คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันชีวิตแต่กลับไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นการอ้างความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขายที่ดินให้จำเลยเท่ากับปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้สำคัญผิดหาได้ยกเรื่องกลฉ้อฉลขึ้นต่อสู้ไม่แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่าเป็นการแสดงเจตนาเพราะกลฉ้อฉลและจำเลยฎีกาในทำนองเดียวกันก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยอาศัยความไม่รู้หนังสือตลอดจนความสูงอายุและความไม่รู้ระเบียบต่างๆของทางราชการของโจทก์ทำให้โจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลยทั้งที่โจทก์มีเจตนาจะโอนขายที่ดินเฉพาะส่วนเท่านั้นหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทจึงเกิดโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา119เดิม(มาตรา156ที่แก้ไขใหม่)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ตกลง ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8997 บางส่วนเนื้อที่ 9 ไร่ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ใน ราคา 45,000 บาท แต่ จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 ได้ หลอกลวง ด้วย การแสดง ข้อความ อันเป็นเท็จหรือ ปกปิด ข้อความ จริง อันควร บอก ให้ แจ้ง โดย จำเลย ที่ 1 หลอกลวงโจทก์ ว่า จะ พา โจทก์ ไป ทำ สัญญาประกันชีวิต แต่ แล้ว กลับ พา โจทก์ ไปที่ สำนักงาน ที่ดิน และ ให้ โจทก์ พิมพ์ ลาย นิ้วมือ ใน สัญญาซื้อขาย ที่ดินทั้ง แปลง ใน ราคา 215,000 บาท โดย โจทก์ ไม่ทราบ ว่า เป็น สัญญาซื้อ ขาย และ จำเลย ที่ 3 ทำ บันทึก รับรอง ว่า มี การ ชำระ เงิน ครบถ้วน แล้วเป็นเหตุ ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน หลงเชื่อ จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดิน ดังกล่าวให้ แก่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไป ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 8997 เนื้อที่ 32 ไร่2 งาน 83 ตารางวา คืน แก่ โจทก์ หาก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่ยอมไป จดทะเบียน โอน ก็ ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดงเจตนา ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 หาก การ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังกล่าว ไม่อาจ กระทำ ได้ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชดใช้ราคา ที่ดิน คืน แก่ โจทก์ เป็น เงิน 202,786.50 บาท พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า โจทก์ ได้ ขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง แปลงซึ่ง มี เนื้อที่ 41 ไร่ 2 งาน 83 ตารางวา ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2หาใช่ แบ่ง ขาย ให้ เพียง บางส่วน ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ไม่ หลังจาก นั้น จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ครอบครอง ทำประโยชน์ มา เป็น เวลา 7 ปี เศษ แล้วและ ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 โจทก์ ถึงแก่กรรมนาย ทอง มีบุญตา ทายาท ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8997 ตำบล ดงมูลเหล็ก อำเภอ เมืองเพชรบูรณ์ จังหวัด เพชรบูรณ์ เนื้อที่ 32 ไร่ 2 งาน 83 ตารางวา แก่ โจทก์ หาก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่ไป จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แสดง เจตนา แทน จำเลย ทั้ง สองหาก โอน กรรมสิทธิ์ ไม่ได้ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ใช้ ราคา ที่ดิน202,786.50 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2531 เป็นต้น ไป จนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี สำหรับ จำเลย ที่ 3 ยุติ ลงตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 คง ขึ้น มา สู่ การ พิจารณา ของ ศาลฎีกาเฉพาะ โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่าที่ดินพิพาท เป็น ที่ดิน มี โฉนด มี เนื้อที่ ทั้ง แปลง 41 ไร่ 2 งาน 83ตารางวา มี คันนา กั้น จาก เหนือ ไป ใต้ แบ่ง ออก เป็น 4 แปลง โดย แปลง ที่ 1อยู่ ทาง ด้าน ทิศตะวันออก ส่วน แปลง ที่ 2 ถึง แปลง ที่ 4 อยู่ ถัด มา ทางทิศตะวันตก ตามลำดับ เดิม โจทก์ ขาย ที่ดิน แปลง ที่ 1 เนื้อที่ 9 ไร่ให้ จำเลย ที่ 1 ใน ราคา 45,000 บาท โดย ไม่ได้ ทำ เป็น หนังสือตกลง จะ จดทะเบียน โอน กัน ภายหลัง แต่ ก็ ได้ มอบ การ ครอบครอง และ ชำระ ราคากัน แล้ว ต่อมา วันที่ 12 มีนาคม 2524 สำนักงาน ที่ดิน ได้ จดทะเบียนโอน ขาย ที่ดิน ทั้ง แปลง ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 คดี มี ปัญหา ตาม ที่จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 มี เจตนาทำ สัญญาซื้อขาย ที่ดินพิพาท จำนวน 32 ไร่ 2 งาน 83 ตารางวา หรือไม่จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา ข้อ แรก ว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัยเรื่อง สำคัญผิด ใน สิ่ง ซึ่ง เป็น สาระสำคัญ แห่ง นิติกรรม นอกประเด็น เพราะเป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ว่ากล่าว กัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น นั้น เห็นว่า ข้ออ้างที่ เป็น หลักแห่งข้อหา ของ โจทก์ คือ จำเลย ที่ 1 หลอก ให้ โจทก์ ไป ทำ สัญญาประกันชีวิต แต่ แล้ว กลับ ไป ทำ สัญญาซื้อขาย ที่ดิน จึง เป็น การ สำคัญผิดใน ลักษณะ ของ นิติกรรม ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 หยิบยก ประเด็นนี้ ขึ้น วินิจฉัย หา เป็น การ นอกประเด็น ไม่ ฎีกา จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา ต่อไป ว่า การ ทำ สัญญาซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท นั้น เป็น การแสดง เจตนา เพราะ กลฉ้อฉล ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ ไม่เป็น การแสดง เจตนา ด้วย สำคัญผิด ใน สิ่ง ซึ่ง เป็น สาระสำคัญ แห่ง นิติกรรม ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 นั้น เห็นว่าตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ ดัง ที่ ได้ กล่าว มา แล้ว ว่า เป็น การ อ้าง ความ สำคัญผิดใน สิ่ง ซึ่ง เป็น สาระสำคัญ แห่ง นิติกรรม และ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ต่อสู้ ว่า โจทก์ ได้ ขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง แปลง ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2เท่ากับ ปฏิเสธ ว่า โจทก์ ไม่ได้ สำคัญผิด หา ได้ ยก เรื่อง กลฉ้อฉล ขึ้นต่อสู้ ไม่ ดังนั้น ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา ว่าการ ทำ สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท เป็น การแสดง เจตนา เพราะ กลฉ้อฉล แม้ ศาลชั้นต้น จะวินิจฉัย ให้ ก็ ถือไม่ได้ว่า เป็น ข้อ ที่ ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ในศาลชั้นต้น ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ใน ปัญหา ข้อ นี้ ให้ ส่วน ปัญหา ที่ว่าการ ซื้อ ขายที่ดินพิพาท นี้ เป็น การแสดง เจตนา ด้วย สำคัญผิด ใน สิ่ง ที่ เป็น สาระสำคัญแห่ง นิติกรรม หรือไม่ นั้น พฤติการณ์ ต่าง ๆ ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2เป็นเหตุ ให้ เชื่อ ได้ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ อาศัย ความ ไม่รู้ หนังสือ ตลอดจน ความ สูง อายุ และ ความ ไม่รู้ ระเบียบ ต่าง ๆ ของ ทางราชการ ของ โจทก์แล้ว จัดการ ให้ โจทก์ ทำนิติกรรม ซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง แปลง โดย ไม่มีเจตนา ที่ จะ กระทำ เช่นนั้น จริง โจทก์ คง มี เจตนา จะ โอน ขาย ที่ดิน เฉพาะ ส่วนจำนวน 9 ไร่ เท่านั้น หนังสือ สัญญา ขาย ที่ดินพิพาท จึง เกิด โดย สำคัญผิดใน สิ่ง ซึ่ง เป็น สาระสำคัญ แห่ง นิติกรรม อัน ตกเป็น โมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 เดิม (มาตรา 156ที่ แก้ไข ใหม่ ) ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย ฎีกา จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share