คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ข้อหาความผิดฐานใช้เอกสารปลอมซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน3ปีต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมาศาลภายใน10ปีนับแต่วันกระทำความผิดจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่3ธันวาคม2527วันสุดท้ายของอายุความ10ปีคือวันที่3ธันวาคม2537แม้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้เมื่อวันที่28พฤศจิกายน2537และพนักงานสอบสวนอนุญาตให้จำเลยประกันตัวไปในวันเดียวกันต่อมาพนักงานอัยการขอผัดฟ้องโดยไม่ได้นำตัวจำเลยส่งศาลในวันที่30พฤศจิกายน2537แม้ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องได้ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลแล้วเพราะไม่มีการส่งมอบตัวจำเลยต่อศาลเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ในวันที่2ธันวาคม2537โดย ไม่ได้ ตัวจำเลยมาศาล จนกระทั่งถึงวันที่7มีนาคม2538อันเป็นวันนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ก็ไม่มีตัวจำเลยมาศาลคดีโจทก์จึงขาดอายุความ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2527 เวลา ใด ไม่ปรากฏ ชัดจำเลย ได้ ปลอม หนังสือ ยินยอม ทั้ง ฉบับ จำนวน 1 ฉบับ โดย จำเลย เป็นผู้ เขียน ลายมือชื่อ และ ชื่อสกุล ของ โจทก์ ทั้ง สี่ และ นางสาว เพ็ญศรี ลง ใน ช่อง ลงลายมือชื่อ ยินยอม ใน หนังสือ ยินยอม ดังกล่าว ซึ่ง โจทก์ทั้ง สี่ และ นางสาว เพ็ญศรี มิได้ ลงลายมือชื่อ ยินยอม แต่อย่างใด และ ต่อมา วันที่ 3 ธันวาคม 2527 เวลา กลางวัน จำเลย ได้ นำ หนังสือ ยินยอมดังกล่าว ไป ใช้ อ้าง และ แสดง ต่อ เลขาธิการ คณะกรรมการ อาหาร และ ยาเจ้าหน้าที่ กอง ควบคุม อาหาร และ ยา กระทรวงสาธารณสุข เพื่อ ขอรับอนุญาต ขาย ยาแผนปัจจุบัน ผลิต ยา แผน โบราณ ขาย ยา แผน โบราณ และ ขอต่อ ใบอนุญาต ขาย ยาแผนปัจจุบัน ประจำปี 2528 แทน นาง เอ้าสี มารดา ผู้ถึงแก่กรรม โดย จำเลย รู้ อยู่ แล้ว ว่า เป็น เอกสาร ที่ ปลอม ขึ้นโดย ประการ ที่ น่า จะ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สี่ นางสาว เพ็ญศรี และ ผู้อื่น ทำให้ เลขาธิการ คณะกรรมการ อาหาร และ ยา เจ้าหน้าที่กอง ควบคุม อาหาร และ ยา กระทรวงสาธารณสุข อนุญาต ให้ จำเลย ขาย ยาแผนปัจจุบันผลิต ยา แผน โบราณ ขาย ยา แผน โบราณ และ ต่อ ใบอนุญาต ขาย ยาแผนปัจจุบันประจำปี 2528 ได้ จน ถึง บัดนี้ ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264, 268, 91 ศาลชั้นต้น ตรวจ คำฟ้อง แล้ว มี คำสั่ง ว่า ข้อหา ปลอมเอกสาร โจทก์มิได้ ฟ้อง ภายใน อายุความ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) สิทธิ นำคดีอาญา มา ฟ้อง ย่อม ระงับ ไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(6) ยกฟ้อง เฉพาะ ข้อหา นี้ และ นัด ไต่สวน มูลฟ้อง เฉพาะ ข้อหาใช้ เอกสารปลอม ต่อมา ถึง วันนัด ไต่สวน มูลฟ้อง (วันที่ 7 มีนาคม 2538)ศาลชั้นต้น งด ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว พิพากษายก ฟ้อง โจทก์ ทั้ง สี่ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน โจทก์ ทั้ง สี่ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ จะ วินิจฉัย มี ว่าคดี โจทก์ ทั้ง สี่ ใน ข้อหา ความผิด ฐาน ใช้ เอกสารปลอม ขาดอายุความ หรือไม่เห็นว่า ข้อหา ความผิด ฐาน ใช้ เอกสารปลอม ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคหนึ่ง ประกอบ ด้วย มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ต้อง ระวางโทษจำคุก ไม่เกิน สาม ปี หรือ ปรับ ไม่เกิน หก พัน บาท หรือ ทั้ง จำ ทั้ง ปรับ นั้นมี กำหนด อายุความ ฟ้องร้อง 10 ปี นับแต่ วัน กระทำ ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) ที่ บัญญัติ ว่า “ใน คดีอาญา ถ้า มิได้ฟ้อง และ ได้ ตัว ผู้กระทำ ความผิด มา ยัง ศาล ภายใน กำหนด ดัง ต่อไป นี้นับแต่ วัน กระทำ ความผิด เป็น อัน ขาดอายุความ (3) สิบ ปี สำหรับ ความผิดต้อง ระวางโทษ จำคุก กว่า หนึ่ง ปี ถึง เจ็ด ปี ” เมื่อ ปรากฏว่า จำเลยต้อง หา ว่า กระทำ ความผิด ข้อหา ฐาน ใช้ เอกสารปลอม เมื่อ วันที่ 3ธันวาคม 2527 ต่อมา วันที่ 28 พฤศจิกายน 2537 เจ้าพนักงาน ตำรวจจับ จำเลย ได้ แล้ว ส่งมอบ จำเลย แก่ พนักงานสอบสวน ใน วันเดียว กัน นี้พนักงานสอบสวน อนุญาต ให้ จำเลย ประกันตัว ไป วันที่ 30 พฤศจิกายน 2537พนักงานอัยการ ขอผัดฟ้อง โดย ไม่ได้ นำตัว จำเลย ส่ง ศาล แม้ ศาลชั้นต้นจะ อนุญาต ให้ ผัดฟ้อง ได้ ก็ ตาม ก็ ยัง ถือไม่ได้ว่า ได้ ตัว จำเลย มา อยู่ ในอำนาจศาล แล้ว เพราะ ไม่มี การ ส่งมอบ ตัว จำเลย ต่อ ศาล ดังนั้น แม้โจทก์ ทั้ง สี่ จะ ยื่นฟ้อง จำเลย ใน วันที่ 2 ธันวาคม 2537 แต่ โจทก์ทั้ง สี่ ก็ ยัง ไม่ได้ ตัว จำเลย มา ศาล จน กระทั่ง วันที่ 7 มีนาคม 2538ซึ่ง เป็น วันนัด ไต่สวน มูลฟ้อง โจทก์ ทั้ง สี่ ก็ ไม่ได้ นำตัว จำเลย มา ศาลเมื่อ นับ ระยะเวลา ตั้งแต่ วันที่ จำเลย กระทำ ความผิด คือ วันที่ 3ธันวาคม 2527 วัน สุดท้าย ของ อายุความ 10 ปี ก็ คือ วันที่ 3 ธันวาคม2537 โจทก์ ทั้ง สี่ ก็ มิได้ ตัว จำเลย มา ส่งมอบ แก่ ศาล คดี โจทก์ ทั้ง สี่ใน ข้อหา ความผิด ฐาน ใช้ เอกสารปลอม จึง ขาดอายุความ ฟ้องร้องศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย คดี ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สี่ ฟังไม่ขึ้น ” พิพากษายืน

Share