คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยในส่วนรูปวัวกระทิงมีลักษณะการประดิษฐ์เหมือนกันกล่าวคือเป็นภาพลายเส้นรูปวัวกระทิงหันตัวทางด้านข้างด้านหลังอยู่ลึกเข้าไปหันหน้ามาทางหน้ายืนตัวตรงยกขาซ้ายหน้าหางยาวผิดปกติโดยยกขึ้นเป็นอักษรรูปตัว”s”คงต่างกันเฉพาะเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปวัวกระทิงประดิษฐ์อยู่ในภายในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าและมีอักษรไทยว่า”ตราวัวกระทิง”อยู่ใต้รูปวัวกระทิงเท่านั้นส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีรูปสามเหลี่ยมและอักษรไทยดังกล่าวหากพิจารณาเฉพาะแต่ส่วนประกอบก็จะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแตกต่างกันแต่เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยคล้ายคลึงกันมากเพราะเป็นรูปวัวกระทิงประดิษฐ์มีส่วนต่างๆดังกล่าวเหมือนกันซึ่งสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายเป็นรูปวัวกระทิงอย่างเดียวกันดังนี้ถือว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าได้ จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงภายในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยเห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์มาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงประดิษฐ์ดีกว่าจำเลย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ คิด ประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้า”รูป วัว ใน ลักษณะ ประดิษฐ์ ” ขึ้น เพื่อ ใช้ กับ สินค้า มา เป็น เวลา เกือบ20 ปี แล้ว โจทก์ ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไว้ ในประเทศ ต่าง ๆ หลาย ประเทศ ต่อมา โจทก์ ได้ ยื่น คำขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “รูป วัว ใน ลักษณะ ประดิษฐ์ ” ใน ประเทศ ไทย สำหรับสินค้า จำพวก ที่ 39 ตาม คำขอ เลขที่ 220471 แต่ ปรากฏว่า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ปฏิเสธ ไม่ยอม รับ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ อ้างว่า เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ เหมือน หรือคล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ตาม ทะเบียน เลขที่ 146761 ซึ่ง จำเลยได้ ยื่น ขอ จดทะเบียน ไว้ ใน สินค้า จำพวก เดียว กัน กับ โจทก์ เนื่องจากโจทก์ ได้ ใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้า ต่าง ๆ ที่ โจทก์ผลิต ขึ้น อย่าง แพร่หลาย ใน ประเทศ ต่าง ๆ เป็น เวลา นาน แล้ว โจทก์ จึงมีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า “รูป วัว ใน ลักษณะ ประดิษฐ์ ” ดีกว่า จำเลยจำเลย มี เจตนา ลอก เลียนแบบ เครื่องหมายการค้า “รูป วัว ใน ลักษณะ ประดิษฐ์ “ของ โจทก์ แล้ว นำ ไป ดัดแปลง เพิ่มเติม เล็กน้อย ใน ประการ ที่ อาจ ทำให้สาธารณชน เกิด ความ สับสน หลงผิด ใน เครื่องหมายการค้า แหล่งกำเนิดของ สินค้า ตลอดจน ตัว สินค้า ได้ ขอให้ พิพากษา ว่า โจทก์ มีสิทธิ ในเครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 220471ดีกว่า เครื่องหมายการค้า ตาม ทะเบียน เลขที่ 146761 ของ จำเลย ให้ จำเลยเพิกถอน คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 203542 ทะเบียน เลขที่146761 ออกจาก กอง เครื่องหมายการค้า กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลยและ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 50,000 บาท นับแต่วันฟ้อง ไป จนกว่า จำเลย จะ เลิก ใช้ เครื่องหมายการค้า ตามทะเบียน เลขที่ 146761
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ มิใช่ ผู้ คิด ประดิษฐ์ หรือ เป็น เจ้าของเครื่องหมาย “รูป วัว ใน ลักษณะ ประดิษฐ์ ” และ ไม่เคย จดทะเบียนเครื่องหมาย ดังกล่าว เป็น เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ โจทก์ ไม่เคย ใช้เครื่องหมายการค้า นั้น กับ สินค้า ใด ๆ จำเลย เป็น ผู้ ประดิษฐ์ และเป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า รูป วัว กระทิง จำเลย ไม่เคย ลอก เลียนแบบหรือ นำ เอา เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ มา จดทะเบียน เป็น เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ ของ จำเลย แตกต่าง กันและ จำเลย ได้ ดำเนินการ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย และใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้า จำพวก กระดาษ มา เป็น เวลาหลาย ปี แล้ว ส่วน โจทก์ ยัง มิได้ ดำเนินการ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ ตาม กฎหมาย แต่ ประการใด อีก ทั้ง โจทก์ ไม่เคย ส่ง สินค้าของ โจทก์ เข้า มา จำหน่าย ใน ประเทศ ไทย ดังนั้น จำเลย จึง มีสิทธิใน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ดีกว่า โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าตาม คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 220471 ดีกว่าเครื่องหมายการค้า ตาม ทะเบียน เลขที่ 146761 ของ จำเลย ให้ จำเลยเพิกถอน คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า คำขอ เลขที่ 203542ทะเบียน เลขที่ 146761 ออกจาก กอง เครื่องหมายการค้า กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา มี ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดีกว่า จำเลย หรือไม่ มี ข้อ จะ ต้อง พิจารณา ก่อน ว่าเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 กับ เครื่องหมายการค้าของ จำเลย ตาม เอกสาร หมาย จ. 4 มี ลักษณะ เหมือนกัน หรือไม่ เห็นว่าเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ ของ จำเลย ใน ส่วน รูป วัว กระทิง มี ลักษณะการ ประดิษฐ์ เหมือนกัน กล่าว คือ เป็น ภาพ ลายเส้น รูป วัว กระทิง หัน ตัวทาง ด้าน ข้าง ด้านหลัง อยู่ ลึก เข้า ไป หัน หน้า มา ทาง หน้า ยืน ตัว ตรงยก ขา ซ้าย หน้า หาง ยาว ผิดปกติ โดย ยกขึ้น เป็น อักษร รูป ตัว “s” คง ต่างกันเฉพาะ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เป็น รูป วัว กระทิง ประดิษฐ์ อยู่ ภายในรูป สามเหลี่ยม ด้าน เท่า และ มี อักษร ไทย ว่า “ตรา วัว กระทิง ” อยู่ ใต้รูป วัว กระทิง เท่านั้น ส่วน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไม่มีรูป สามเหลี่ยม และ อักษร ไทย ดังกล่าว หาก พิจารณา เฉพาะ แต่ ส่วนประกอบก็ จะ เห็นว่า เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ ของ จำเลย แตกต่าง กันแต่เมื่อ พิจารณา รวมทั้งหมด จะ เห็นว่า เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์และ จำเลย คล้ายคลึง กัน มาก เพราะ เป็น รูป วัว กระทิง ประดิษฐ์ มี ส่วน ต่าง ๆดังกล่าว เหมือนกัน ซึ่ง สาระสำคัญ ของ เครื่องหมายการค้า ทั้ง สอง ฝ่ายเป็น รูป วัว กระทิง อย่างเดียว กัน ดังนี้ ถือว่า เครื่องหมายการค้าทั้ง สอง มี ลักษณะ เหมือน หรือ คล้าย กัน อาจ ทำให้ สาธารณชน เกิด ความ สับสนหลงผิด ใน เครื่องหมายการค้า ได้ ข้อเท็จจริง และ พฤติการณ์ ที่ จำเลยใช้ เครื่องหมายการค้า รูป วัว กระทิง ประดิษฐ์ ซึ่ง มี ลักษณะ เหมือน หรือคล้าย กัน กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ เช่นนี้ เชื่อ ว่า จำเลย จงใจใช้ เครื่องหมายการค้า รูป วัว กระทิง ภายใน รูป สามเหลี่ยม ด้าน เท่าให้ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ด้วย จำเลย เห็นว่าสินค้า ของ โจทก์ ที่ มี เครื่องหมายการค้า รูป วัว กระทิง ประดิษฐ์ เป็น ที่นิยม แพร่หลาย เพื่อ ให้ สาธารณชน สับสน หลงผิด ว่า สินค้า ของ จำเลยเป็น สินค้า ของ โจทก์ เมื่อ โจทก์ ใช้ เครื่องหมายการค้า รูป วัว กระทิงประดิษฐ์ มา ก่อน จำเลย โจทก์ จึง มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า รูปวัว กระทิง ประดิษฐ์ ดีกว่า จำเลย
พิพากษายืน

Share