คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ในคดีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นโจทก์มีสิทธิครอบครองรถยนต์พิพาทในฐานะผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่ได้ชดใช้ราคารถยนต์ไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนจากโจทก์พิพากษาให้จำเลยเพิกถอนการแจ้งอายัดรถยนต์พิพาทและยกฟ้องแย้งของจำเลยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยฎีกาเพียงขอให้ยกฟ้องโจทก์โดยไม่ขอให้บังคับคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยดังนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งถึงที่สุดและผูกพันจำเลยจึงต้องฟังว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองรถยนต์พิพาทจำเลยไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนโดยไม่ชดใช้ราคารถยนต์ให้โจทก์ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยเพิกถอนการอายัดรถยนต์พิพาทจึงรับฟังไม่ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ ตกลง ซื้อ รถยนต์ แบบ ตู้นอน ยี่ห้อ นิสสัน หมายเลข ม-0604 พิษณุโลก จาก จำเลย ใน ราคา 255,000 บาท ซึ่ง รถดังกล่าว จำเลย ได้ นำ ไป ฝาก ขาย ไว้ ที่ ร้าน จำหน่าย รถ” สยามธุรกิจตะพานหิน ” โดย มี นาย สุพรรณ์ เป็น เจ้าของ และ หุ้นส่วน ผู้จัดการ จำเลย ได้ ส่งมอบ รถยนต์ ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดำเนินการแจ้ง ย้าย ทะเบียนรถยนต์ ให้ แก่ โจทก์ ต่อมา โจทก์ ได้ ดำเนินการ ต่อทะเบียน ประจำปี ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ ไม่สามารถ ต่อ ทะเบียน ให้ โจทก์ได้ โดย อ้างว่า จำเลย ได้ แจ้ง อายัด ไว้ ที่ สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน ขอให้ จำเลย เพิกถอน การ แจ้งความ อายัด ณ สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน กรุงเทพมหานคร หาก จำเลย ไม่ เพิกถอน การ แจ้งความ อายัด ให้ ถือเอาคำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ไม่เคย ตกลง ขาย รถยนต์ คัน หมายเลขทะเบียน ม-0604 พิษณุโลก ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ ทำนิติกรรม กับนาย สุพรรณ์ ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก จำเลย ไม่ได้ เกี่ยวข้อง ด้วย จึง ขอให้ บังคับ โจทก์ ส่งมอบ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน ม-0604 พิษณุโลกคืน จำเลย ใน สภาพ เรียบร้อย หาก โจทก์ ไม่สามารถ ส่ง รถยนต์ คืน ได้ ให้ โจทก์ชดใช้ ราคา เป็น เงิน 300,000 บาท และ ให้ โจทก์ ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้จำเลย เป็น เงิน 72,000 บาท กับ ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ จำเลย วัน ละ300 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า โจทก์ จะ ส่งมอบ รถ คืน แก่ จำเลย ในสภาพ เรียบร้อย
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า ขณะที่ โจทก์ เจรจา ตกลง ราคา ซื้อ ขายกัน อยู่ นั้น จำเลย เป็น ผู้ ตกลง ราคา ซื้อ ขาย กับ โจทก์ ด้วย ตนเอง ที่ ร้านของ นาย สุพรรณ์ ซึ่ง เป็น พ่อค้า ขาย รถยนต์ และ เป็น การ ซื้อ ขาย ใน ท้องตลาด อย่าง เปิดเผย โจทก์ ได้รับ การ ครอบครอง และ ได้ กรรมสิทธิ์รถยนต์ พิพาท ตาม สัญญาซื้อขาย โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน เป็น เงิน ถึง255,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า จำเลย มอบ รถยนต์ พิพาท ไว้ แก่นาย สุพรรณ์ ชัยกิตติศิลป์ เพื่อ ขาย โจทก์ ได้ ซื้อ รถยนต์ พิพาท โดยสุจริต จาก นาย สุพรรณ์ ผู้เป็น พ่อค้า ซึ่ง ขาย ของ ชนิด นั้น โจทก์ ย่อม มีสิทธิ ครอบครอง รถยนต์ พิพาท ใน ฐานะ ผู้เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์จำเลย ไม่ได้ ชดใช้ ราคา รถยนต์ พิพาท ที่ ซื้อ มา จึง ไม่มี สิทธิ ติดตามเอาคืน จาก โจทก์ โจทก์ ไม่ได้ กระทำ ละเมิด ต่อ จำเลย จำเลย จึง ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหาย จาก โจทก์ ตาม ฟ้องแย้ง ที่ จำเลย แจ้ง อายัด การต่อ ทะเบียนรถยนต์ พิพาท โดย อ้างว่า ไม่เคย จำหน่าย หรือ แจ้ง ย้ายรถยนต์ พิพาท ให้ โจทก์ เป็น การ ไม่ชอบ โจทก์ มีสิทธิ ขอให้ เพิกถอนการ แจ้ง อายัด ของ จำเลย ได้ พิพากษา ให้ จำเลย เพิกถอน การ แจ้ง อายัดรถยนต์ พิพาท ณ สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน กรุงเทพมหานคร หาก จำเลย ไม่ เพิกถอน การ แจ้ง อายัด ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนาของ จำเลย ให้ยก ฟ้องแย้ง ของ จำเลย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่าโจทก์ ซื้อ รถยนต์ พิพาท โดยสุจริต จาก พ่อค้า ซึ่ง ขาย ของ ชนิด นั้นโจทก์ ย่อม มีสิทธิ ครอบครอง รถยนต์ พิพาท ใน ฐานะ ผู้เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์จำเลย ไม่ได้ ชดใช้ ราคา รถยนต์ พิพาท ที่ ซื้อ มา จึง ไม่มี สิทธิ ติดตามเอาคืน จาก โจทก์ พิพากษา ให้ จำเลย เพิกถอน การ แจ้ง อายัด รถยนต์ พิพาทณ สถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน กรุงเทพมหานคร และ ยกฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน จำเลย ฎีกา เพียง ขอให้ ยกฟ้อง โจทก์โดย ไม่ ขอให้ บังคับคดี ตาม ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ด้วย คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ ฟ้องแย้ง ซึ่ง ถึงที่สุด แล้ว ย่อม ผูกพันจำเลย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จึง ต้อง ฟัง ว่าโจทก์ มีสิทธิ ครอบครอง รถยนต์ พิพาท จำเลย ไม่มี สิทธิ ติดตาม เอาคืนโดย ไม่ได้ ชดใช้ ราคา รถยนต์ พิพาท ที่ โจทก์ ซื้อ มา ที่ จำเลย ฎีกา ว่าจำเลย เป็น ผู้ มี กรรมสิทธิ์ ใน รถยนต์ พิพาท โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องขอให้ จำเลย เพิกถอน การ อายัด รถยนต์ พิพาท จึง รับฟัง ไม่ได้ ฎีกา ของจำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share