คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่ผู้เสียหายขออนุญาตมารดาไปนอนค้างที่บ้านนางสาว ศ.ยังไม่ถือว่าพ้นจากอำนาจปกครองของบิดามารดาเมื่อจำเลยขับรถจักรยานยนต์รับผู้เสียหายในระหว่างทางจากรถจักรยานยนต์ของ น.แล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหายและตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา318วรรคสามก็มิได้บัญญัติไว้ว่าผู้กระทำความผิดจะต้องมีเจตนาโดยทุจริตซึ่งเป็นเจตนาพิเศษแต่อย่างใด เมื่อจำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารถือได้ว่าความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายแล้วแม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราก็ตามการที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราหลังจากนั้นจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งซึ่งต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น2กระทง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276, 318, 91
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก และ 318 วรรคสาม ความผิดตาม มาตรา 276 วรรคแรก จำคุก 12 ปี ความผิด ตาม มาตรา 318 วรรคสามจำคุก 6 ปี รวม จำคุก 18 ปี คำให้การ รับสารภาพ ชั้น จับกุม และชั้นสอบสวน ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา นับ เป็นเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 12 ปี
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง จึง รับฟัง ได้ โดย ปราศจากข้อสงสัย ว่า จำเลย ได้ ข่มขืน กระทำ ชำเรา ผู้เสียหาย จริง ส่วน ที่ จำเลยนำสืบ ว่า ผู้เสียหาย ยอม ให้ จำเลยร่วม ประเวณี ด้วย ความสมัครใจและ ที่ จำเลย รับสารภาพ ชั้นสอบสวน นั้น ถูก เจ้าพนักงาน ตำรวจ บังคับเป็น คำเบิกความ ของ จำเลย ปาก เดียว ลอย ๆ ไม่มี น้ำหนัก หักล้าง พยานโจทก์ได้ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ต่อไป มี ว่า จำเลย กระทำ ความผิดฐาน พราก ผู้เยาว์ เพื่อ การ อนาจาร โดย ผู้เยาว์ ไม่เต็ม ใจ ไป ด้วย ตาม ที่โจทก์ ฟ้อง หรือไม่ ข้อ นี้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลยขับ รถจักรยานยนต์ โดย มี นาย พงษ์พันธ์ ซ้อน ท้าย รับ ผู้เสียหาย มาจาก รถจักรยานยนต์ ของ นาย นิด จำเลย พา ผู้เสียหาย กลับมา ที่ งาน เลี้ยง แล้ว นาย นิด ขับ รถจักรยานยนต์ ออก ไป อีก จำเลย ขับ รถจักรยานยนต์ พา ผู้เสียหาย ตาม ไป แต่ ไม่ ทัน จำเลย พา ผู้เสียหาย ไป แวะ ที่ บ้าน นาย สมิง และ จำเลย ได้ ข่มขืน กระทำ ชำเรา ผู้เสียหาย เห็นว่า การ ที่ ผู้เสียหายขออนุญาต มารดา ไป นอน ค้าง ที่ บ้าน นางสาว ศศินันท์ ยัง ไม่ ถือว่า พ้น จาก อำนาจปกครอง ของ บิดา มารดา การ ที่ จำเลย ขับ รถจักรยานยนต์รับ ผู้เสียหาย ใน ระหว่าง ทาง จาก รถจักรยานยนต์ ของ นาย นิด และ นางสาว ศศินันท์ มา แล้ว จำเลย ข่มขืน กระทำ ชำเรา ผู้เสียหาย ย่อม เป็น การ ล่วง อำนาจปกครอง ของ บิดา มารดา ผู้เสียหาย และ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 318 วรรคสาม ก็ มิได้ บัญญัติ ไว้ ว่า ผู้กระทำ ความผิด จะ ต้องมี เจตนา โดยทุจริต ซึ่ง เป็น เจตนา พิเศษ แต่อย่างใด การกระทำ ของ จำเลยจึง เป็น การ พราก ผู้เสียหาย ซึ่ง เป็น ผู้เยาว์ เพื่อ การ อนาจาร โดย ผู้เยาว์ไม่เต็ม ใจ ไป ด้วย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม ฎีกา จำเลยข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ประการ สุดท้าย ที่ จำเลย ฎีกา ว่า หาก ฟัง ว่า จำเลย กระทำผิดตาม ฟ้อง จริง ก็ มี ลักษณะ เป็น การกระทำ ผิด กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบทเพราะ เหตุการณ์ ที่ เกิดขึ้น เป็นเหตุ การณ์ เดียว กัน และ ต่อเนื่อง กันน่า จะ ลงโทษ บทหนัก ฐาน ข่มขืน กระทำ ชำเรา เห็นว่า ความผิด ฐาน พราก ผู้เยาว์ไป เพื่อ การ อนาจาร เมื่อ จำเลย มี เจตนา พราก ผู้เสียหาย ซึ่ง เป็น ผู้เยาว์ไป เพื่อ การ อนาจาร ถือได้ว่า ความผิด ฐาน พราก ผู้เยาว์ ไป เพื่อ การ อนาจารสำเร็จ นับแต่ จำเลย เริ่ม พราก ผู้เสียหาย ไป โดย มี เจตนา ดังกล่าว แล้วแม้ จำเลย จะ ยัง ไม่ได้ กระทำการ ข่มขืน กระทำ ชำเรา ผู้เสียหาย ก็ ตามการ ที่ จำเลย ข่มขืน กระทำ ชำเรา ผู้เสียหาย หลังจาก นั้น จึง เป็น ความผิดอีก กรรมหนึ่ง ซึ่ง ต่าง กรรม ต่าง วาระ กับ ความผิด ฐาน พราก ผู้เยาว์ไป เพื่อ การ อนาจาร โดย ผู้เยาว์ ไม่เต็ม ใจ ไป ด้วย การกระทำ ของ จำเลยจึง เป็น ความผิด หลายกรรม ต่างกัน เป็น 2 กระทง มิใช่ ความผิด หลายบทดัง จำเลย อ้าง จึง ต้อง ลงโทษ จำเลย ทุกกรรม เป็น กระทง ความผิด ไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา มา ชอบแล้วฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share