คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่2ครอบครองรถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปแล้วนำไปขายให้จำเลยที่1แต่จำเลยที่2กลับปฏิเสธว่าไม่ได้ขายโดยไม่ยอมเปิดเผยความจริงว่าจำเลยที่2ได้รถยนต์คันดังกล่าวมาด้วยวิธีใดเป็นการผิดปกติวิสัยทั้งไม่มีหลักฐานเอกสารใดๆในการได้รถยนต์นั้นมาเชื่อว่าจำเลยที่2ได้รถยนต์มาโดยรู้ว่าถูกคนร้ายลักมาจึงมีความผิดฐานรับของโจรส่วนจำเลยที่1นั้นซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่2ตามราคาท้องตลาดและได้แสดงความบริสุทธิ์ตั้งแต่แรกโดยแจ้งความจริงแก่จ่าสิบตำรวจ จ.ในทันทีที่เข้าสอบถามอีกทั้งยังใช้รถอย่างเปิดเผยโดยไม่ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพรถเชื่อว่าจำเลยที่1ไม่รู้ว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาส่วนที่จำเลยที่1ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเรียกเอาเอกสารหลักฐานใดๆจากจำเลยที่2จนกระทั่งถูกจับคงเป็นเพราะเชื่อถือจำเลยที่2ซึ่งเป็นคู่เขยว่าเมื่อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่2ก็จะโอนทะเบียนรถให้รวมทั้งจำเลยที่2จะต่อทะเบียนรถประจำปีให้ด้วยไม่พอถือเป็นข้อพิรุธจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานรับของโจรแม้จำเลยที่1มิได้ฎีกาแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1กระทำความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่2ซึ่งฎีกาศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่1

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 268,335, 357, 83, 91
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคแรก จำคุก คน ละ 5 ปี ข้อหา อื่น ให้ยก
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลยที่ 2 ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ฐาน รับของโจร หรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า รถยนต์กระบะ ของกลาง เป็น ของ ผู้เสียหาย ถูก คนร้าย ลัก ไปโดย ไม่ทราบ ตัว คนร้าย ต่อมา เจ้าพนักงาน ตำรวจ พบ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าวอยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 แจ้ง ว่า ซื้อ รถยนต์กระบะคัน ดังกล่าว มาจาก จำเลย ที่ 2 แต่ จำเลย ที่ 2 ปฏิเสธ ว่า ไม่เคย ขาย รถให้ จำเลย ที่ 1 โจทก์ มี นาย อำนวย นิลกำแหง กำนัน ตำบล ท้องที่ เป็น พยาน เบิกความ ว่า พยาน เคย เห็น จำเลย ที่ 2 ขับ รถยนต์กระบะ ของกลางเข้า ไป ใน หมู่บ้าน ต่อมา ทราบ ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ขาย รถยนต์กระบะคัน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 นาย สนม เสริมสุขต่อ ผู้ใหญ่บ้าน ท้องที่ พยานโจทก์ อีก ปาก หนึ่ง เบิกความ ว่า พยาน เคย เห็น จำเลย ที่ 2ขับ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าว เข้า ไป ใน หมู่บ้าน และ บอก ขาย รถ แก่ คน ทั่วไปจำเลย ที่ 1 เป็น ผู้รับ ซื้อ ไว้ เห็นว่า ไม่มี เหตุอันควร สงสัยใน คำเบิกความ ของ พยาน ทั้ง สอง ซึ่ง เป็น พยาน คนกลาง จำเลย ที่ 1และ นาง มาลิน ภริยา จำเลย ที่ 1 ก็ เบิกความ ยืนยัน ว่า จำเลย ที่ 1ได้ ซื้อ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าว จาก จำเลย ที่ 2 นาง มาลิน เป็น พี่สาว ร่วม บิดา มารดา เดียว กัน กับ นาง ฉลอง ซึ่ง เป็น ภริยา ของ จำเลย ที่ 2จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จึง เป็น เพื่อน เขยหรือ คู่ เขยกัน ไม่ น่า สงสัยว่า จะ กลั่นแกล้ง ซัดทอด ปัด ความผิด ไป ให้ จำเลย ที่ 2 โดย ไม่เป็น ความจริงดัง ที่ ปรากฏ จาก คำเบิกความ ของ จ่าสิบตำรวจ จักรพงษ์ ผดุงเวียง ผู้ เข้า ไป ตรวจสอบ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าว ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ แจ้งให้ ทราบ ตั้งแต่ แรก ที่ พบ กัน ว่า จำเลย ที่ 1 ซื้อ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าวมาจาก จำเลย ที่ 2 กรณี จึง มิใช่ จำเลย ที่ 1 เพิ่ง จะ คิด แก้ตัว ใน ภายหลังนอกจาก นี้ นาย สนาม รงค์ทอง เพื่อนบ้าน พยาน ของ จำเลย ที่ 1 เบิกความ ว่า พยาน เห็น ขณะ จำเลย ที่ 1 ตกลง ซื้อ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าว จาก จำเลย ที่ 2โดย ขณะ นั้น พยาน นำ วัว ไป ผสมพันธุ์ ที่ บ้าน ของ จำเลย ที่ 1 ที่ จำเลย ที่ 2นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ ขาย รถ ให้ จำเลย ที่ 1 เห็นว่า เลื่อนลอยไม่มี น้ำหนัก ให้ น่าเชื่อ ถือ เชื่อ ได้ว่า จำเลย ที่ 2 ครอบครองรถยนต์กระบะ ของกลาง แล้ว นำ ไป ขาย ให้ จำเลย ที่ 1 แต่ จำเลย ที่ 2กลับ ปฏิเสธ ว่า ไม่ได้ ขาย โดย ไม่ยอม เปิดเผย ความจริง ว่า จำเลย ที่ 2ได้ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าว มา ด้วย วิธี ใด อันเป็น การ ผิดปกติ วิสัยของ บุคคล ผู้สุจริต ทั้ง ไม่มี หลักฐาน เอกสาร ใด ๆ ใน การ ได้ รถยนต์กระบะนั้น มา เป็น ข้อ พิรุธ เชื่อ ได้ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ รถยนต์กระบะ ของกลางมา โดย รู้ ว่า ถูก คนร้าย ลัก มา จำเลย ที่ 2 จึง มี ความผิด ฐาน รับของโจรฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น แต่ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1 นั้นปรากฏว่า จำเลย ที่ 1 ซื้อ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าว จาก จำเลย ที่ 2ตาม ราคา ท้องตลาด และ จำเลย ที่ 1 ได้ แสดง ความ บริสุทธิ์ ตั้งแต่ แรกโดย แจ้งความ จริง แก่ จ่าสิบตำรวจ จักรพงษ์ ใน ทันที ที่ เข้า สอบถาม จำเลย ที่ 1 ว่า จำเลย ที่ 1 ซื้อ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าว มาจากจำเลย ที่ 2 นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 1 ใช้ รถ อย่าง เปิดเผย โดย จอด ไว้ใน โรงรถ ริมถนน เป็นเหตุ ให้ จ่าสิบตำรวจ จักรพงษ์ ผ่าน ไป พบ เห็น และ เข้า ตรวจสอบ จับกุม ปรากฏว่า ไม่มี การ เปลี่ยนแปลง สภาพ รถ ดัง ที่นาย สมชาติ ประกาศวิทยา เจ้าของ รถ ผู้เช่าซื้อ รถยนต์กระบะ คัน นี้ มา และ นาย สมมิตร ประกาศวิทยา พี่ชาย ของ นาย สมชาติ เบิกความ ว่า เมื่อ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ให้ ไป ดู รถ ก็ จำ ได้ สภาพ รถ ยัง ไม่ เปลี่ยนแปลงดังนี้ เชื่อ ได้ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่รู้ ว่า เป็น รถ ที่ ถูก คนร้าย ลัก มามิฉะนั้น จำเลย ที่ 1 อาจ เปลี่ยนแปลง สภาพ รถ แล้ว ก็ ได้ จำเลย ที่ 1คง เชื่อถือ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น คู่ เขยว่า เมื่อ ผ่อนชำระ ราคา ครบถ้วนแล้ว จำเลย ที่ 2 ก็ จะ โอน ทะเบียน รถ ให้ รวมทั้ง จำเลย ที่ 2 จะ ต่อทะเบียน รถ ประจำปี ให้ ด้วย เป็นเหตุ ให้ ไม่ได้ ทำ สัญญา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือ เรียก เอา เอกสาร หลักฐาน ใด ๆ จาก จำเลย ที่ 2จน กระทั่ง ถูกจับ ไม่พอ ถือ เป็น ข้อ พิรุธ จำเลย ที่ 1 จึง ไม่มี ความผิดฐาน รับของโจร แม้ จำเลย ที่ 1 จะ มิได้ ฎีกา แต่เมื่อ ข้อเท็จจริงฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำ ความผิด และ เป็น ข้อเท็จจริง ที่ เกี่ยวพันกับ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง ฎีกา ขึ้น มา ศาลฎีกา จึง มีอำนาจ ยกฟ้อง จำเลย ที่ 1ให้ พ้น จาก ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185ประกอบ มาตรา 215 และ มาตรา 225 นอกจาก นี้ ที่ ศาลล่าง กำหนด โทษ จำคุกจำเลย ที่ 2 ถึง 5 ปี อันเป็น โทษสูง สุด นั้น ยัง ไม่ เหมาะสม แก่พฤติการณ์ แห่ง คดี เพราะ รถ หาย นาน ถึง 5 ปี จึง ได้ พบ จำเลย ที่ 2ครอบครอง รถ จำเลย ที่ 2 อาจ ไม่ได้ รับ รถ ไว้ เป็น มือ แรก จำเลย ที่ 2เป็น พนักงาน ของ บริษัท ไทยประสิทธิประกันภัย จำกัด ตาม หนังสือ แต่งตั้ง เอกสาร หมาย ล. 4 และ มี บุตร แล้ว 2 คน มีเหตุ สมควร ลงโทษจำเลย ที่ 2 ให้ เบาลง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง จำเลย ที่ 1 และ ให้ จำคุก จำเลย ที่ 2มี กำหนด 2 ปี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share