คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผลของการที่โจทก์ทั้งสามไม่ได้รับการปรับอัตราค่าจ้างประจำปีรวม3ปีติดต่อกันเป็นการหย่อนสมรรถภาพในการทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานใหม่เป็นเงื่อนไขที่มีอยู่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเดิมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานใหม่ได้เปลี่ยนแปลงเพียงเงื่อนเวลาการไม่ได้รับการปรับค่าจ้างประจำปีจากเดิมซึ่งไม่จำต้องเป็น3ปีขยายมาเป็นมีกำหนดระยะเวลา3ปีเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่เป็นคุณแก่ลูกจ้างมีผลบังคับใช้ได้ทันทีเมื่อผลการปฏิบัติงานของโจทก์ทั้งสามเข้าเกณฑ์ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานใหม่จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้มิได้เป็นการบังคับย้อนหลังหรือไม่เป็นคุณแก่โจทก์ทั้งสามเป็นการไม่เป็นธรรมแต่ประการใด

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สาม สำนวน ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สาม เป็น ลูกจ้าง จำเลย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2537 จำเลย มี คำสั่ง เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สาม โดย ให้เหตุผล ว่า โจทก์ ทั้ง สาม ทำงาน กับ จำเลย โดย เงินเดือน ไม่ได้ รับการ ปรับ ขึ้น ประจำปี เป็น เวลา 3 ปี ติดต่อ กัน และ ยัง มี การ หยุดงาน เกินกว่า ที่ บริษัท กำหนด จน ไม่สามารถ ที่ จะ ปรับ เงินเดือน ใน ปี พ.ศ. 2537ได้ จึง เห็นสมควร เลิกจ้าง โดย ยินดี จ่ายเงิน ค่าชดเชย และ สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า เป็น เงิน 41,200 บาท 35,452 บาท และ39,568 บาท ตามลำดับ ซึ่ง การ เลิกจ้าง ดังกล่าว ไม่เป็นธรรม ต่อโจทก์ ทั้ง สาม เนื่องจาก เมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม 2535 จำเลย ได้ ประกาศใช้ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ใหม่ ให้ มีผล ใช้ บังคับ ตั้งแต่ วันที่1 มกราคม 2536 เป็นต้น ไป ซึ่ง ใน บทที่ 8 ข้อ ที่ 24 ระบุ ว่า ลูกจ้างที่ ไม่ได้ ปรับ อัตรา ค่าจ้าง ประจำปี เป็น เวลา 3 ปี ติดต่อ กัน ถือว่าหย่อนสมรรถภาพ ใน การ ทำงาน ซึ่ง จำเลย มีสิทธิ เลิกจ้าง ได้ แต่ การหย่อนสมรรถภาพ ใน การ ทำงาน ดังกล่าว ต้อง นับ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2537และ สิ้นสุด ปี พ.ศ. 2538 ข้อบังคับ ดังกล่าว มี ลักษณะ เป็น โทษ ต่อ ลูกจ้างซึ่ง นายจ้าง จะ ออก ข้อบังคับ ดังกล่าว ไม่ได้ โจทก์ ทั้ง สาม ทำงาน กับ จำเลยมา 6 ปี 9 เดือน 6 ปี 2 เดือน และ 7 ปี 6 เดือน ตามลำดับ จึง ขอ คิดค่าเสียหาย เท่ากับ ค่าจ้าง 2 เดือน ต่อ การ ทำงาน 1 ปี เป็น เงิน78,400 บาท 50,000 บาท และ 84,000 บาท ขอให้ เพิกถอน คำสั่งเลิกจ้าง ลงวันที่ 30 มีนาคม 2537 ให้ จำเลย รับ โจทก์ ทั้ง สาม กลับ เข้าทำงาน ใน ตำแหน่ง เดิม พร้อม ทั้ง จ่าย ค่าเสียหาย เท่ากับ ค่าจ้าง นับแต่วันที่ เลิกจ้าง จน ถึง วันที่ รับ โจทก์ ทั้ง สาม กลับ เข้า ทำงาน ใน ตำแหน่งหน้าที่ เดิม หาก จำเลย ไม่สามารถ รับ โจทก์ ทั้ง สาม กลับ เข้า ทำงาน ในตำแหน่ง เดิม ได้ ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า 41,200 บาท 35,452 บาท และ 39,568 บาท และ ค่าเสียหายจำนวน 78,400 บาท 50,000 บาท และ 84,000 บาท แก่ โจทก์ ทั้ง สาม
จำเลย ทั้ง สาม สำนวน ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สาม เนื่องจาก โจทก์ ทั้ง สาม มี อัตรา การ หยุดงาน เนื่องจาก ป่วย เกินกว่า 30 วันระหว่าง ปี พ.ศ. 2534-2536 ซึ่ง ถือว่า โจทก์ ทั้ง สาม หย่อนสมรรถภาพ ในการ ทำงาน ทำให้ ไม่สามารถ ขึ้น เงินเดือน ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สาม ได้ จำเลยได้ แจ้ง ให้ โจทก์ ทั้ง สาม ปรับปรุง การ ทำงาน มา โดย ตลอด แต่ โจทก์ ทั้ง สามก็ ไม่ได้ แก้ไข ให้ ดี ขึ้น การ ที่ โจทก์ ทั้ง สาม แปล ความ ว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับ การ ทำงาน ใหม่ จะ มีผล ก็ ต่อเมื่อ โจทก์ ทั้ง สาม คน ได้ ลาป่วยหยุดงาน และ ไม่ได้ ปรับ อัตรา ค่าจ้าง ประจำปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536ถึง ปี พ.ศ. 2538 ก่อน จึง จะ เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สาม ได้ นั้น เป็น การ แปลความ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน เพื่อ ประโยชน์ ของ โจทก์ อัน ทำให้จำเลย เสียหาย มาก ยิ่งขึ้น ซึ่ง ไม่เป็นธรรม แก่ จำเลย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า เดิม ข้อบังคับ เกี่ยวกับการ ทำงาน ใน เรื่อง การ เลิกจ้าง ลูกจ้าง ที่ ไม่ได้ รับ การ ปรับ อัตรา ค่าจ้างประจำปี ยัง ปฏิบัติ ลัก ลั่น กัน 1 ปี 2 ปี หรือ 3 ปี บ้าง เมื่อ เปลี่ยนข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ใหม่ เป็น 3 ปี ย่อม เป็น ผล ดี ใช้ บังคับ ได้ไม่ต้อง รอ จน ถึง ปี พ.ศ. 2538 จำเลย จึง เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สาม ตามข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ใหม่ เพราะ เหตุ ที่ โจทก์ ทั้ง สาม ขาดงาน จนไม่ได้ รับ การ ปรับ อัตรา ค่าจ้าง ประจำปี เป็น เวลา 3 ปี ติดต่อ กัน ได้ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ เงิน จำนวน อื่น ตาม ฟ้อง แก่ โจทก์ ทั้ง สามพิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สาม อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ที่ โจทก์ ทั้ง สาม อุทธรณ์ว่า จำเลย นำ เอา ผล ของ การ ที่ โจทก์ ทั้ง สาม ไม่ได้ รับ การ ปรับ อัตรา ค่าจ้างประจำปี รวม 3 ปี ติดต่อ กัน ก่อน วันที่ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ใหม่ของ จำเลย มีผล บังคับ ใช้ เป็นเหตุ ใน การ เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สาม เป็น การไม่ใช่ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ใหม่ ที่ เป็น คุณ แก่ โจทก์ เป็น การเลิกจ้าง ที่ ไม่เป็นธรรม นั้น เห็นว่า ผล ของ การ ที่ โจทก์ ทั้ง สาม ไม่ได้รับ การ ปรับ อัตรา ค่าจ้าง ประจำปี รวม 3 ปี ติดต่อ กัน เป็น การ หย่อ นสมรรถภาพ ใน การ ทำงาน ตาม ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ใหม่ นั้นเป็น เงื่อนไข ที่ มี อยู่ ตาม ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน เดิม อยู่ แล้วหาใช่ เงื่อนไข ที่ กำหนด ขึ้น ใหม่ ไม่ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ใหม่ ได้เปลี่ยนแปลง เพียง เงื่อนเวลา การ ไม่ได้ รับ การ ปรับ ค่าจ้าง ประจำปี จากเดิม ซึ่ง ไม่จำต้อง เป็น 3 ปี ขยาย มา เป็น มี กำหนด ระยะเวลา 3 ปี จึง เป็นการ เปลี่ยนแปลง ใน ทาง ที่ เป็น คุณ แก่ ลูกจ้าง มีผล บังคับ ใช้ ได้ ทันทีเมื่อ ผล การ ปฏิบัติงาน ของ โจทก์ ทั้ง สาม เข้า เกณฑ์ ตาม ข้อบังคับเกี่ยวกับ การ ทำงาน ใหม่ จำเลย ย่อม เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สาม ได้มิได้ เป็น การ บังคับ ย้อนหลัง หรือไม่ เป็น คุณ แก่ โจทก์ ทั้ง สาม เป็น การไม่เป็นธรรม ดัง ที่ อ้าง แต่ ประการใด ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ใน ประเด็นข้อ นี้ ชอบแล้ว อุทธรณ์ โจทก์ ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share