คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาผู้ตายจะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ตายหรือไม่อย่างไรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ร่วมไม่เกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายและได้ฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในมูลละเมิดไปแล้วหากโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีเองโจทก์ร่วมจะต้องฟ้องภายในอายุความการที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนเป็นการฟ้องคดีเมื่อนับจากวันเกิดเหตุเป็นเวลาเกิน1ปีแล้วคดีของโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ตายและ ว.ลูกจ้างจำเลยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

ย่อยาว

โจทก์ ที่ 1 ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ส่วน โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3ฟ้อง โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา โดย ฟ้อง มี ใจความรวมกัน ว่า เมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2529 นาย วัชรบูลย์ จุลวงศ์ ลูกจ้าง ของ จำเลย ได้ ขับ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน 83-9439 กรุงเทพมหานครซึ่ง จำเลย เป็น เจ้าของ ไป ใน ทางการที่จ้าง จาก กรุงเทพมหานคร ไป จังหวัดอุบลราชธานี ถึง จังหวัด อุบลราชธานี นาย วัชรบูลย์ ขับ รถ ไป ตาม ถนน อุปราช ด้วย ความ เร็ว ปราศจาก ความระมัดระวัง เมื่อ ถึง ทางแยก ทาง ร่วม ไม่ยอม ลด ความ เร็ว ไม่ให้ อา ณัติสัญญาณ เป็นเหตุ ให้ รถยนต์ที่นาย วัชรบูลย์ ขับ อยู่ เฉี่ยว ชน รถจักรยานยนต์ ที่นาย บรรยง แก้วศรี บุตร โจทก์ ที่ 1 ขับ อยู่ บน ถนน อุปราช ทำให้ รถจักรยานยนต์ เสียหาย เป็นเหตุ ให้ นาย บรรยง ถึงแก่ความตาย โจทก์ ที่ 3 ซึ่ง นั่ง ซ้อน ท้ายรถ จักรยานยนต์ ของ นาย บรรยง ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส แขน และ ขา หัก ทำให้ โจทก์ ทั้ง สาม ได้รับ ความเสียหาย เนื่องจาก ระหว่างนาย บรรยง บุตร โจทก์ ที่ 1 ยัง มี ชีวิต อยู่ โจทก์ ที่ 1 ได้ ออก ทุน ให้ นาย บรรยง รับ ซื้อ เป็ด ไก่ ตาม ชนบท แล้ว นำ มา ขาย ต่อ เอา กำไร ให้ โจทก์ ที่ 1 เดือน ละ 1,200 บาท ขณะ เกิดเหตุ นาย บรรยง มี อายุ 22 ปี โจทก์ ที่ 1 ขอ คิด ค่าขาดประโยชน์ เป็น เวลา 20 ปี เป็น จำนวนเงิน280,000 บาท ตาม ปกติ นาย บรรยง มี อาชีพ ถีบ สามล้อ รับจ้าง จะ นำ เงิน ให้ โจทก์ ที่ 1 วัน ละ 20 บาท รวม เดือน ละ 600 บาท โจทก์ ที่ 1ขอ คิด ค่าขาดประโยชน์ เป็น เวลา 20 ปี จำนวนเงิน 144,000 บาท เมื่อนาย บรรยง ถึงแก่ความตาย โจทก์ ที่ 1 ได้ จัดการ ทำ ศพ ตาม ฐานะ เป็น เงิน จำนวน 21,700 บาท และ ขอ คิด ค่าเสียหาย ของ รถจักรยานยนต์ เป็น จำนวนเงิน13,000 บาท รวมเป็น เงิน 458,700 บาท ใน ส่วน ที่ ทำให้ โจทก์ ที่ 3เสียหาย จำเลย จะ ต้อง ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 3 และ โจทก์ ที่ 2ซึ่ง เป็น มารดา โดย ใน ระหว่าง โจทก์ ที่ 3 ไม่บาดเจ็บ ได้ ช่วย โจทก์ ที่ 2ขาย ผัก ใน ตลาด มี รายได้ เดือน ละ 1,200 บาท ขณะ เกิดเหตุ โจทก์ ที่ 3มี อายุ 23 ปี ถ้า ไม่บาดเจ็บ จะ ประกอบ อาชีพ เป็น ปกติ อย่างน้อย 20 ปีโจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ขอ คิด ค่าขาดประโยชน์ เป็น เงิน 288,000 บาทนอกจาก นี้ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 มี อาชีพ รับจ้าง ซัก เสื้อผ้า มี รายได้วัน ละ 20 บาท หรือ เดือน ละ 600 บาท โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ขอ คิดค่าเสียหาย 20 ปี จำนวนเงิน 144,000 บาท และ โจทก์ ที่ 3 ต้อง เข้า รับการ รักษา ที่ โรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2529 ถึง วันที่ 16 มิถุนายน 2529 เสีย ค่ารักษาพยาบาลเป็น จำนวนเงิน 19,700 บาท รวม ค่าเสียหาย ของ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3เป็น เงิน 451,700 บาท ขอให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 458,700 บาทแก่ โจทก์ ที่ 1 และ ชำระ เงิน จำนวน 451,700 บาท แก่ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ตาม กฎหมาย นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง สำนวน ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ใน สำนวน แรก ว่าเหตุ เกิดขึ้น เพราะ ความประมาท ของ นาย บรรยง แก้วศรี เนื่องจาก นาย วัชรบูลย์ จุลวงศ์ ขับ รถ ไป ตาม ถนน อุปราช เข้า ตัว เมือง อุบลราชธานี ถึง บริเวณ ทางแยก ตัด กับ ถนน พรหมราช ได้ ชะลอ ความ เร็ว ของ รถ ลง เมื่อ เห็นว่า ปลอดภัย จึง เคลื่อน รถ ต่อ ขณะที่ รถ กำลัง ผ่านพ้นสี่แยก นาย บรรยง ได้ ขับ รถจักรยานยนต์ มา ตาม ถนน พรหมราช เข้า สี่แยก ที่ ตัด กับ ถนน อุปราช ทาง ด้านขวา มือ ของ นาย วัชรบูลย์ ซึ่ง นาย บรรยง เห็น แล้ว ว่า รถยนต์ ที่นาย วัชรบูลย์ ขับ มา นั้น กำลัง อยู่ ใน สี่แยก นาย บรรยง สามารถ ที่ จะ รอ ให้ รถ ที่นาย วัชรบูลย์ ขับ มา ผ่านพ้น สี่แยก ไป เสีย ก่อน จึง ค่อย ขับ รถจักรยานยนต์ เข้า ไป ใน สี่แยก นั้น นาย บรรยง สามารถ ทำ เช่นนั้น ได้ แต่ หา ได้ ทำ ไม่ กลับ ขับ รถจักรยานยนต์ เข้า ไปใน สี่แยก ด้วย ความ เร็ว สูง จึง เข้า ชน รถ ของ จำเลย จน ได้รับ ความเสียหายเป็น ความประมาท ของ นาย บรรยง ฝ่ายเดียว โจทก์ ที่ 1 ไม่ได้ เป็น เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครอง รถจักรยานยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียนอุบลราชธานี ง-8652 ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหาย และ ค่าเสียหายของ รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 6,000 บาท โจทก์ ที่ 1 ไม่ใช่ บิดา โดยชอบด้วย กฎหมาย ของ นาย บรรยง ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน จาก การ ขาดไร้อุปการะ และ ค่าใช้จ่าย ใน การ ปลงศพ นาย บรรยง ไม่มี ความผูกพัน ตาม กฎหมาย ที่ จะ ต้อง ทำการ งาน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 แต่ ถ้าหาก ศาล เห็นว่าจำเลย จะ ต้อง รับผิด ก็ ไม่เกิน 5 ปี เพราะ โจทก์ ที่ 1 มี อายุ 69 ปี แล้วโจทก์ ที่ 2 ไม่ได้ เป็น ผู้ถูกทำละเมิด ไม่ได้ รับ ความเสียหาย เพราะโจทก์ ที่ 3 ไม่ถึง แก่ ความตาย และ พ้น จาก การ เป็น ผู้เยาว์ แล้ว เมื่อโจทก์ ที่ 3 รับ การ รักษา พยาบาล แล้ว ก็ หาย เป็น ปกติ สามารถ ทำการ งาน ได้เหมือนเดิม อย่างไร ก็ ตาม โจทก์ ที่ 3 ก็ มิได้ ประกอบ อาชีพ อะไรข้ออ้าง ที่ ว่า ประกอบ อาชีพ ค้าขาย และ รับจ้าง ซัก เสื้อผ้า นั้น เป็น การนำ มา อ้าง เพื่อ เรียกร้อง ค่าเสียหาย เท่านั้น ขอให้ ยกฟ้อง
นาง ปุน แก้วศรี มารดา ของ นาย บรรยง แก้วศรี ผู้ตาย ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ใน สำนวน คดี แรก ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ยื่นคำให้การ ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ร่วม เคลือบคลุม และขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 1 และโจทก์ร่วม จำนวน 117,000 บาท ชำระ แก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 5,726 บาทชำระ แก่ โจทก์ ที่ 3 จำนวน 30,500 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย จาก ต้นเงินดังกล่าว ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ คำขอ อื่น นอกนั้น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลอุทธรณ์ ภาค 1รับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ประเด็น ข้อ ที่ สอง มี ว่า คดี ของ โจทก์ร่วมขาดอายุความ และ เป็น ฟ้องเคลือบคลุม หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ร่วม เป็นมารดา ของ นาย บรรยง แก้วศรี ผู้ตาย โจทก์ร่วม จะ มีสิทธิ ได้รับ ค่า อุปการะ เลี้ยงดู จาก ผู้ตาย หรือไม่ อย่างไร เป็น สิทธิ เฉพาะตัวของ โจทก์ร่วม และ ไม่เกี่ยวกับ สิทธิ ของ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง เป็น บิดาของ ผู้ตาย และ ได้ ฟ้องคดี ไป แล้ว ดังนั้น หาก โจทก์ร่วม จะ ฟ้องคดี เองโจทก์ร่วม จะ ต้อง ฟ้อง ภายใน อายุความ การ ขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วม มีผลเสมือน เป็น การ ฟ้องคดี เพราะ เป็น การ ขอ บังคับ ให้ เป็น ไป ตาม สิทธิ ที่โจทก์ร่วม มี อยู่ คดี นี้ เหตุ เกิด เมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2529โจทก์ร่วม ยื่น คำร้องขอ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม เมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม2530 นับ จาก วันเกิดเหตุ เป็น เวลา เกิน 1 ปี แล้ว เมื่อ การ ขอ เข้าเป็น โจทก์ร่วม มีผล เสมือน เป็น การ ฟ้องคดี คดี ของ โจทก์ร่วม จึงขาดอายุความ เมื่อ คดี ของ โจทก์ร่วม ขาดอายุความ แล้ว เช่นนี้ ประเด็นเรื่อง ฟ้องเคลือบคลุม หรือไม่ ก็ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลยข้อ นี้ ฟังขึ้น
ประเด็น ข้อ ที่ สาม มี ว่า เหตุ ที่ รถ ชนกัน เกิดจาก ความประมาทเลินเล่อ ของ นาย วัชรบูลย์ ลูกจ้าง ของ จำเลย ด้วย หรือไม่ ประเด็น ข้อ นี้ ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ว่า ผู้ตาย ขับ รถจักรยานยนต์ ด้วย ความประมาท เลินเล่อชน กับ รถยนต์ ของ จำเลย ที่นาย วัชรบูลย์ ขับ ตรง ทางแยก ปัญหา คง มี แต่เพียง ว่า นาย วัชรบูลย์ ขับ รถ ด้วย ความประมาท เลินเล่อ ด้วย หรือไม่ เห็นว่า หลังจาก รถ ชนกัน แล้ว รถจักรยานยนต์ ของ ผู้ตายกระเด็น ไป อยู่ ห่าง จาก จุด ชน 13 เมตร แสดง ว่า รถ ชนกัน อย่าง แรง เนื่องจากนาย วัชรบูลย์ ขับ รถ มา ด้วย ความ เร็ว สูง บริเวณ ที่เกิดเหตุ เป็น ทางแยก ที่ ตั้ง อยู่ ใน เมือง ซึ่ง คนขับ รถ ทุกคน ควร ชะลอ ความ เร็ว รถ ลงและ ขับ ผ่าน ด้วย ความระมัดระวัง ตาม แผนที่ เกิดเหตุ เอกสาร หมาย ปล. 2แผ่น ที่ 8 ไม่ปรากฏ ว่า มี รอย ห้ามล้อ ของ รถ ที่นาย วัชรบูลย์ ขับ แสดง ว่า นาย วัชรบูลย์ มิได้ ใช้ ความระมัดระวัง ขณะ ขับ รถ ผ่าน ทางแยก ประกอบ กับ ขณะ เกิดเหตุ เป็น เวลา กลางคืน ถึง แม้ จะ มี แสง ไฟ แต่ การ มองเห็น ก็ มีขอบเขต จำกัด กว่า กลางวัน นาย วัชรบูลย์ จึง ต้อง ใช้ ความระมัดระวัง มาก ขึ้น อีก เมื่อ นาย วัชรบูลย์ มิได้ ใช้ ความระมัดระวัง เช่นว่า นี้ เหตุ ที่ รถ ชนกัน จึง เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อ ของ นาย วัชรบูลย์ ด้วย เช่นกัน ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ประเด็น ข้อ สุดท้าย มี ว่า โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 มีสิทธิได้รับ ชดใช้ ค่าเสียหาย เพียงใด เห็นว่า ตาม แผนที่ เกิดเหตุ เอกสาร หมายปล. 2 แผ่น ที่ 8 จุด ชน อยู่ เลย กึ่งกลาง สี่แยก ไป ทาง ทิศเหนือ ตาม เส้นทางที่นาย วัชรบูลย์ ขับ รถ มุ่งหน้า ไป เล็กน้อย รถจักรยานยนต์ ของ ผู้ตาย ได้รับ ความเสียหาย ตรง ส่วน หน้า พัง แตก และ ยุบ ปรากฏ ตาม ภาพถ่าย หมาย ล. 1ภาพ ที่ 1 ส่วน รถ ของ จำเลย ถูก ชน ตรง ถัง น้ำมัน ซึ่ง อยู่ หน้า ล้อ หลังปรากฏ ตาม ภาพถ่าย หมาย ล. 2 จาก แผนที่ เกิดเหตุ และ ภาพถ่าย รถ ทั้ง สอง คันดังกล่าว แสดง ให้ เห็นว่า ผู้ตาย ขับ รถจักรยานยนต์ ด้วย ความ เร็วไป ชน กับ รถยนต์ ที่นาย วัชรบูลย์ ขับ ตรง บริเวณ ถัง น้ำมัน ใน ขณะที่ นาย วัชรบูลย์ ขับ รถ ผ่าน ทางแยก ด้วย ความ เร็ว และ ไม่ ใช้ ความระมัดระวัง ดังนั้น เหตุ ที่ รถ ชนกัน จึง เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อ ของ ผู้ตาย และของ นาย วัชรบูลย์ ไม่ ยิ่งหย่อน กว่า กัน เมื่อ เป็น เช่นนี้ โจทก์ ที่ 1ซึ่ง เป็น บิดา ของ ผู้ตาย ย่อม ไม่มี สิทธิ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย ได้ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ให้ จำเลย รับผิด ต่อ โจทก์ ที่ 1 ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังขึ้น
สำหรับ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 นั้น เห็นว่า โจทก์ ที่ 2 เป็น มารดาของ โจทก์ ที่ 3 ฟ้อง เรียก ค่า ขาด แรงงาน ใน ระหว่าง ที่ โจทก์ ที่ 3เจ็บป่วย ต้อง พัก รักษา ตัว ส่วน โจทก์ ที่ 3 เป็น ผู้ถูกทำละเมิด โดยตรงและ ได้รับ ความเสียหาย โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 จึง มีสิทธิ ฟ้อง เรียกค่าเสียหาย ได้ ปัญหา ต่อไป มี ว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 จะ เรียกค่าเสียหาย ได้ เพียงใด โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 เบิกความ ว่า ก่อน เกิดเหตุโจทก์ ที่ 3 ช่วย โจทก์ ที่ 2 ประกอบการ งาน หา รายได้ เลี้ยงชีพ คือโจทก์ ที่ 3 ช่วย เก็บ ผัก แล้ว นำ มา ขาย ที่ ตลาด กับ โจทก์ ที่ 2 ทำให้มี รายได้ ประมาณ วัน ละ 40 บาท นอกจาก นี้ โจทก์ ที่ 3 ยัง รับจ้างซัก เสื้อผ้า มี รายได้ ประมาณ วัน ละ 20 บาท โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3มี นาง เจียง โกติรัมย์ และนายสมเดช สุวรรณกูฎ เป็น พยาน สนับสนุน ว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ประกอบการ งาน ที่ กล่าว แล้ว ด้วยกัน และ มี รายได้ดัง ที่ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 เบิกความ เห็นว่า รายได้ ดังกล่าว มี จำนวนไม่มาก นัก อยู่ ใน วิสัย ที่ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 จะ หา ได้ จึง เชื่อ ว่าโจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 มี รายได้ ตาม จำนวน ที่ กล่าว แล้ว จริง แต่ เนื่องจากโจทก์ ที่ 2 ฟ้อง เรียก ค่าขาดประโยชน์ รวมกัน มา กับ โจทก์ ที่ 3 วัน ละ40 บาท มิได้ แยก ว่า โจทก์ ที่ 2 เสียหาย วัน ละ เท่าใด จึง เห็นควร กำหนดเป็น ค่าเสียหาย ของ โจทก์ ที่ 2 กึ่งหนึ่ง คือ วัน ละ 20 บาท หรือ เดือน ละ600 บาท ผล ของ การ ทำละเมิด ของ ลูกจ้าง ของ จำเลย เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ที่ 3ต้อง พัก รักษา ตัว เป็น เวลา 9 เดือน 16 วัน ดัง ที่ ศาลชั้นต้น ได้วินิจฉัย ไว้ แล้ว ใน ระหว่าง เวลา ดังกล่าว จึง ทำให้ โจทก์ ที่ 2 ขาด รายได้ที่ เคย มี อยู่ จำเลย ซึ่ง เป็น นายจ้าง ของ นาย วัชรบูลย์ จึง ต้อง รับผิด ชดใช้ ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 คิด เป็น จำนวนเงิน 5,720 บาท
ส่วน ค่าเสียหาย ของ โจทก์ ที่ 3 นั้น มีค่า ขาด ประโยชน์ จาก การเก็บ ผัก มา ขาย ใน ตลาด วัน ละ 20 บาท กับ ค่า ขาด รายได้ จาก การ รับจ้างซัก เสื้อผ้า อีก วัน ละ 20 บาท รวมเป็น เงิน วัน ละ 40 บาท หรือ เดือน ละ1,200 บาท ตลอด เวลา ที่ โจทก์ ที่ 3 ต้อง พัก รักษา ตัว เป็น เวลา 9 เดือน16 วัน คิด เป็น ค่าเสียหาย 11,440 บาท
สำหรับ ค่ารักษาพยาบาล ของ โจทก์ ที่ 3 นั้น โจทก์ ที่ 2 มารดา ของโจทก์ ที่ 3 เบิกความ ว่า ต้อง เสีย ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ ที่ 3 เป็น เงิน24,501 บาท ตาม บัญชี รายจ่าย สิ่งของ หรือ เวชภัณฑ์ ของ โรงพยาบาลตาม เอกสาร หมาย จ. 1 ปรากฏว่า ทาง โรงพยาบาล คิด ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ ที่ 3ไว้ เป็น เงิน 24,501 บาท จึง เชื่อ ว่า ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ ที่ 3มี จำนวน 24,501 บาท จริง อย่างไร ก็ ตาม ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ ที่ 3นี้ ทาง โจทก์ ที่ 3 เรียก มา 19,700 บาท ศาล จึง กำหนด ให้ เท่าที่ ขอ มาคือ จำนวน 19,700 บาท รวม ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ ที่ 3 ได้รับ ทั้ง สองรายการ ดัง วินิจฉัย ข้างต้น เป็น เงิน 31,140 บาท ซึ่ง จำเลย จะ ต้องรับผิด ชดใช้ ให้ แก่ โจทก์ ที่ 3 สรุป แล้ว ฎีกา ของ จำเลย ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ ที่ 1 และ โจทก์ร่วมค่าฤชาธรรมเนียม ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 และ โจทก์ร่วม กับ จำเลย ทั้ง สาม ศาลให้ เป็น พับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 5,720 บาทและ ชำระ ให้ แก่ โจทก์ ที่ 3 จำนวน 31,140 บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1

Share