คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อโจทก์จำเลยท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะก็ต้องพิจารณาถึงข้อความที่ท้าต่อกันตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นจดไว้ปรากฏข้อความในตอนต้นว่า”พฤติการณ์ตามคำฟ้องที่ถึงกำหนดนัดไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทโจทก์ได้ไปทำการไถ่ถอนณสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครสาขา บางขุนเทียน แล้วแต่จำเลยไม่ไปตามนัด”จากข้อความดังกล่าวแสดงว่าจำเลยได้ยอมรับข้อเท็จจริงแล้วว่าได้มีการนัดวันที่ไปจดทะเบียนไถ่ถอนแล้วแต่จำเลยในฐานะผู้รับซื้อฝากไม่ไปตามนัดเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยรับกันต่อไปอีกว่าโจทก์ได้นำเงินจำนวน125,000บาทไปวางไว้ณสำนักงานวางทรัพย์กลางยิ่งเป็นข้อชี้ชัดว่าโจทก์มีเงินพร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลยตามสัญญาขายฝากในวันครบกำหนดนั้นแล้วถือว่าโจทก์ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ถอนได้ภายในกำหนดแล้วแต่เป็นเพราะจำเลยไม่ไปรับไถ่ตามพฤติการณ์แห่งข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันดังกล่าวฟังได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิขอไถ่ที่ดินพิพาทจากจำเลยภายในกำหนดเวลาตามสัญญาขายฝากแล้วแม้ผู้ขายฝากจะถอนเงินที่วางไว้คืนไปก็ไม่ใช่กรณีที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิไถ่คืนการวางทรัพย์เป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าผู้ขายฝากมีเงินมาทำการไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากกับผู้รับซื้อฝากแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 25 กันยายน 2530 โจทก์ ได้ ขายฝากที่ดินพิพาท ไว้ แก่ จำเลย ใน ราคา 125,000 บาท กำหนด ระยะเวลา 2 ปีเมื่อ ครบ กำหนด ไถ่ถอน จำเลย ผิดนัด ไม่ไป จดทะเบียน ไถ่ถอน การ ขายฝากโจทก์ จึง ได้ วางเงิน 125,000 บาท ไว้ ที่ สำนักงาน วางทรัพย์ กลางและ ได้ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ แล้วแต่ จำเลย ไม่ยอม รับ เงิน โจทก์ จึงได้ ขอรับ เงิน ที่ วาง ไว้ คืน ขอให้ บังคับ จำเลย รับ เงิน 125,000 บาทจาก โจทก์ และ ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน ไถ่ถอน การ ขายฝาก ที่ดินพิพาทคืน แก่ โจทก์ หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนาของ จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ มิได้ แจ้ง ว่า จะ ไถ่ถอน การ ขายฝากจำเลย จึง มิได้ ไป ที่ สำนักงาน ที่ดิน ใน วันที่ 25 กันยายน 2532โจทก์ ไม่ได้ บอก ให้ ทราบ ว่า ได้ วางทรัพย์ ไว้ ต่อ สำนักงาน วางทรัพย์ กลางทั้ง โจทก์ วางเงิน ค่าไถ่ ไว้ เพียง 3 วัน แล้ว ถอน คืน ไป เท่ากับได้ สละ สิทธิ์ ที่ จะ ไถ่ถอน การ ขายฝาก โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ นำ คดี มา ฟ้องจำเลย เพราะ โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ จำเลย แถลงรับ ข้อเท็จจริง กัน ว่าพฤติการณ์ คำฟ้อง ที่ ถึง กำหนด นัด ไถ่ถอน การ ขายฝาก ที่ดินพิพาทโจทก์ ได้ ไป ทำการ ไถ่ถอน ณ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานครสาขา บางขุนเทียน แล้ว แต่ จำเลย ไม่ไป ตาม นัด โจทก์ จึง ได้ นำ เงิน จำนวน 125,000 บาท ตาม จำนวน ที่ จะ ไถ่ถอน ไป แจ้ง ต่อ เจ้าพนักงานที่ สำนักงาน วางทรัพย์ กลาง กรุงเทพมหานคร และ วางเงิน ไว้ ใน วันเดียว กันเพื่อ ให้ จำเลย รับ ไป ต่อมา โจทก์ ได้ ถอนเงิน ที่ วาง ไว้ ดังกล่าวคืน ไป แล้ว โจทก์ จำเลย ท้า กัน เป็น ข้อ แพ้ ชนะ โดย ขอให้ ศาล วินิจฉัย ว่าตาม ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ถือได้ว่า โจทก์ ได้ ใช้ สิทธิ ไถ่ถอน การ ขายฝากภายใน กำหนด ระยะเวลา แล้ว หรือไม่ โดย โจทก์ จำเลย ขอ สละ ประเด็นตาม คำฟ้อง และ คำให้การ เดิม ทั้งหมด และ ต่าง ไม่สืบ พยาน
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย รับชำระหนี้ เงิน ไถ่ถอน การ ขายฝากจำนวน 125,000 บาท แล้ว ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน ไถ่ถอน การ ขายฝากที่ดินพิพาท คืน ให้ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา นี้แสดง เจตนา แทน จำเลย ใน การ จดทะเบียน ไถ่ถอน การ ขายฝาก ให้ แก่ โจทก์ ทันที
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า เมื่อ โจทก์ จำเลย ท้า กัน เป็น ข้อ แพ้ ชนะก็ ต้อง พิจารณา ถึง ข้อความ ที่ ท้า ต่อ กัน ตาม รายงาน กระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้น จด ไว้ ปรากฏ ข้อความ ใน ตอนต้น ว่า “พฤติการณ์ ตาม คำฟ้องที่ ถึง กำหนด นัด ไถ่ถอน การ ขายฝาก ที่ดินพิพาท โจทก์ ได้ ไป ทำการไถ่ถอน ณ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร สาขา บางขุนเทียน แล้ว แต่ จำเลย ไม่ไป ตาม นัด ” จาก ข้อความ ดังกล่าว แสดง ว่า จำเลย ได้ ยอมรับข้อเท็จจริง แล้ว ว่า ได้ มี การ นัด วันที่ ไป จดทะเบียน ไถ่ถอน แล้วแต่ จำเลย ใน ฐานะ ผู้รับ ซื้อ ฝาก ไม่ไป ตาม นัด เมื่อ พิเคราะห์ ประกอบ กับข้อเท็จจริง ที่ โจทก์ จำเลย รับ กัน ต่อไป อีก ว่า โจทก์ ได้ นำ เงิน จำนวน125,000 บาท ไป วาง ไว้ ณ สำนักงาน วางทรัพย์ กลาง ยิ่ง เป็น ข้อ ชี้ ชัด ว่าโจทก์ มี เงิน พร้อม ที่ จะ ชำระ ให้ แก่ จำเลย ตาม สัญญาขายฝาก ใน วัน ครบ กำหนดนั้น แล้ว ถือว่า โจทก์ ผู้ขายฝาก พร้อม ที่ จะ ไถ่ถอน ได้ ภายใน กำหนด แล้วแต่ เป็น เพราะ จำเลย ไม่ไป รับ ไถ่ ตาม พฤติการณ์ แห่ง ข้อเท็จจริง ที่โจทก์ จำเลย แถลงรับ กัน ดังกล่าว ฟังได้ ว่า โจทก์ ได้ ใช้ สิทธิ ขอ ไถ่ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ภายใน กำหนด เวลา ตาม สัญญาขายฝาก แล้ว ที่ จำเลยอ้างว่า โจทก์ ได้ ถอนเงิน คืน ไป จาก สำนักงาน วางทรัพย์ กลาง ถือว่าไม่ได้ วางทรัพย์ จึง ถือไม่ได้ว่า โจทก์ ได้ ใช้ สิทธิ ไถ่ คืน การ ขายฝากภายใน กำหนด แล้ว นั้น เห็นว่า การ ไถ่ ทรัพย์ที่ขายฝาก ไม่ใช่ ให้ ไป ทำที่ สำนักงาน วางทรัพย์ แต่ ต้อง ไป ทำการ จดทะเบียน ไถ่ ทรัพย์สินซึ่ง ขายฝาก ไว้ ณ สำนักงาน ที่ดิน เมื่อ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า โจทก์ผู้ขายฝาก ได้ ไป ยัง สำนักงาน ที่ดิน เพื่อ ใช้ สิทธิ ไถ่ ทรัพย์ โดย มี เงินพร้อม ที่ จะ ชำระ แก่ จำเลย ตาม สัญญาขายฝาก แล้ว ก็ ถือได้ว่า โจทก์ได้ ขอ ใช้ สิทธิ ไถ่ คืน โดยชอบ แล้ว การ จะ นำ เงิน ไป วาง ที่ สำนักงานวางทรัพย์ กลาง หรือ วาง แล้ว ถอน คืน ไป ก็ มิใช่ กรณี ที่ นำ มา วินิจฉัย ว่าโจทก์ ไม่ได้ ใช้ สิทธิ ไถ่ คืน การ วางทรัพย์ เป็น เพียง หลักฐาน แสดง ว่าผู้ขายฝาก มี เงิน มา ทำการ ไถ่ คืน ทรัพย์สิน ที่ ขายฝาก กับ ผู้รับ ซื้อ ฝากรูปคดี ตาม คำท้า ฟังได้ ว่า โจทก์ ได้ ใช้ สิทธิ ขอ ไถ่ ที่ดินพิพาท จาก จำเลยภายใน กำหนด เวลา ตาม สัญญาขายฝาก โดยชอบ แล้ว ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์ นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share