คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยรับราชการเป็นทหารอากาศเข้าทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่12กรกฎาคม2514ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518ออกใช้บังคับมีผลให้จำเลยซึ่งรับราชการเป็นทหารอากาศขาดคุณสมบัติในการเป็นพนักงานของโจทก์แต่โจทก์คงให้ปฏิบัติงานอยู่กับโจทก์ตลอดมาจนถึงวันที่28กันยายน2520โจทก์จึงสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติงานในวันที่29กันยายน2520จำเลยก็ได้ยื่นใบลาออกต่อโจทก์และมีผลตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2520ช่วงเวลาก่อนวันที่29กันยายน2520นั้นจำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่โจทก์มิได้สั่งเลิกจ้างจำเลยแต่อย่างใดซึ่งในเดือนกันยายน2520โจทก์ก็จ่ายเงินเดือนประจำเดือนนั้นให้จำเลยด้วยถือได้ว่าเป็นการให้เงินเดือนตอบแทนการทำงานของจำเลยในฐานะที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ฉะนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิได้เงินโบนัสเงินค่าครองชีพเงินค่ายังชีพเงินค่ารักษาพยาบาลเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้าตามระเบียบและข้อบังคับของโจทก์ในฐานะที่เป็นค่าจ้างตอบแทนการที่จำเลยทำงานให้โจทก์ตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่การขาดคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518เป็นเพียงเหตุที่โจทก์จะเลิกจ้างจำเลยได้ถ้าโจทก์ยังไม่เลิกจ้างจำเลยอยู่ตราบใดจำเลยก็ยังเป็นพนักงานของโจทก์อยู่โจทก์จึงเรียกเงินต่างๆดังกล่าวข้างต้นคืนจากจำเลยไม่ได้. จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา180เท่านั้นเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจากจำเลยได้.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 12 กรกฎาคม 2514 จำเลย ซึ่ง เป็นข้าราชการ ทหารอากาศ และ ยัง มิได้ ลาออก ได้ เข้า ทำงาน เป็น พนักงานของ โจทก์ จำเลย ไม่ ได้ แจ้ง ฐานะ การ เป็น ข้าราชการ ให้ โจทก์ ทราบต่อมา ได้ มี พระราชบัญญัติ คุณสมบัติ มาตรฐาน สำหรับ กรรมการ และพนักงาน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ออก ใช้ บังคับ ซึ่ง มี บทบัญญัติ กำหนดคุณสมบัติ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ ว่า ต้อง ไม่ เป็น ข้าราชการ หาก ผู้ใดขาด คุณสมบัติ หรือ มี ลักษณะ ต้องห้าม ดังกล่าว ให้ พ้น จาก ตำแหน่งพนักงาน ของ โจทก์ เมื่อ พ้น กำหนด หนึ่ง เดือน นับแต่ วัน ที่พระราชบัญญัติ นี้ ใช้ บังคับ ซึ่ง จำเลย ต้อง พ้น จาก ตำแหน่ง และ สภาพการ เป็น พนักงาน ของ โจทก์ ตั้งแต่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2518 แต่จำเลย ยัง คง ปฏิบัติ งาน อยู่ กับ โจทก์ เรื่อย มา จน โจทก์ ได้ ให้จำเลย หยุด ปฏิบัติ งาน ตั้งแต่ วันที่ 29 กันยายน 2520 ระหว่าง จำเลยยัง ปฏิบัติ งาน อยู่ จำเลย ได้ รับ เงิน ค่า สวัสดิการ เงิน ช่วยเหลือใน การ คลอด บุตร เงิน ช่วยเหลือ บุตร เงิน ช่วยเหลือ ค่า รักษา พยาบาลเงิน ช่วยเหลือ ค่ากระแสไฟฟ้า เงิน ช่วยเหลือ ค่าครองชีพ เงิน ค่ายังชีพ เงินโบนัส ไป รวม 24,918.56 บาท จาก โจทก์ โจทก์ ได้ นำ เงินเดือน ที่จำเลย มี สิทธิ ได้ รับ ใน เดือน กันยายน 2520 เงิน ค่า ล่วงเวลา และค่า ปฏิบัติ งาน กะมา หัก ชดใช้ คงเหลือ เงิน ที่ จำเลย ต้อง ชดใช้ คืน21,908.01 บาท จำเลย ได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ผ่อน ชำระ เงินจำนวน ดังกล่าว และ ผ่อนชำระ ไป แล้ว บาง งวด คงเหลือ จำนวน 20,908.01บาท ขอ ให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน นั้น พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เพิ่ง มา เลิกจ้าง จำเลย เมื่อ 29 กันยายน2520 ก่อนหน้า นั้น ต้อง ถือ ว่า จำเลย ปฏิบัติ ตาม สัญญา จ้าง มา โดยตลอด โดย ถูกต้อง จำเลย มี สิทธิ ได้ รับ เงิน ตาม ฟ้อง จาก โจทก์
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ จำเลย คืน เงิน 20,039.66 พร้อม ดอกเบี้ยแก่ โจทก์
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า เงิน โบนัส เงิน ค่าครองชีพ เงิน ค่ายังชีพ เงิน ค่ารักษาพยาบาล เงิน ช่วยเหลือ ค่าไฟฟ้าจำนวน 20,039.66 บาท เป็น เงิน ที่ จำเลย ต้อง จ่าย คืน ให้ โจทก์หรือไม่ เห็นว่า จำเลย เข้า ทำงาน เป็น ลูกจ้าง โจทก์ ตั้งแต่ วันที่12 กรกฎาคม 2514 ต่อมา ได้ มี พระราชบัญญัติ คุณสมบัติ มาตราฐาน สำหรับกรรมการ และ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ออก ใช้ บังคับ โจทก์ คง ให้จำเลย ปฏิบัติงาน อยู่ กับ โจทก์ ตลอดมา จน ถึง วันที่ 28 กันยายน 2520โจทก์ จึง สั่ง ให้ จำเลย หยุด ปฏิบัติ งาน ใน วันที่ 29 กันยายน 2520จำเลย ก็ ได้ ยื่น ใบลาออก ต่อ โจทก์ และ มี ผล ตั้งแต่ วันที่ 1ตุลาคม 2520 ข้อเท็จจริง ตาม ที่ โจทก์ จำเลย นำสืบ รับ กัน ว่า ในช่วงเวลา ก่อน วันที่ 29 กันยายน 2520 นั้น จำเลย ยัง เป็น ลูกจ้าง ของโจทก์ อยู่ โจทก์ มิได้ สั่ง เลิกจ้าง จำเลย แต่ อย่างใด ซึ่ง ในเดือน กันยายน 2520 โจทก์ ก็ จ่าย เงินเดือน ประจำเดือน กันยายน 2520ให้ จำเลย ด้วย ถือ ได้ ว่า เป็น การ ให้ เงินเดือน ตอบแทน การ ทำงานของ จำเลย ใน ฐานะ ที่ จำเลย ยัง เป็น ลูกจ้าง ของ โจทก์ อยู่ ฉะนั้นจำเลย ย่อม มี สิทธิ ได้ เงิน โบนัส เงินค่าครองชีพ เงินค่ายังชีพเงินค่ารักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือ ค่าไฟฟ้า ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ ของโจทก์ ใน ฐานะ ที่ เป็น ค่าจ้าง ตอบแทน การ ที่ จำเลย ทำงาน ให้ โจทก์ใน ช่วงเวลา ดังกล่าว อยู่ ข้ออ้าง ของ โจทก์ ที่ ว่า จำเลย รับราชการเป็น ทหารอากาศ ย่อม ขาด คุณสมบัติ และ พ้น สภาพ การ เป็น พนักงาน ของโจทก์ และ จำเลย ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ยินยอม คืน เงิน สวัสดิการ ให้แก่ โจทก์ นั้น เห็นว่า การ ขาดคุณสมบัติ ดังกล่าว ตาม พระราชบัญญัติคุณสมบัติ มาตรฐาน สำหรับ กรรมการ และ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518มาตรา 9 เป็น เหตุ ที่ โจทก์ จะ เลิกจ้าง จำเลย ได้ ถ้า โจทก์ ยัง ไม่เลิกจ้าง จำเลย อยู่ ตราบใด จำเลย ก็ ยัง เป็น พนักงาน ของ โจทก์ อยู่โจทก์ จึง เรียก เงิน ต่างๆ ดังกล่าว คืน จาก จำเลย ไม่ ได้ ส่วนหนังสือ รับสภาพหนี้ ที่ จำเลย ทำ ให้ ไว้ แก่ โจทก์ ก็ มี ผล ทำ ให้อายุความ สะดุด หยุดลง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 180เท่านั้น เมื่อ ไม่ มี มูลหนี้ ที่ จำเลย ต้อง รับผิด ชำระ คืน ให้ แก่โจทก์ โจทก์ ย่อม ไม่ มี สิทธิ เรียกร้อง เงิน ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้นั้น ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลย คืน เงิน สวัสดิการ ต่างๆพร้อม ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ ไม่ ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของจำเลย ฟัง ขึ้น
พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share