คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ภรรยาฟ้องเรียกเงินมัดจำค่าซื้อที่ดินจากผู้จะขายตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่ใช่การ จัดการสินสมรส ไม่อยู่ในข้อจำกัดที่ต้องได้รับ ความยินยอมจากสามีก่อน สัญญากำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนเมื่อฝ่ายหนึ่ง ผิดนัดอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ เลิกสัญญาได้โดย ไม่ต้อง บอกกล่าว การ ฟ้องเรียกเงินมัดจำคืน กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่อง อายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในกำหนด อายุความ10ปี

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทำ สัญญาจะขาย ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา820,000 บาท จำเลย ได้รับ เงินมัดจำ 200,000 บาท แล้ว ส่วน ที่ เหลือ620,000 บาท ตกลง ชำระ ภายใน วันที่ 30 มกราคม 2527 ครั้น วันที่30 มกราคม 2527 โจทก์ นำ เงิน 620,000 บาท ไป ชำระ ให้ จำเลย ปรากฏว่าจำเลย เดินทาง ไป ต่างประเทศ เมื่อ จำเลย กลับ จาก ต่างประเทศ แล้วโจทก์ มี หนังสือ บอกเลิก สัญญา และ ทวงถาม ให้ จำเลย คืนเงิน มัดจำ แต่ จำเลยเพิกเฉย ทำให้ โจทก์ เสียหาย คิด ดอกเบี้ย นับแต่ วัน ผิดนัด ถึง วันฟ้องเป็น เงิน 55,767 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชดใช้ เงิน จำนวน 255,767 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 200,000 บาทนับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ เป็น หญิง มี สามีและ มิได้ รับ ความ ยินยอม จาก สามี ให้ ฟ้องคดี โจทก์ จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ตาม ฟ้อง จริง โจทก์ ผิดนัด จำเลย จึง ริบ เงินมัดจำโจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ให้ จำเลย คืน มัดจำ และ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
วันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ ให้ งดชี้สองสถาน และ งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย แล้ว พิพากษายก ฟ้อง โจทก์ อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำพิพากษา และ คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ ให้ งดชี้สองสถานและ งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนิน กระบวนพิจารณา และสืบพยานโจทก์ จำเลย ต่อไป ให้ สิ้น กระแสความ แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดีจำเลย ฎีกา ศาลฎีกา พิพากษายืน
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ จำเลย ใช้ เงิน แก่ โจทก์ จำนวน255,767 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน200,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่าเมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2526 โจทก์ จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะซื้อขายโดย จำเลย ตกลง จะขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1544 และ เลขที่ 1545 ของ จำเลยให้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน 820,000 บาท โจทก์ ได้ ชำระ เงิน งวด แรก เป็นมัดจำ แล้ว 200,000 บาท และ ชำระ งวด ที่ 2จำนวนเงิน ส่วน ที่ เหลือ 620,000 บาท ใน วันที่30 มกราคม 2527 พร้อม กับ รับโอน โฉนด ที่ดิน จาก จำเลยต่อมา เมื่อ ถึง กำหนด นัด ทั้ง สอง ฝ่าย มิได้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ประเด็น ที่ต้อง วินิจฉัย ข้อ แรก ตาม ฎีกา ของ จำเลย มี ว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้ โดยไม่ต้อง ได้รับ ความ ยินยอม จาก สามี ได้ หรือไม่ เห็นว่า คดี นี้ เป็นกรณี ฟ้อง เรียกเงิน มัดจำ คืน จาก จำเลย ไม่ใช่ การ จัดการ เกี่ยวกับสินสมรส จึง ไม่อยู่ ใน ข้อจำกัด ที่ ต้อง ได้รับ ความ ยินยอม จาก สามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 โจทก์ จึง ฟ้องคดี ได้โดย ไม่ต้อง ได้รับ ความ ยินยอม จาก สามี ประเด็น ที่ ต้อง วินิจฉัย ข้อ ต่อไปมี ว่า โจทก์ หรือ จำเลย ฝ่ายใด เป็น ผู้ผิดสัญญา โจทก์ และ นาย ประเสริฐ รัตนวดีชัยกุล เบิกความ ว่า พยาน ทั้ง สอง และ สามี โจทก์ ได้ นำ เช็ค สั่งจ่าย เงิน 620,000 บาท เพื่อ ชำระ เงิน งวด ที่ 2 ไป ที่ บ้าน จำเลยไม่พบ จำเลย น้องชาย จำเลย บอก ว่า จำเลย และ สามี ไป เที่ยวประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน จะ กลับ ใน เดือน กุมภาพันธ์ สามี โจทก์ จึง บันทึก เหตุการณ์ ที่ จำเลย ไป ต่างประเทศ ไว้ ที่ ท้าย สัญญาจะซื้อขายแล้ว ให้ น้องชาย จำเลย ลงชื่อ ไว้ เรื่อง จำเลย ไป ต่างประเทศ นี้ จำเลยเบิกความ รับ ว่า ได้ เดินทาง ไป ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ ก่อน ถึง กำหนด ชำระ เงิน งวด ที่ 2 ตอน ที่อยู่ ต่างประเทศ ยัง ไม่มี กำหนดกลับ ที่ แน่นอน จำเลย กลับมา ถึง บ้าน เมื่อ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ปีเดียว กัน เห็นว่า ตาม สัญญาจะซื้อขาย ข้อ 2 ได้ กำหนด วันที่ โจทก์ต้อง ชำระ เงิน ค่าซื้อ ที่ดิน ภายใน วันที่ 30 มกราคม 2527 และ ข้อ 4ตกลง ว่า เมื่อ จำเลย รับ เงิน แล้ว มี หน้าที่ ต้อง โอน โฉนด ให้ แก่ โจทก์ ทันทีจำเลย ทราบ วัน กำหนด แน่นอน ตาม สัญญา แล้ว แต่ กลับ เดินทาง ไป ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน และ กลับมา หลังจาก พ้น กำหนด แล้ว จึง ถือว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ผิดนัด โดย ไม่ยอม รับ เงิน และ โอน ที่ดิน ตาม สัญญา ที่ จำเลยอ้าง เหตุ ว่า ก่อน ที่ จำเลย จะ เดินทาง ไป ต่างประเทศ โจทก์ ได้ โทรศัพท์ขอ ขยายเวลา ชำระ เงิน งวด ที่ 2 ไป อีก 1 เดือน นั้น จำเลย มิได้ ให้การเป็น ประเด็น ไว้ จึง ไม่รับ วินิจฉัย เมื่อ จำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญาโจทก์ มีสิทธิ เลิกสัญญา ได้ โดย ไม่ต้อง บอกกล่าว อีก ประเด็น ที่ ต้องวินิจฉัย ประการ สุดท้าย มี ว่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ คดี นี้โจทก์ ฟ้อง จำเลย เรียกเงิน มัดจำ คืน เนื่องจาก จำเลย ผิดสัญญา จะซื้อขายซึ่ง ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ เรื่อง อายุความ ไว้ โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้อง ได้ภายใน กำหนด อายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม โจทก์ ทราบ เหตุ ผิดนัด วันที่ 30 มกราคม 2527โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 28 ตุลาคม 2530 ยัง ไม่เกิน 10 ปีคดี โจทก์ ไม่ขาดอายุความ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ให้ จำเลย คืนเงินมัดจำ พร้อม ดอกเบี้ย นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลยฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share