แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ตั้งแต่วันที่โจทก์ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา(6ธันวาคม2521)แต่หนี้ที่จะต้องชำระเงินคืนของจำเลยนั้นมิได้กำหนดไว้ตามวันแห่งปฏิทินจึงจะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าวมิได้กรณีจะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระเมื่อได้ความว่าโจทก์ทวงถามไปยังจำเลยมเื่อวันที่30มกราคม2522โดยให้จำเลยชำระภายใน7วันจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับจากวันที่ครบกำหนดในหนังสือทวงถามคือผิดนัดตั้งแต่วันที่7กุมภาพันธ์2522จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันดังกล่าว.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ทำ สัญญา ขาย ที่ดิน ให้ จำเลย และได้ นำ หนังสือ ค้ำประกัน การ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ของ ธนาคาร และ เงินประกัน การ รื้อถอน โรงเรือน และ อพยพ ผู้ อยู่ อาศัย ใน ที่ดิน ออก ไปอีก จำนวน 4,502,020.39 บาท มอบ ให้ จำเลย ยึดถือ ไว้ เพื่อ เป็น ประกันการ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ต่อมา โจทก์ ได้ ปฏิบัติ ครบถ้วน ถูกต้อง ตามสัญญา ซื้อขาย ทุก ประการ แล้ว จำเลย ไม่ ยอม คืน หนังสือ ค้ำประกัน และเงิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ โจทก์ ทั้ง สอง จึง มอบ ให้ ทนายความ มีหนังสือ ทวงถาม ปรากฏ ตาม ภาพถ่าย เอกสาร หมายเลข 6 ท้ายฟ้อง จำเลย มีหน้าที่ ต้อง คืน เงิน ประกัน การ รื้อถอน โรงเรือน และ อพยพ ข้างต้นนับแต่ วันที่ 6 ธันวาคม 2521 ซึ่ง เป็น วันที่ โจทก์ ทั้ง สอง รื้อถอนโรงเรือน และ อพยพ ผู้ อยู่ อาศัย เสร็จ ตาม สัญญา ทำ ให้ เสียหายเท่ากับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วัน ดังกล่าวถึง วันฟ้อง คิด เป็น เงิน 731,578.30 บาท ขอ ให้ จำเลย คืน หนังสือค้ำประกัน และ เงิน ประกัน พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา จำเลย มี สิทธิเรียก ค่าปรับ หรือ ค่าเสียหาย ได้ เป็น เงิน ถึง 10,500,000 บาท ซึ่งเป็น จำนวน เงิน สูงกว่า ที่ จำเลย ยึด ไว้ โจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่ มีสิทธิ เรียก ดอกเบี้ย จาก จำเลย และ ไม่ มี อำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย คืน หนังสือ ค้ำประกัน ธนาคาร กับ ชำระเงิน จำนวน 4,502,020.39 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ ขอ ให้ บังคับ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2521 จนถึง วัน ฟ้อง ด้วย
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปี จาก ต้นเงิน 4,502,020.39 บาท นับแต่ วันที่ 6 ธันวาคม2521 เป็นต้นไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ฎีกา ขอ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ยุติ ว่า โจทก์ ได้ รื้อถอน โรงเรือนและ อพยพ ผู้ อยู่ อาศัย เสร็จ ตาม สัญญา ตั้งแต่ วันที่ 6 ธันวาคม 2521 ก่อน วัน ดังกล่าว นั้น โจทก์ เคย โอนสิทธิ เรียกร้อง การ ขอ รับ เงินประกัน ตาม สัญญา จำนวน 4,502,020 บาท 39 สตางค์ ให้ บริษัท สินเอซียจำกัด บริษัท สินเอเซีย จำกัด ขอ รับ เงิน ดังกล่าว คืน จาก จำเลย แต่จำเลย ปฏิเสธ โดย อ้าง ว่า โจทก์ ยัง ผิด สัญญา อยู่ ปรากฏ รายละเอียดตาม หนังสือ ของ จำเลย ลง วันที่ 12 ตุลาคม 2521 บริษัท สินเอเซีย จำกัด จึง ได้ โอน สิทธิ เรียกร้อง กลับมา เป็น ของ โจทก์ ตามเดิม ตาม เอกสารหมาย จ.1 และ ได้ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ แล้ว ตาม เอกสาร หมาย จ.2 ต่อมาโจทก์ ได้ มอบหมาย ให้ ทนายความ ทวงถาม ให้ จำเลย คืนเงิน ประกัน แก่โจทก์ ตาม สำเนา เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 6 เห็น ว่า ตาม ข้อเท็จจริงที่ ยุติ ดังกล่าว โจทก์ มี สิทธิ ที่ จะ เรียก เงิน ประกัน ตาม สัญญาคืน ได้ ตั้งแต่ โจทก์ ปฏิบัติ ครบถ้วน ตาม สัญญา (วันที่ 6 ธันวาคม2521) แต่ หนี้ ที่ จะ ต้อง ชำระ เงิน คืน ของ จำเลย ตาม สัญญา นั้นมิได้ กำหนด ไว้ ตาม วัน แห่ง ปฏิทิน จึง จะ ถือว่า จำเลย ตก เป็น ผู้ผิดนัด ตั้งแต่ วัน ดังกล่าว มิได้ จำเลย จะ ต้อง รับผิด ชำระ ดอกเบี้ยก็ ต่อเมื่อ ตน ตก เป็น ผู้ ผิดนัด ถึงแม้ บริษัท สินเอเซีย จำกัดซึ่ง เคย ได้ รับ โอน สิทธิ เรียกร้อง จาก โจทก์ จะ ได้ เคย ทวงถาม ให้จำเลย ชำระ ก็ ตาม แต่ ก็ เป็น การ ทวงถาม ก่อน ที่ จำเลย มี หน้าที่จะ ต้อง ชำระ หนี้ จึง ถือ ว่า จำเลย ผิดนัด ตั้งแต่ บริษัท สินเอเซียจำกัด ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระ หนี้ มิได้ กรณี จะ ถือ ว่า จำเลย ตก เป็นผู้ ผิดนัด และ ต้อง รับผิด ใน เรื่อง ดอกเบี้ย ก็ ต่อเมื่อ หนี้ ถึงกำหนด และ โจทก์ ทวงถาม แล้ว จำเลย ไม่ ชำระ ข้อเท็จจริง ได้ ความ ตามหนังสือ ทวงถาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 6 ว่า โจทก์ ทวงถาม ไป ยังจำเลย เมื่อ วันที่ 30 มกราคา 2522โดย ให้ จำเลย ชำระ ภายใน 7 วัน จำเลย ไม่ ชำระ จึง ตก เป็น ผู้ ผิดนัดนับ จาก วัน ที่ ครบ กำหนด ใน หนังสือ ทวงถาม คือ ผิดนัด ตั้งแต่ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 จำเลย ต้อง ชำระ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ นับแต่ วันดังกล่าว ที่ ศาลอุทธรณ์ ให้ คิด ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันที่ 6 ธันวาคม2521 อัน เป็น วัน ที่ โจทก์ มี สิทธิ เรียกร้อง นั้น ไม่ ต้อง ด้วยความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ฟัง ขึ้น เป็น บางส่วน
พิพากษา แก้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ เป็น ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ให้โจทก์ ตั้งแต่ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522.