คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้โจทก์อุทธรณ์ คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้ยกปัญหาอายุความขึ้นเป็นประเด็นแห่งอุทธรณ์เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยถึงปัญหาอายุความไว้แต่ คำแก้อุทธรณ์มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองได้กล่าวแก้ว่าฟ้องโจทก์ ขาดอายุความด้วยเมื่อชั้น ชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้ กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีโจทก์ ขาดอายุความหรือไม่ไว้การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหา อายุความขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว โจทก์ฟ้อง เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดโดยมิได้กล่าวในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดในทางอาญาต่อโจทก์คดีจึง นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคสองไม่ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 12 พฤษภาคม 2529 จำเลย ทั้ง สอง ได้ นำเอา ข้อความ ที่ รู้ อยู่ แล้ว ว่า เป็นเท็จ ไป ยื่นฟ้อง โจทก์ กับพวก อีก 3 คนเป็น คดีอาญา ต่อ ศาลจังหวัด ตรัง ใน ข้อหา ว่า ร่วมกัน หมิ่นประมาทโดย กล่าวหา ว่า โจทก์ เป็น ผู้ ไข ข่าว ให้ สัมภาษณ์ แก่ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น ผู้ มี อิทธิพล ใน ตำแหน่ง หน้าที่ การงาน และ ร่วมกัน ฆ่า นาง ภาวิณี ศิริวรรณ ภรรยา ของ จำเลย ที่ 1 เพื่อ ประสงค์ จะ เอา ทรัพย์ ซึ่ง มีมูล ค่า ประมาณ10,000,000 บาท และ ว่า จำเลย ที่ 1 มี เมียน้อย และ เมีย เก็บ หลาย คนเป็นเหตุ ให้ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ได้ นำ ไป ตีพิมพ์ ลง ใน หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับ ลงวันที่ 4 เมษายน 2529 (ฉบับ แรก ) ซึ่ง เป็น ความเท็จ ทั้งสิ้น ความจริง โจทก์ ไม่เคย ไข ข่าว หรือ ให้ สัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวของ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ดังกล่าว เช่นนั้น เลย เมื่อ ศาลจังหวัด ตรัง ได้ ดำเนินการ ไต่สวน มูลฟ้อง และ พิจารณา แล้ว จึง มี คำสั่ง ให้ยก ฟ้องของ จำเลย ที่ 1 และ ของ จำเลย ที่ 2 ปรากฏ ตาม สำเนา รายงาน กระบวนพิจารณาของ ศาลจังหวัด ตรัง ใน คดี หมายเลขดำ ที่ 890/2529 และ เมื่อ วันที่9 กรกฎาคม 2529 จำเลย ทั้ง สอง ยัง ได้ ไป ยื่นฟ้อง โจทก์ กับพวก อีก 3 คนต่อ ศาลแขวง พระนคร เหนือ ใน คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 13203/2529 โดย ระบุข้อหา และ ฐาน ความผิด อย่างเดียว กัน กับ ที่ ฟ้อง ต่อ ศาลจังหวัด ตรังซึ่ง ใน ที่สุด ศาลแขวง พระนคร เหนือ ได้ มี คำสั่ง ให้ งดสืบพยาน ใน ชั้น ไต่สวนมูลฟ้อง และ มี คำสั่ง ให้ยก ฟ้อง ของ จำเลย ทั้ง สอง ใน คดี นี้ เมื่อ วันที่7 พฤศจิกายน 2529 การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง ดังกล่าว ทำให้ โจทก์ได้รับ ความเสียหาย โดย ต้อง เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การ เดินทาง และ ต้อง เสียค่าจ้าง ทนายความ ใน การ ต่อสู้ คดี รวมเป็น เงิน 20,000 บาท ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน 60,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย ทั้ง สองจะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง มิได้ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ตาม ที่ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ดำเนินคดี แก่ โจทก์ ต่อ ศาลจังหวัด ตรัง และศาลแขวง พระนคร เหนือ นั้น จำเลย ทั้ง สอง เชื่อ โดยสุจริต ว่า เมื่อ อ่านจาก หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับ ดังกล่าว แล้ว โจทก์ เป็น ผู้ ไข ข่าว และ เป็น ผู้ ให้ สัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์ ตาม ที่ หนังสือพิมพ์ ได้ ตีพิมพ์ จริงประกอบ กับ ตาม ข้อความ ใน หนังสือพิมพ์ ฉบับ ดังกล่าวก็ มี ข้อความ และ ความหมาย ทำนอง เดียว กับหนังสือ ร้องเรียน ของ โจทก์ ที่ ร้องเรียน ไป ยัง อธิบดีกรมตำรวจ ที่ กล่าวหา จำเลย ทั้ง สอง การกระทำ ของ โจทก์ ดังกล่าว จึง เป็นการ โต้แย้ง สิทธิ กระทำ ละเมิด จำเลย ทั้ง สอง ทำให้ จำเลย ทั้ง สอง ได้รับความเสียหาย จำเลย ทั้ง สอง จึง ต้อง ดำเนินคดี ดังกล่าว แก่ โจทก์เพื่อ เป็น การ ป้องกัน สิทธิ ของ จำเลย ทั้ง สอง ที่ ถูก โจทก์ ทำละเมิดทั้ง จำเลย ทั้ง สอง ยัง เชื่อ โดยสุจริต อีก ว่า การกระทำ ของ โจทก์ เป็นการกระทำ ที่ ต่าง กรรม ต่าง วาระ และ ต่าง ท้องที่ กัน เพราะ หนังสือพิมพ์ดังกล่าว ได้ นำ ออก จำหน่าย หรือ แพร่หลาย ให้ ประชาชน แต่ละ ท้องที่ไม่ใช่ กระทำ พร้อมกันการ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ดำเนินคดี แก่ โจทก์ ต่อ ศาล ทั้ง สอง ดังกล่าวจึง เป็น การ ใช้ สิทธิ โดยสุจริต มีอำนาจ ที่ จะ กระทำ ได้ไม่ เป็น การ ละเมิดต่อ โจทก์ โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ที่ จะ เรียกร้อง ค่าเสียหาย จาก จำเลยทั้ง สอง ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม เพราะ ไม่ได้ แสดง ให้ เห็น โดย แจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหา และ คำขอบังคับ เอา แก่ จำเลย แต่ละ คน เกี่ยวกับเรื่อง ค่าเสียหาย จำเลย ทั้ง สอง ไม่สามารถ จะ ให้การ ต่อสู้ คดี ได้ว่าจะ ต้อง รับผิด กัน เท่าใด เสีย ค่าจ้าง ทนายความ ใน การ ดำเนินคดี เป็นจำนวน เท่าใด เสีย ค่าใช้จ่าย อะไร บ้าง เป็น จำนวนเงิน เท่าใด หาก โจทก์เสียหาย จริง ก็ เสียหาย ไม่เกิน 1,500 บาท ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความเพราะ มิได้ ยื่นฟ้อง ดำเนินคดี แก่ จำเลย ทั้ง สอง ภายใน อายุความ 1 ปีใน มูลหนี้ ละเมิด ซึ่ง จะ ต้อง ยื่นฟ้อง ภายใน วันที่ 9 กรกฎาคม 2530ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย มา ว่า โจทก์ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทน ใน คดี ศาลจังหวัด ตรัง วันที่ 3 มิถุนายน 2529คดี ศาลแขวง พระนคร เหนือ วันที่ 22 สิงหาคม 2529 โจทก์ ฟ้องคดี นี้วันที่ 6 พฤศจิกายน 2530 คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายของ โจทก์ เป็น ข้อ แรก ว่า ที่ ศาลอุทธรณ์ ยก ปัญหา อายุความ ขึ้น วินิจฉัยนั้น ชอบ หรือไม่ เห็นว่า สำหรับ การ พิจารณา คดี ของ ศาลอุทธรณ์ใน เบื้องแรก นั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240บัญญัติ ว่า “ศาลอุทธรณ์ มีอำนาจ ที่ จะ วินิจฉัย คดี โดย เพียงแต่ พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสาร และ หลักฐาน ทั้งปวง ใน สำนวน ความซึ่ง ศาลชั้นต้น ส่ง ขึ้น มา ” ที่ โจทก์ อุทธรณ์ คัดค้าน คำพิพากษาศาลชั้นต้น นั้น แม้ โจทก์ มิได้ ยก ปัญหา อายุความ ขึ้น เป็น ประเด็นแห่ง อุทธรณ์ เนื่องจาก ศาลชั้นต้น มิได้ วินิจฉัย ถึง ปัญหา อายุความ ไว้แต่ คำแก้อุทธรณ์ มี ประเด็น ที่ จำเลย ทั้ง สอง ได้ กล่าว แก้ ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ด้วย เมื่อ ชั้น ชี้สองสถาน ศาลชั้นต้น ได้ กำหนด ข้อโต้เถียงของ คู่ความ ไว้ เป็น ประเด็น ใน ข้อ 4 ว่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ที่ ศาลอุทธรณ์ ยก ปัญหา อายุความ ขึ้น วินิจฉัย จึง พึง กระทำ ได้ โดยชอบไม่เป็น การ ฝ่าฝืน ต่อ บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดัง ที่ โจทก์ ฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ปัญหาข้อกฎหมาย ต่อไป ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า โจทก์ ฟ้องคดี โดยอาศัย มูล ความผิด ของ จำเลย ทั้ง สอง ใน ทางอาญา มิใช่ ละเมิด ต้อง นับอายุความ 10 ปี นั้น เห็นว่า ตาม คำฟ้อง นั้น โจทก์ บรรยาย ว่า จำเลยทั้ง สอง กระทำ ละเมิด ซึ่ง เป็น สภาพแห่งข้อหา ของ โจทก์ ส่วน ที่ โจทก์บรรยาย ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ นำ ข้อความ ที่ รู้ อยู่ แล้ว ว่า เป็น ความเท็จ ไปยื่นฟ้อง โจทก์ กับพวก เป็น คดีอาญา ใน ข้อหา ร่วมกัน หมิ่นประมาท ซึ่ง ฟ้องใน คดีอาญา ล้วน เป็น ความเท็จ ทั้งสิ้น นั้น ข้อความ ดังกล่าว เป็น เพียงข้ออ้าง ที่ โจทก์ อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา เพื่อ ให้ ฟ้อง สมบูรณ์ ขึ้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง เท่านั้นหา ได้ เป็น สภาพแห่งข้อหา ของ โจทก์ ไม่ ดังนั้น เมื่อ คำฟ้อง โจทก์เป็น การ เรียก ค่าเสียหาย ฐาน ละเมิด โดย มิได้ กล่าว ใน คำฟ้อง ว่า จำเลยทั้ง สอง ได้ กระทำผิด ใน ทางอาญา ต่อ โจทก์ คดี จึง นับ อายุความ ทางอาญาที่ ยาว กว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ไม่ได้คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ ใน มูลละเมิด 1 ปี นับแต่ วันที่ โจทก์รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา 448 วรรคแรก แล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share