คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ทั้งห้าเป็น ลูกจ้างจำเลยกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับที่นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติงานและเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของนายจ้างและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าหากลูกจ้างกระทำผิดอย่างร้ายแรงเช่น(1)การกระทำโดยจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย(5)ปลอมแปลงแก้ไขเอกสารหรือหลักฐานหรือให้หลักฐานแก่นายจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯลฯโดยโจทก์ที่1ถึงที่4ได้ลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขตัวเลขในใบเช็คคืนน้ำเต็ม-ขวดเปล่าที่พนักงานตรวจสอบรายการสินค้าได้แก้ไขให้ผิดไปจากความเป็นจริงส่วนโจทก์ที่5ได้แก้ไขตัวเลขและลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขด้วยตนเองในเช็คคืนน้ำเต็ม-ขวดเปล่าเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการควบคุมสินค้าเข้าออกทั้งหมดการกระทำของโจทก์ทั้งห้าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือทรัพย์สินของจำเลยและป้องกันการทุจริตถือได้ว่าเป็นกรณี ร้ายแรงต้องด้วย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)จำเลยมีสิทธิ เลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าได้โดย ไม่ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องรับผิดชำระ ค่าชดเชยเงินสะสมสมทบพร้อมสิทธิประโยชน์ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และ ค่าเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์ทั้งห้า

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง ห้า สำนวน ฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง ห้า โดยโจทก์ ทั้ง ห้า มิได้ กระทำ ความผิด และ จำเลย ไม่จ่าย ค่าจ้าง ค่าชดเชยสินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าเสียหาย เงินสะสม กับ สิทธิประโยชน์ และ เงิน ค้ำประกัน พร้อม ดอกเบี้ย ขอให้ บังคับ จำเลยชำระ เงิน แก่ โจทก์ ทั้ง ห้า
จำเลย ทั้ง ห้า สำนวน ให้การ ว่า จำเลย ได้ เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง ห้าเนื่องจาก โจทก์ ทั้ง ห้า ได้ ร่วม กับ พนักงาน ของ จำเลย ทำการ ปลอมแปลงแก้ไข เอกสาร หรือ ให้ หลักฐาน เท็จ แก่ จำเลย อันเป็น เอกสาร สำคัญเป็น การกระทำ โดย เจตนา ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การจ้างของ จำเลย และ เป็น ความผิด ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ใน ค่าชดเชย สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าเสียหาย โจทก์ ทั้ง ห้า ไม่มี สิทธิได้รับ ค่าจ้าง ใน วันที่ ระบุ ใน ฟ้อง เพราะ โจทก์ ทั้ง ห้า มิได้ ทำงาน และลง เวลาทำงาน เมื่อ จำเลย ปลด โจทก์ หรือ เลิกจ้าง โจทก์ โจทก์ ทั้ง ห้าจึง ไม่มี สิทธิเรียกร้อง เงินสะสม พร้อม ผลประโยชน์ ที่ จำเลย ต้อง จ่าย สมทบจำเลย ไม่เคย รับ เงิน ค้ำประกัน การ ทำงาน และ ไม่เคย ตกลง ว่า จะ จ่ายดอกเบี้ย ใน เงิน ดังกล่าว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่ายเงิน ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ที่ 1 จำนวน 3,166.66 บาท โจทก์ ที่ 2 จำนวน 2,496 บาท โจทก์ ที่ 3จำนวน 2,073 บาท โจทก์ ที่ 4 จำนวน 1,783 บาท และ โจทก์ ที่ 5จำนวน 1,473 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ สิบ ห้า ต่อ ปีใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 3 มกราคม 2537 เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จสิ้น แก่ โจทก์ แต่ละ คน คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ ทั้ง ห้า สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ทั้ง ห้า อุทธรณ์ ว่าการกระทำ ของ โจทก์ ทั้ง ห้า ไม่ได้ ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ จำเลยการกระทำ ของ โจทก์ ทั้ง ห้า จึง ไม่ใช่ เป็น การ ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย กรณี ที่ ร้ายแรง พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่าการ ที่นายจ้าง กำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ ต่าง ๆ ไว้ เพื่อ ให้ ลูกจ้างปฏิบัติ นั้น ก็ เพื่อ ให้ เกิด ความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ใน การ ปฏิบัติงานและ เพื่อ เป็น การ ป้องกัน มิให้ ลูกจ้าง กระทำการ อัน ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน ของ นายจ้าง หาก การกระทำ ของ ลูกจ้าง อาจ ทำให้นายจ้าง ได้รับ ความเสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน หรือ ใน ทาง อื่น ใด แล้วนายจ้าง ย่อม มีอำนาจ พิจารณา ลงโทษ ลูกจ้าง ไป ตาม ระเบียบ ข้อบังคับที่ กำหนด ไว้ ได้ กรณี ของ โจทก์ ทั้ง ห้า ปรากฏว่า โจทก์ ทั้ง ห้า ได้ลงลายมือชื่อ กำกับ การ แก้ไข ตัวเลข ใน ใบ เช็ค คืน น้ำ เต็ม -ขวด เปล่าตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ถึง ล. 8 และ ล. 12 ถึง ล. 21 ให้ ผิด ไป จากความจริง ซึ่ง นาย สมพงษ์ อยู่ทอง พนักงานตรวจสอบ รายการ สินค้า (เช็กเกอ ร์) เป็น ผู้ แก้ไข ตัวเลข เว้นแต่ โจทก์ ที่ 5 ได้ แก้ไข ตัวเลขและ ลงลายมือชื่อ ด้วย ตนเอง ได้ความ ว่าการ ที่ จำเลย ต้อง ออก ระเบียบเกี่ยวกับ การ กรอก รายการ ใน ใบ เช็ค คืน น้ำ เต็ม -ขวด เปล่า เพื่อ ตรวจสอบการ จำหน่าย สินค้า ใบ เช็ค คืน น้ำ เต็ม -ขวด เปล่า จึง เป็น เอกสาร สำคัญที่ ใช้ ใน การ ควบคุม สินค้า เข้า ออก ทั้งหมด หาก มี การ แก้ไข ตัวเลขใน ใบ เช็ค คืน น้ำ เต็ม -ขวด เปล่า ให้ ผิด ไป จาก ความ เป็น จริง จะ ทำให้ไม่สามารถ ตรวจสอบ จำนวน สินค้า ได้ และ การ แก้ไข ดังกล่าว จะ ทำให้มี การทุจริต ได้ ตาม ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง เอกสาร หมาย ล. 10ข้อ 11.3 ระบุ ว่า โทษ ทางวินัย ร้ายแรง บริษัท จะ ลงโทษ เลิกจ้าง โดยไม่มี การ เตือน ล่วงหน้า และ จะ ไม่จ่าย เงิน ค่าชดเชย หาก พนักงานกระทำผิด อย่างร้ายแรง อย่างหนึ่ง อย่างใด ดัง ต่อไป นี้ (1) การกระทำโดย จงใจ ทำให้ บริษัท ได้รับ ความเสียหาย (5) ปลอมแปลง แก้ไข เอกสารหรือ หลักฐาน หรือ ให้ หลักฐาน เท็จ แก่ บริษัท เพื่อ ให้ ได้ มา ซึ่งประโยชน์ สำหรับ ตนเอง หรือ ผู้อื่น ฯลฯ เมื่อ โจทก์ ทั้ง ห้า กระทำการฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย และ ระเบียบข้อบังคับ ดังกล่าว ซึ่ง วัตถุประสงค์ เพื่อ ปกป้อง ผลประโยชน์ หรือทรัพย์สิน ของ จำเลย และ ป้องกัน การทุจริต การกระทำ ของ โจทก์ ทั้ง ห้าถือได้ว่า เป็น การ ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของจำเลย เป็น กรณี ที่ ร้ายแรง กรณี ต้องด้วย ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) ซึ่ง จำเลย มีสิทธิ เลิกจ้างโจทก์ ทั้ง ห้า ได้ โดย ไม่ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 583 เมื่อ วินิจฉัย เช่นนี้ จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิดชำระ ค่าชดเชย เงินสะสม สมทบ พร้อม สิทธิ ประโยชน์ สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าเสียหาย ตาม ฟ้อง ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง ห้าที่ ศาลแรงงานกลาง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย อุทธรณ์ ของโจทก์ ทั้ง ห้า ฟังไม่ขึ้น “

Share