คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2280/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ดำเนินคดีแทน ห. กับพวกเพราะ ห. กับพวกต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นมารดาโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยโอนที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของนาย อ. ให้นาง อ. แต่เพียงผู้เดียวไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกของนาย อ. คืนให้กองมรดกนั้นเป็นการกล่าวอ้างว่านาง อ.มีส่วนร่วมกับจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของ ห. กับพวกด้วยโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยแทน ห. กับพวกได้และมีสิทธิฟ้องนาง อ.ซึ่งร่วมกับจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของ ห. กับพวกได้ด้วยเพราะ มูลคดีเกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องนาง อ.ผู้รับโอนที่ดินมาด้วยศาลจึงไม่อาจพิพากษาคดีให้มีผลไปถึงนาง อ.ผู้รับโอนที่ดินซึ่งเป็น บุคคลภายนอกได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า นาย อาจ อรรถวิเวก อยู่กิน เป็น สามี ภริยา กับ จำเลย เมื่อ ปี 2474 ตาม กฎหมายลักษณะผัวเมีย มี บุตร6 คน ซึ่ง รวมทั้ง นาย หาญ อรรถวิเวก ด้วย เมื่อ วันที่ 29 มีนาคม 2491 จำเลย ได้รับ มรดก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2703ตำบล ไผ่พระ อำเภอบางไทร จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จาก บิดา มารดา โดย ถือ กรรมสิทธิ์รวม กับนาย เฉลียว ไตรลาศ ที่ดิน ส่วน ของ จำเลย จึง ตกเป็น สินสมรส ระหว่าง จำเลย กับ นาย อาจ นาย อาจ ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 29 กันยายน 2523โดย ไม่ได้ ทำ พินัยกรรม ที่ดิน ดังกล่าว กึ่งหนึ่ง เป็น มรดก ของ นาย อาจ ที่ ตกทอด แก่ ทายาทโดยธรรม ต่อมา จำเลย ได้ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินส่วน ที่ เป็น ของ จำเลย และ ส่วน ที่ เป็น มรดก ของ นาย อาจ ให้ นาง อำนวย เณรรักษา โดยเสน่หา แต่เพียง ผู้เดียว นาย หาญ ทราบ เรื่อง เมื่อ วันที่ 28 เมษายน 2535 นาย หาญ เป็น บุตร ผู้มีสิทธิ รับมรดก ของ นาย อาจ ได้ ร้องขอ ต่อ โจทก์ ให้ ฟ้อง เพิกถอน นิติกรรม การ โอน ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น มรดก ของ นาย อาจ ขอให้ เพิกถอน การ โอน ที่ดิน ดังกล่าว เฉพาะ ส่วน ที่ เป็น มรดก ของ นาย อาจ เข้า กอง มรดก ของ นาย อาจ หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม บุตร ของ จำเลย และ นาย อาจ มี เฉพาะ นาง อำนวย เณรรักษา เท่านั้น ที่ ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ร่วม กับ จำเลย มา ตั้งแต่ ก่อน นาย อาจ ถึงแก่กรรม จน ถึง บัดนี้ เป็น เวลา 10 ปี เศษ คดี ขาดอายุความ มรดก แล้ว นอกจาก นี้ หลังจากที่ จำเลย รับมรดก ที่ดินพิพาท มา แล้ว ได้ นำ ไป จำนอง และ ขายฝาก ก่อนที่นาย อาจ จะ ถึงแก่กรรม หลังจาก นาย อาจ ถึงแก่กรรม แล้ว เมื่อ ใกล้ จะ ครบ กำหนด ตาม สัญญาขายฝาก นาย สงบ เณรรักษา สามี ของ นาง อำนวย ได้ นำ เงิน ไป ไถ่ถอน การ ขายฝาก จำเลย จึง โอน ที่ดินพิพาท ให้ นาง อำนวย
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย ว่า จำเลย ไม่โต้แย้ง คัดค้าน ที่ศาลชั้นต้น ไม่ กำหนด ประเด็น ข้อพิพาท เรื่อง อายุความ ถือว่า จำเลยสละ ข้อต่อสู้ เรื่อง อายุความ ศาลชั้นต้น ยก เรื่อง อายุความ ขึ้น วินิจฉัยจึง ไม่ชอบ โจทก์ มิได้ ฟ้อง นาง อำนวย เณรรักษา ผู้รับโอน ที่ดิน พิพาท เข้า มา ด้วย จึง ไม่อาจ พิพากษา ให้ เพิกถอน นิติกรรม การ โอน ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย กับ นาง อำนวย ตาม คำขอ ของ โจทก์ ได้ โจทก์ ไม่มี ทาง ชนะคดี พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ฎีกา ข้อ เดียว ว่า โจทก์ ดำเนินคดีนี้ ให้ นาย หาญ อรรถวิเวก กับพวก เพราะ นาย หาญ กับพวก ต้องห้าม มิให้ ฟ้อง จำเลย ซึ่ง เป็น มารดา โจทก์ จึง ดำเนินการ ให้ เฉพาะ ส่วน ที่นาย หาญ กับพวก ไม่มี อำนาจฟ้อง คดี ได้ และ เป็น หน้าที่ โจทก์ ส่วน การ ฟ้อง นาง อำนวย โจทก์ ไม่มี อำนาจ กระทำ ได้ เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง จำเลย โดย ยก ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา ว่า จำเลย โอน ที่ดินส่วน ที่ เป็น มรดก ของ นาย อาจ ให้ นาง อำนวย แต่เพียง ผู้เดียว ไม่ชอบ ด้วย กฎหมาย เพราะ จำเลย มิใช่ ผู้จัดการมรดก ขอให้ เพิกถอน การ โอนกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าว เฉพาะ ส่วน ที่ เป็น กอง มรดก ของ นาย อาจ คืน ให้ กอง มรดก เป็น การ กล่าวอ้าง ว่า นาง อำนวย มี ส่วน ร่วม กับ จำเลย กระทำการ โต้แย้ง สิทธิ นาย หาญ กับพวก ด้วย โจทก์ มีสิทธิ ฟ้อง จำเลย แทน นาย หาญ กับพวก ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562ประกอบ พระราชบัญญัติ ระเบียบ ข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521มาตรา 5(1) จึง มีสิทธิ ฟ้อง นาง อำนวย ซึ่ง ร่วม กับ จำเลย กระทำการ โต้แย้ง สิทธิ ของ นาย หาญ กับพวก ได้ ด้วย เพราะ มูลคดี เกี่ยวข้อง กัน เมื่อ โจทก์ มิได้ ฟ้อง นาง อำนวย ผู้รับโอน ที่ดิน มา ด้วย ศาล จึง ไม่อาจ พิพากษาคดี ให้ มีผล ไป ถึง นาง อำนวย ผู้รับโอน ที่ดิน ซึ่ง เป็น บุคคล ภายนอก ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145”
พิพากษายืน

Share