คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ลูกเดือยเป็นของจำเลยที่1ซึ่งได้วางประกันไว้กับโจทก์เมื่อจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ยินยอมให้โจทก์ขายลูกเดือยนั้นได้เงินที่ขายย่อมเป็นของจำเลยที่1ดังนั้นเมื่อจำเลยที่1เป็นหนี้ ค่าเช่า โกดังเก็บสินค้าของโจทก์จำเลยที่1ย่อมมีสิทธิที่จะให้ หักกลบลบหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341การนำเงิน750,000บาทที่โจทก์ขายลูกเดือยไปหักหนี้ค่าเช่าโกดังของบริษัท ส. นั้นยังไม่ถูกต้องเพราะบริษัท ส.เป็นบุคคลอีกคนหนึ่งแม้บริษัทดังกล่าวจะเป็นหนี้ค่าเช่าโกดังโจทก์แต่ก็ไม่ได้เป็น เจ้าหนี้โจทก์จึง หักกลบลบหนี้กับโจทก์ไม่ได้กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกขอชำระหนี้แทนการที่จำเลยที่2ได้มีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์หักหนี้ค่าเช่าโกดังของบริษัท ส. จำนวน346,875บาทเงินที่เหลือจำนวน403,125บาทให้ส่งคืนจำเลยที่1นั้นศาลชั้นต้นนำเงินจำนวนที่เหลือดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้ค่าเช่าโกดังโจทก์ที่จำเลยที่1เป็นหนี้อยู่จึงชอบแล้วเพราะ สิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวของจำเลยทั้งสอง ไม่มี ข้อต่อสู้แต่ประการใดเมื่อเงินจำนวนดังกล่าวได้มีการนำไปหักกลบลบหนี้แล้วจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องเสีย เบี้ยปรับนับถัดจากวันฟ้องอีก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัดมี จำเลย ที่ 2 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ จำเลย เป็น หนี้ ค่าเช่าคลังสินค้า แก่ โจทก์ ทั้งสิ้น 422,304.75 บาท โจทก์ ได้ มี หนังสือทวงถาม ไป ยัง จำเลย แล้ว จำเลย เพิกเฉย จำเลย จึง ต้อง รับผิดชำระ เบี้ยปรับ ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ค่าเช่า คลังสินค้าที่ จำเลย ผิดนัด ไม่ชำระ จน ถึง วันฟ้อง คำนวณ เป็น เบี้ยปรับ ทั้งสิ้นจำนวน 58,814.41 บาท รวมเป็น หนี้ เงิน ทั้งสิ้น 534,920.53 บาทขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 534,920.53 บาทแก่ โจทก์ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เบี้ยปรับ ใน อัตรา ร้อยละ 15ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 422,304.75 บาท และ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 50,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ค่า ฝากทรัพย์ใน อัตรา กระสอบ ละ 2 บาท เพราะ อัตรา ค่า ฝากทรัพย์ ดังกล่าว โจทก์มิได้ กำหนด ไว้ ใน สัญญา จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ก็ มิได้ ร่วม ตกลง ด้วยแต่ ถ้าหาก ศาล ฟัง ว่า โจทก์ มีสิทธิ เรียกเงิน ตาม ฟ้อง เป็น จำนวน เท่าใดแล้ว จำเลย ที่ 1 ขอ หักกลบลบหนี้ กับ โจทก์ เพราะ โจทก์ ได้ ยึดถือเงินสด จำนวน 750,000 บาท ไว้ แทน จำเลย ที่ 1 โดย โจทก์ ได้ มาจาก การขาย ลูก เดือยจำนวน 1,000 ตัน อันเป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ที่ 1 ไปโดย พลการ โจทก์ จึง ต้อง ชำระ ดอกเบี้ย ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ตั้งแต่ วัน รับ เงิน ค่า ลูก เดือยไว้ คือ วันที่ 18มีนาคม 2528 จน กระทั่ง ถึง วันที่ 27 ธันวาคม 2528 และ คิด ดอกเบี้ยใน อัตรา ดังกล่าว ใน ต้นเงิน 369,157 บาท ตั้งแต่ วันที่ 27 ธันวาคม2528 ถึง วัน หักกลบลบหนี้ ขอให้ หักเงิน ชำระหนี้ จาก เงิน จำนวนดังกล่าว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระเงิน 44,972.63 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน43,750 บาท และ เบี้ยปรับ ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน397,513.50 บาท นับ จาก วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แก่ โจทก์
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน478,580.50 บาท แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง มี ดังนี้
ประการ ที่ สาม จำเลย ทั้ง สอง มีสิทธิ หักกลบลบหนี้ เงิน ที่ โจทก์ขาย ลูก เดือย 1,000 ตัน เป็น เงิน 750,000 บาท กับ หนี้ ค่าเช่า โกดังได้ หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว ตาม หนังสือ ขอให้ หักเงิน ค่า ลูก เดือยตามเอกสาร หมาย จ. 84 ระบุ ว่า ลูก เดือยจำนวน 1,000 ตัน เป็น ของ จำเลยที่ 1 ซึ่ง ได้ วาง ประกัน ไว้ กับ โจทก์ เมื่อ จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2ยินยอม ให้ โจทก์ ขาย ลูก เดือยจำนวน ดังกล่าว ได้ เงิน ที่ ขาย ย่อม เป็นของ จำเลย ที่ 1 ดังนั้น เมื่อ จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ ค่าเช่า โกดังเก็บ สินค้า ของ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ย่อม มีสิทธิ ที่ จะ ให้ หักกลบลบหนี้ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า จำเลย ที่ 2 ได้ มี หนังสือ ตาม เอกสาร หมาย จ. 84 ให้ นำ เงิน 750,000บาท ที่ โจทก์ ขาย ลูก เดือยไป หักหนี้ ค่าเช่า โกดัง ของ บริษัท สหชัยวิสาหกิจ จำกัด นั้น ยัง ไม่ถูกต้อง เพราะ บริษัท สหชัยวิสาหกิจ จำกัด เป็น บุคคล อีก คนหนึ่ง แม้ บริษัท ดังกล่าว จะ เป็น หนี้ ค่าเช่า โกดัง โจทก์ แต่ ก็ ไม่ได้ เป็น เจ้าหนี้ โจทก์ จึงหักกลบลบหนี้ กับ โจทก์ ไม่ได้ กรณี เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1 ซึ่งเป็น บุคคลภายนอก ขอ ชำระหนี้ แทน ส่วน ที่ จำเลย ที่ 2 มี หนังสือ เอกสารหมาย จ. 83 ถึง โจทก์ อนุญาต ให้ โจทก์ ขาย ลูก เดือยแล้ว นำ เงิน มา หักเป็น ค่าเสียหาย ที่ บริษัท มหาจักรค้าข้าว จำกัด บอกเลิก การ ซื้อ ข้าว กับ โจทก์ นั้น เห็นว่า หนี้ ราย ดังกล่าว เป็น หนี้ ซึ่ง ไม่ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก มี ความผูกพัน ที่ จะ ต้อง ชำระหนี้แทน จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ต้อง รับผิด แต่ จำเลย ที่ 2 ได้ มี หนังสือลงวันที่ 29 กันยายน 2528 ถึง โจทก์ ให้ โจทก์ หักหนี้ ค่าเช่า โกดังของ บริษัท สหชัยวิสาหกิจ จำกัด จำนวน 346,875 บาท เงิน ที่ เหลือ จำนวน 403,125 บาท ให้ ส่ง คืน จำเลย ที่ 1 นั้น การ ที่ ศาลชั้นต้นนำ เงิน จำนวน ที่ เหลือ ดังกล่าว ไป หักกลบลบหนี้ ค่าเช่า โกดัง โจทก์ที่ จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ อยู่ จึง ชอบแล้ว เพราะ สิทธิเรียกร้อง เงินจำนวน ดังกล่าว ของ จำเลย ทั้ง สอง ไม่มี ข้อต่อสู้ แต่ ประการใด ฎีกาข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังขึ้น ส่วน การ ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ให้ จำเลยทั้ง สอง ต้อง เสีย เบี้ยปรับ ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน397,513.50 บาท นับ จาก วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลยทั้ง สอง ชำระ เงิน ให้ โจทก์ เสร็จสิ้น นั้น เห็นว่า เมื่อ เงิน จำนวนดังกล่าว ได้ มี การ นำ ไป หักกลบลบหนี้ แล้ว จำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่ต้องเสีย เบี้ยปรับ อีก ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน44,972.63 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีใน ต้นเงิน 43,750 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จนอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share