คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยส.กรรมการบริษัทจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ต้องมีกรรมการของจำเลยตามที่ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับจำนวนสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลผูกพันจำเลยการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับส.และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมนั้นจึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรค2(2)ไม่มีผลบังคับ.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ต่อมา จำเลยเลิก จ้าง โจทก์ โดย ไม่ มี ความผิด ไม่ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ไม่ จ่ายค่าชดเชย ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าเสียหาย เนื่องจาก การ เลิกจ้างไม่ เป็นธรรม สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างซึ่ง จ่าย ต่ำกว่า กำหนด ค่าจ้าง ขั้นต่ำ และ ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุดพักผ่อน ประจำปี พร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เป็น เพราะ โจทก์ นำ ความลับของ จำเลย ไป เปิดเผย เป็น การ ทิจริต ต่อ หน้าที่ โดย เจตนา และ จงใจทำ ให้ จำเลย ได้ รับ ความเสียหาย อัน เป็น การ ฝ่าฝืน ต่อ ระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย อย่าง ร้ายแรง จำเลย จึง มีสิทธิ เลิก จ้าง โจทก์ ได้ โดย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น การ เลิกจ้างไม่ เป็นธรรม ขอ ให้ ยกฟ้อง โจทก์
วันนัด สืบ พยาน โจทก์ ทนาย โจทก์ และ นาย สมชาติ วิวรรธน์ภาสกรผู้จัดการ ของ จำเลย มา ศาล และ แถลง ร่วมกัน ว่า คดี ตกลง กัน ได้ขอ ให้ ศาลแรงงานกลาง ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ให้ ศาลแรงงานกลางจึง ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ให้ แก่ คู่ความ และ มี คำพิพากษาไป ตามยอม นั้น แล้ว
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า จำเลย อุทธรณ์ ว่า ตาม ระเบียบข้อบังคับ ของ จำเลย กำหนด ให้ กรรมการ จำนวน สอง ใน สี่ คน ตาม บัญชีรายชื่อ แนบ ท้ายฟ้อง อุทธรณ์ เท่านั้น ที่ มี อำนาจ ลง ลายมือชื่อ แทนบริษัท จำเลย และ ต้อง ประทับตรา สำคัญ ของ บริษัท จำเลย ด้วย ตามข้อเท็จจริง คดี นี้ ปรากฏ ว่า นาย สมชาติ วิวรรธน์ภาสกร ซึ่ง เป็นผู้จัดการ ของ บริษัท จำเลย เพียง ผู้เดียว เป็น ผู้ตกลง ทำ สัญญาประนีประนอม ยอมความ กับ โจทก์ โดย มิใช่ เป็น ผู้ มี อำนาจ หรือ ได้รับ มอบอำนาจ จาก จำเลย โดย ชอบ การ กระทำ ของ นาย สมชาติ ไม่ ชอบ ด้วยระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย ทั้ง จำเลย มี เจตนา ที่ จะ ต่อสู้ คดีไม่ ประสงค์ จะ ประนีประนอม ยอมความ กับ โจทก์ สัญญา ประนีประนอมยอมความ และ คำพิพากษา ตามยอม จึง ไม่ มี ผลผูกพัน จำเลย ขอ ให้ ศาลฎีกายก คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง และ ให้ ดำเนิน กระบวน พิจารณา ต่อไป
ศาลฎีกา พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย ซึ่ง จดทะเบียน ต่อ สำนักงาน ทะเบียน หุ้นส่วน บริษัท กรุงเทพมหานครกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ กำหนด จำนวน กรรมการ หรือ ชื่อกรรมการ ซึ่ง ลงชื่อ ผูกพัน บริษัท ไว้ ว่า ‘นาย ธวัช วงศ์รัตนานุกูลนาย ฐิตพร มีสมมนต์ นาย สมชาติ วิวรรธน์ภาสกร นาย เดชา ทิพย์ภวัง สองใน สี่ คน นี้ ลง ลายมือชื่อ และ ประทับตรา สำคัญ ของ บริษัท’ ซึ่งหมายความ ว่า สัญญา หรือ นิติกรรม ใดๆ จะ ผูกพัน จำเลย ต่อเมื่อ มีกรรมการ ของ จำเลย ตาม ที่ ระบุ ชื่อ ดังกล่าว จำนวน สอง คน ร่วมกันลง ลายมือชื่อ และ ประทับตรา สำคัญ ของ บริษัท ด้วย กรรมการ คนหนึ่งคนใด โดย ลำพัง หา มี อำนาจ ลง ลายมือชื่อ ใน เอกสาร ให้ มี ผลผูกพันจำเลย ได้ ไม่ ข้อเท็จจริง คดีนี้ ปรากฏ ว่า ใน การ ทำ สัญญาประนีประนอม ยอมความ กับ โจทก์ นั้น นาย สมชาติ วิวรรธน์ภาสกร กรรมการเพียง คนเดียว ลงชื่อ ใน สัญญา ประนีประนอม ยอมความ แทน จำเลย ซึ่งเป็น การ ไม่ ชอบ ด้วย ข้อบังคับ ของ จำเลย สัญญา ประนีประนอม ยอมความย่อม ไม่ สมบูรณ์ ไม่ มี ผล ผูกพัน จำเลย การ ที่ โจทก์ ทำ สัญญาประนีประนอม ยอมความ กับ นาย สมชาติ วิวรรธ์ภาสกร และ ศาลแรงงานกลางได้ พิพากษา ตามยอม นั้น จึง เป็น การ กระทำ โดย ละเมิด ต่อ บทบัญญัติแห่ง กฎหมาย อัน เกี่ยวด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรค 2(2) ไม่ มี ผล บังคับ
พิพากษา ยก คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง ให้ ศาลแรงงานกลาง ดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อไป และ พิพากษา ไป ตาม รูปคดี.

Share