะเยาว์ไปศึกษาวิชาพยาบาลจิตเวชในชั้นปริญญาโท ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อกลับมาเป็นอาจารย์ในคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยโจทก์ต่อไป ซึ่งการให้ทุนนี้ องค์การอนามัยโลกจะติดต่อเฉพาะกับรัฐบาลเท่านั้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้ว่าให้หน่วยงานต่างๆ ขอผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยโจทก์ได้เสนอขอทุนผ่านไปทางกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้วอนุมัติให้ขอไปยังองค์การอนามัยโลก องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ทุนมา ซึ่งเมื่อองค์การอนามัยโลกให้ทุนแก่กรมหรือกระทรวงใดแล้วถือว่าเป็นทุนของกรม (เช่นมหาวิทยาลัยโจทก์) หรือกระทรวงนั้นๆ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าทุนซึ่งนางสาวพะเยาว์ได้รับไปนั้นเป็นทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งนางสาวพะเยาว์ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ นางสาวพะเยาว์จึงมีหน้าที่ต้องทำสัญญาตามระเบียบที่ทางราชการได้กำหนดไว้ในอันที่จะต้องชดใช้ทุน เมื่อนางสาวพะเยาว์ประพฤติผิดสัญญา นายดิเรกย่อมต้องผิดตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นผู้จัดการมรดกและทายาทของนายดิเรกได้ แม้ทุนประเภทนี้องค์การอนามัยโลกต้องการให้เปล่าไม่ต้องการเรียกคืนไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างโจทก์ขอทุนมากับนางสาวพะเยาว์ผู้ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้แก่รัฐบาลไทยนั้น ทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกให้มานี้แม้องค์การอนามัยโลกจะจ่ายแก่นางสาวพะเยาว์โดยตรงโดยไม่ผ่านโจทก์ก็ไม่สำคัญ เพราะการที่องค์การอนามัยโลกจ่ายเงินทุนให้แก่นางสาวพะเยาว์ก็เพราะนางสาวพะเยาว์เป็นข้าราชการซึ่งทางราชการกำหนดให้เป็นผู้รับทุน และถ้าทางราชการไม่ติดต่อขอทุนได้ องค์การอนามัยโลกย่อมจะมิได้ให้ทุนแก่นางสาวพะเยาว์เป็นการส่วนตัว ที่จำเลยอ้างว่าตามสัญญาหมาย จ.๑๒ ข้อ ๔ มีความว่า “..ข้าพเจ้าจะชดใช้คืนให้แก่ผู้รับสัญญาซึ่งทุนและหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและหรืเงินอื่นใดทั้งสิ้นที่ข้าพเจ้าได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา.. แต่ทุนที่นางสาวพะเยาว์ได้รับไปนั้นมิใช่เงินทุนของทางราชการนั้น เมื่ได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วว่า ทุนนี้เป็นทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งนางสาวพะเยาว์ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ จึงต้องถือว่านางสาวพะเยาว์ได้รับทุนนี้จากรัฐบาลไทยโดยปริยาย ที่จำเลยขอให้คำนึงถึงว่า หากจำเลยต้องคืนทุนนี้ให้แก่ทางราชการและทางราชการส่งคืนองค์การอนามัยโลก ก็มิได้หมายความว่าองค์การอนามัยโลกจะนำเงินจำนวนนี้มาให้แก่คนไทยอีกอาจให้แก่คนชาติอื่นก็ได้นั้น โจทก์มิได้แสดงไว้ ณ ที่ใดเลยว่าเมื่อเรียกร้องเอาแก่จำเลยได้แล้วจะส่งเงินทุนนี้คืนให้องค์การอนามัยโลก
ประเด็นที่ ๒ จำเลยฎีกาว่า ในขณะทำสัญญาหมาย จ.๑๓ ค้ำประกันความรับผิดที่นางสาวพะเยาว์มีต่อโจทก์ตามสัญญาหมาย จ.๑๒ นั้น นายดิเรกผู้ค้ำประกันได้ตกลงกับโจทก์หรือเป็นที่เข้าใจกันกับโจทก์ว่าค้ำประกันความรับผิดสำหรับระยะเวลาที่นางสาวพะเยาว์จะไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาเพียง ๒ ปีเท่านั้น เมื่อต่อมาโจทก์ได้ขยายเวลาให้นางสาวพะเยาว์ศึกษาต่อได้อีก ๑ ปี ทำให้ภาระหนักขึ้นแต่นายดิเรกผู้ค้ำประกันโดยมิได้แจ้งให้นายดิเรกทราบเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้โดยผู้ค้ำประกันมิได้ตกลงด้วย นายดิเรกจึงพ้นความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ได้พิเคราะห์แล้ว ปรากฏว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับนางสาวพะเยาว์ตามเอกสารหมาย จ.๑๒ ซึ่งเรียกว่า สัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษา ฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ นั้นมิได้ระบุระยะเวลาที่นางสาวพะเยาว์ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา ณ ต่างประเทศไว้ และสัญญาค้ำประกันหมาย จ.๑๓ ซึ่งนายดิเรกทำไว้แก่โจทก์กล่าวไว้ในข้อ ๑ ว่า “ตามที่นางสาวพะเยาว์ นายระบิล ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา++ฝึกอบรม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ทำสัญญาไว้ต่อจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๗ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น ข้าพเจ้าทราบและเข้าใจข้อความในสัญญาดังกล่าวแล้ว จึงขอทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อจุฬาลงกรมหาวิทยาลัยว่า ถ้านางสาวพะเยาว์ นายระบิล ผิดสัญญาดังกล่าวด้วยประการใดๆ ก็ดี ข้าพเจ้ายินยอมชำระหนี้ให้แก่จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ตามความรับผิดชอบของนางสาวพะเยาว์ นายระบิล ตามสัญญาดังกล่าวทั้งสิ้นทุกประการ สัญญาหมาย จ.๑๓ นี้ก็มิได้ระบุระยะเวลาที่นางสาวพะเยาว์ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา ณ ประเทศอเมริกาเช่นกัน ดังนั้น การที่นางสาวพะเยาว์ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา ๒ ปี ครบ ๒ ปีแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก ๑ ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับ ซึ่งองค์การอนามัยโลกก็ยอมอนุมัติด้วย โจทก์จึงอนุมัติให้นางสาวพะเยาว์ศึกษาต่อได้อีก ๑ ปีนั้น แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลกในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีดังที่จำเลยอ้าง และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ นายดิเรกผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด จำเลยจึงยังต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
ประเด็นที่ ๓ จำเลยฎีกาว่า โจทก์ควรฟ้องนางสาวพะเยาว์ ผู้เป็นเหตุก่อนไม่ควรมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเพียงทายาทของผู้ค้ำประกัน แม้นางสาวพะเยาว์ไม่มีตัวอยู่ในประเทศ แต่โจทก์ก็มีวิธีการที่จะฟ้องโดยทางอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้เพราะนางสาวพะเยาว์มีที่อยู่แน่นอนในต่างประเทศ ซึ่งโจทก์เองก็ทราบที่อยู่แล้ว และทราบด้วยว่านางสาวพะเยาว์มีรายได้เป็นจำนวนมากในต่างประเทศ การบังคับคดีให้นางสาวพะเยาว์ชำระหนี้ก็ไม่เป็นการยาก ที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสี่เช่นนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อปรากฏว่านางสาวพะเยาว์มิได้อยู่ในพระราชอาณาเขต แต่ไปอยู่ ณ ต่างประเทศเสียแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามนัยแพ่ง มาตรา ๖๘๘ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยไว้ตามสิทธิของโจทก์ อันมีอยู่ตามกฎหมายแล้วก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ที่จำเลยฎีกาด้วยว่าโจทก์จะต้องทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เสียก่อนแล้วจึงจะนำคดีมาฟ้องได้ การที่มาฟ้องจำเลยโดยพนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายว่าต่างให้โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยแล้ว แต่เผอิญหนังสือไปหายเสียในระหว่างการจัดส่งของกรมไปรษณีย์ จำเลยจึงไม่ได้รับ อย่างไรก็ดีศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อนางสาวพะเยาว์ลูกหนี้ของโจทก์ผิดนัดแล้ว โจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทของนายดิเรกผู้ค้ำประกันได้โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๓๐/๒๕๒๑ ระหว่างกรมสรรพากร โจทก์ ม.ล.ปี หรือนายปีย์ มาลากุล จำเลย จำเลยระหว่างโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนายดิเรก ทั้งยังมีทายาทอื่นๆ ที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกของนายดิเรกอีกด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ นั้น เห็นว่า เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้ตามมาตรา ๑๗๓๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่อ้างว่ายังไม่ได้รับส่วนแบ่งมรดกนั้นก็ไม่เป็นเหตุที่จะขัดขวางโจทก์ในการที่จะฟ้องจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เพราะถ้าเป็นความจริงดังที่อ้างก็เป็นกรณีตามมาตรา ๑๖๐๑ ซึ่งต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี
ประเด็นที่ ๔ จำเลยฎีกาว่า ถ้าจำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดแม้กระทั่งทุนซึ่งมิได้รับจากทางราชการ รวมทั้งเบี้ยปรับเต็มจำนวนตามคำพิพากษาของศาลล่างแล้ว จำเลยแม่ลูกก็อยู่ในฐานะหมดเนื้อหมดตัว ปัจจุบันนี้จำเลยก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือเกื้อกูลของญาติ นายดิเรกอยู่แล้ว จำเลยเคยขอความกรุณาโจทก์ให้ลดเบี้ยปรับหรือให้ผ่อนชำระ แต่โจทก์ก็ไม่ยินยอม ขอให้ศาลฎีกาลดจำนวนเบี้ยปรับให้จำเลยด้วย ฎีกาข้อนี้โจทก์แก้ฎีกาว่าจำเลยมิได้ยกเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์และการที่นางสาวพะเยาว์ไปศึกษามาแล้วไม่ปฏิบัติราชการให้โจทก์เช่นนี้ ทำให้โครงการศึกษาแผนกพยาบาลศึกษาของโจทก์เสียหาย เบี้ยปรับที่โจทก์จะได้มาก็ยังไม่พอแก่ความเสียหาย ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกเรื่องขอลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วยเพิ่งมายกขึ้นในชั้นฎีกาก็ตาม แต่เรื่องเบี้ยปรับรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ดังแบบอย่างอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ ๘๑๑/๒๔๙๑ ระหว่างนายผัน มงคล โจทก์ นายปัญหยี ธัญญะกิจ จำเลย และคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๙๗/๒๕๐๔ ระหว่างนายกวี หะทัยธรรม โจทก์ นายพล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กับพวก จำเลย และเมื่อได้พิจารณาถึงทางได้ทางเสียของโจทก์และจำเลยแล้ว เห็นว่ากรณีที่จำเลยจะต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์โดยผู้อื่นเป็นต้นเหตุเช่นนี้ การคิดเอาเบี้ยปรับอีกเท่าหนึ่งของจำนวนเงินทุนองค์การอนามัยโลกที่จะต้องชดใช้คืนนั้นเป็นจำนวนที่สูงเกินส่วน สมควรลดเบี้ยปรับเฉพาะส่วนนี้ลงกึ่งหนึ่ง เหลือ ๗,๓๖๘.๖๐ เหรียญสหรัฐ รวมกับเงินทุนที่ต้องชดใช้คืน ๑๔,๗๓๗.๒๑ เหรียญ เป็น ๒๒,๑๐๕.๘๑ เหรียญ คิดเป็นเงินไทยในอัตรา ๑ เหรียญสหรัฐเท่ากับ ๒๐ บาท ตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นจำนวน ๕๔๒,๑๑๖.๒๐ บาท รวมกับเงินเดือนที่ต้องใช้คืนพร้อมด้วยเบี้ยปรับ ๖๓,๗๗๔.๓๘ บาท แล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้นที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ ๕๐๕,๘๙๐.๕๘ บาท
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน ๕๐๕,๘๙๐.๕๘ บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินจำนวนดังกล่าวในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้นี้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์