คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การผลิตโดยการแบ่งบรรจุตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา4ต้องเป็นการแบ่งบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูกทำผสมปรุงแปรสภาพเปลี่ยนรูปหรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เช่นการบรรจุเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลโดยทั่วไปการที่จำเลยแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการใช้เสพของตนเองไม่เป็นการผลิตตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ฟ้องว่าจำเลย ผลิตยาเสพติด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยมียาเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครองศาลย่อมลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้ายเพราะความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครองเป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ผลิต เฮโรอีน โดย ใช้ วิธีแบ่ง บรรจุ เฮโรอีน ใส่ ใน หลอด กาแฟ ได้ เฮโรอีน ทั้งหมด 20 หลอดน้ำหนัก สุทธิ 0.54 กรัม เพื่อ จำหน่าย ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 15, 65, 102ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 49 ริบของกลาง และ ให้ สั่ง ห้าม จำเลยทั้ง สอง เสพ ยาเสพติดให้โทษ ทุก ประเภท ภายใน กำหนด เวลา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 49 ด้วย
จำเลย ที่ 1 ให้การรับสารภาพ จำเลย ที่ 2 ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 65 จำคุก จำเลยทั้ง สอง ตลอด ชีวิต จำเลย ที่ 1 รับสารภาพ ใน ชั้นสอบสวน และ ชั้นพิจารณาจำเลย ที่ 2 รับสารภาพ ใน ชั้น จับกุม เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา นับ เป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษ ให้ จำเลย ที่ 1 กึ่งหนึ่ง และ จำเลย ที่ 2หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบ ด้วย มาตรา 53จำเลย ที่ 1 จำคุก 25 ปี จำเลย ที่ 2 จำคุก 33 ปี 4 เดือน ของกลางให้ริบ ที่ โจทก์ ขอให้ สั่ง ห้าม จำเลย เสพ ยาเสพติดให้โทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 49 นั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้ โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 98 ได้ บัญญัติ วิธีการ บำบัด รักษา ไว้ แล้วไม่สมควร ที่ จะ สั่ง ห้าม ให้ยก คำขอ
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสองประกอบ ด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลฎีกา จำเลย ที่ 2 ถึงแก่ความตาย
ศาลฎีกา เห็นว่า เมื่อ จำเลย ที่ 2 ถึงแก่ความตาย แล้ว สิทธิ นำ คดีอาญา มา ฟ้อง ย่อม ระงับ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(1) จึง ให้ จำหน่ายคดี เฉพาะ จำเลย ที่ 2 ออกจาก สารบบความ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้ ว่า ตาม วัน เวลาและ สถานที่เกิดเหตุ ดัง ฟ้อง เจ้าพนักงาน ตำรวจ จับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2และ ยึด ของกลาง คือ เฮโรอีน 20 หลอด มี น้ำหนัก สุทธิ 0.54 กรัมพร้อม หลอด พลาสติก 1 หลอด หลอด กาแฟ ปิด ท้าย แล้ว 6 หลอด ไม้ขีดไฟ2 กล่อง เทียน ไข 3 เล่ม และ หลอด กาแฟ สี ขาว 38 หลอด โดย เฮโรอีนจำนวน ดังกล่าว จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมกัน แบ่ง บรรจุ ใส่ หลอดมี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ที่ 1 ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิดฐาน ผลิต ยาเสพติดให้โทษ ใน ประเภท 1 หรือไม่ ใน ข้อ นี้ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัติ ความหมาย ของ คำ ว่า”ผลิต ” ว่า ให้ หมายความ ถึง “เพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพเปลี่ยน รูป สงเคราะห์ ทาง วิทยา ศาสตร์ และ ให้ หมายความ รวม ถึง การ แบ่งบรรจุ หรือ การ รวม บรรจุ ด้วย ” ศาลฎีกา เห็นว่า แม้ กฎหมาย จะ บัญญัติ ว่าการ ผลิต ให้ หมายความ รวม ถึง การ แบ่ง บรรจุ หรือ การ รวม บรรจุ ด้วยแต่ เมื่อ คำนึง ถึง โทษ ฐาน ผลิต ยาเสพติดให้โทษ ใน ประเภท 1 ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง กำหนด ให้ ระวางโทษ จำคุก ตลอด ชีวิต เท่ากับ โทษฐาน นำเข้า หรือ ส่งออก ซึ่ง ยาเสพติดให้โทษ ใน ประเภท 1 ใน ขณะที่โทษ ฐาน จำหน่าย หรือ มีไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย ซึ่ง ยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 1 มี ปริมาณ คำนวณ เป็น สาร บริสุทธิ์ ไม่เกิน หนึ่ง ร้อย กรัมตาม มาตรา 66 วรรคหนึ่ง กำหนด โทษ จำคุก ตั้งแต่ ห้า ปี ถึง จำคุก ตลอด ชีวิตและ ปรับ แล้ว เห็น ได้ว่า กฎหมาย กำหนด โทษ ความผิด เกี่ยวกับ ยาเสพติดให้ โทษ ตาม ความ ร้ายแรง ของ อันตราย ที่ จะ เกิดขึ้น แก่ สังคม จาก การกระทำความผิด โดย การ ผลิต ยาเสพติดให้โทษ ใน ประเภท 1 ไม่ว่า ด้วย การเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยน รูป หรือ สงเคราะห์ ทาง วิทยา ศาสตร์เป็น การกระทำ ที่ จะ เกิด อันตราย แก่ สังคม อย่างร้ายแรง เพราะ เป็น การเพิ่ม ความ รุนแรง ของ ยาเสพติดให้โทษ หรือ เป็น การ ทำให้ ยาเสพติดให้โทษนั้น แพร่หลาย ง่าย ขึ้น กฎหมาย จึง ต้อง กำหนด โทษสูง เมื่อ ความมุ่งหมายของ กฎหมาย เป็น เช่นนี้ คำ ว่า “การ แบ่ง บรรจุ หรือ การ รวม บรรจุ “ใน มาตรา 4 ดังกล่าว จึง ต้อง หมายถึง การ แบ่ง บรรจุ หรือ การ รวม บรรจุ ที่เป็น อันตราย แก่ สังคม อย่างร้ายแรง ทำนอง เดียว กับ การ เพาะ ปลูก ทำผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยน รูป หรือ สงเคราะห์ ทาง วิทยา ศาสตร์ เช่นการ แบ่ง บรรจุ หรือ รวม บรรจุ เพื่อ จำหน่าย แก่ บุคคล โดย ทั่วไป เป็นต้นสำหรับ คดี นี้ แม้ จำเลย ที่ 1 จะ ให้การรับสารภาพ ตาม ฟ้อง ศาล ก็ ยังต้อง ฟัง พยานโจทก์ จนกว่า จะ พอใจ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ กระทำผิด จริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 ซึ่ง ข้อเท็จจริงตาม พยานหลักฐาน โจทก์ ใน คดี นี้ ไม่ได้ ความ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2แบ่ง บรรจุ เฮโรอีน ของกลาง เพื่อ จำหน่าย จ่ายแจก แก่ บุคคล ทั่วไปนอกจาก นั้น ยัง ปรากฏว่า ทั้ง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ต่าง ติด ยาเสพติดให้ โทษ จึง อาจ เป็น ดัง ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2แบ่ง บรรจุ เฮโรอีน เพื่อ ความสะดวก ใน การ ใช้ ของ ตนเอง การกระทำของ จำเลย ที่ 1 จึง ไม่เป็น ความผิด ฐาน ผลิต ยาเสพติดให้โทษ ใน ประเภท1 จำเลย ที่ 1 คง มี ความผิด เพียง ฐาน มีไว้ ใน ครอบครอง ซึ่ง ยาเสพติดให้ โทษ ใน ประเภท 1 เท่านั้น ซึ่ง การกระทำ ความผิด ฐาน นี้ เป็น การกระทำอย่างหนึ่ง ใน ความผิด ฐาน ผลิต ยาเสพติดให้โทษ ใน ประเภท 1 ที่ โจทก์ฟ้อง นั่นเอง ศาล ย่อม ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ใน ความผิด ฐาน นี้ ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย ฎีกาจำเลย ที่ 1 ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง , 67 ให้ วางโทษจำคุก 8 ปี เมื่อ ลดโทษ ให้ จำเลย ที่ 1 กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้ว คง จำคุก 4 ปี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3

Share