แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์ที่1และโจทก์ที่2เป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันโดยยังมิได้แบ่งแยกเป็นหลายโฉนดเพราะอยู่ในระหว่างการรังวัดแบ่งแยกของเจ้าพนักงานที่ดินเท่านั้นโจทก์ที่1จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ที่1ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้แบ่งแยกออกโฉนดที่ดินส่วนของโจทก์ที่2ให้แก่โจทก์ที่2ปรากฏว่าที่พิพาทและบ้านของจำเลยส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ที่2โจทก์ที่2จึงฟ้องจำเลยหลังจากได้รับโฉนดที่ดินมาแล้วและปรากฏว่าที่พิพาทบางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่1บางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่2โจทก์ทั้งสองต่างมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ฟ้องของโจทก์ที่2จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173. โจทก์ที่2ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์ที่2ตามพินัยกรรมและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์ที่2โดยละเมิดกรณีมิใช่ฟ้องเรียกที่พิพาทตามข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งจำเลยก็มิใช่บุคคลที่จะยกอายุความ1ปีขึ้นต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755แม้โจทก์ที่2จะฟ้องคดีเกิน1ปีหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมคดีของโจทก์ที่2ก็ไม่ขาดอายุความ.
ย่อยาว
คดี ทั้ง สอง สำนวน ศาล มี คำสั่ง ให้ พิจารณา รวมกัน โดย โจทก์ ทั้งสอง ฟ้อง จำเลย คนเดียวกัน ว่า จำเลย อาศัย ปลูกบ้าน อยู่ ใน ที่ดินโฉนด เลขที่ 407 ของ นาง ราช แรงฤทธิ์ โดย ไม่ คิด ค่าเช่า ต่อมา ที่ดินแปลง ดังกล่าว ตก มา เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง โจทก์ ทั้ง สองไม่ ต้องการ ให้ จำเลย อยู่ ต่อไป จึง ขอ ให้ ศาล ขับไล่ จำเลย และบริวาร ออก จาก ที่ดิน ของ โจทก์ พร้อม กับ รื้อถอน สิ่ง ปลูกสร้างออกไป
จำเลย ทั้ง สอง สำนวน ให้การ ว่า จำเลย ได้ ครอบครอง ที่ดิน พิพาท โดยเจตนา เป็น เจ้าของ มา 25 ปี แล้ว จำเลย ไม่ เคย เช่า ที่ดิน จาก ผู้ใดฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 2 เป็น ฟ้อง ซ้อน กับ โจทก์ ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 และ คดี โจทก์ ขาด อายุความมรดก 1 ปี แล้ว ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย และ บริวาร รื้อถอน เรือน ที่ ปลูก อยู่ใน ที่ดิน ของ โจทก์ และ ขนย้าย ออก จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ตาม ฟ้อง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ ที่ 2 ฟ้อง คดี นี้ เป็น การ ฟ้องซ้อนกับ คดี ของ โจทก์ ที่ 1 เป็น การ ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 ศาลฎีกา เห็น ว่า โจทก์ ที่1 ฟ้อง คดี หมายเลข ดำ ที่ 62/2524 เมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน 2524 ซึ่งขณะนั้น โฉนด เลขที่ 407 ยัง มิได้ แบ่งแยก เป็น หลาย โฉนด เพราะ อยู่ระหว่าง การ รังวัด แบ่งแยก ของ เจ้าพนักงาน ที่ดิน เท่านั้น โจทก์ ที่1 จึง ได้ ฟ้อง ขับไล่ จำเลย ออก จาก ที่ พิพาท ส่วน ที่ เป็น ของโจทก์ ที่ 1 หลังจาก โจทก์ ที่ 1 ฟ้อง จำเลย ดังกล่าว แล้ว ต่อมาวันที่ 20 กรกฎาคม 2524 เจ้าพนักงาน ที่ดิน จึง ได้ แบ่งแยก ออก โฉนดเลขที่ 10849 ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 ปรากฏ ว่า ที่ พิพาท และ บ้านเลขที่37/1 ของ จำเลย ส่วนใหญ่ อยู่ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10849 ของ โจทก์ที่ 2 โจทก์ ที่ 2 จึง ได้ ยื่นฟ้อง จำเลย เป็น คดีดำ ที่ 108/2524เมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 2524 คือ หลังจาก ได้ รับ โฉนด ที่ดิน มา แล้วนอกจาก นี้ ที่ดิน พิพาท บางส่วน ยัง รุกล้ำ เข้า ไป ใน ที่ดิน ของโจทก์ ที่ 1 ด้วย กล่าวคือ ที่ พิพาท บางส่วน อยู่ ใน โฉนด ของ โจทก์ที่ 1 บางส่วน อยู่ ใน โฉนด ของ โจทก์ ที่ 2 โจทก์ ทั้ง สอง ต่าง มีสิทธิ ฟ้อง ขับไล่ จำเลย ได้ ฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่ เป็นฟ้องซ้อน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 ฎีกา จำเลยข้อ นี้ ก็ ฟัง ไม่ ขึ้น
จำเลย ฎีกา ข้อ สุดท้าย ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 2ขาด อายุความ แล้ว เพราะ โจทก์ ฟ้อง จำเลย เกินกว่า 1 ปี นับแต่ มารดาโจทก์ ที่ 2 ถึงแก่กรรม ศาลฎีกา เห็น ว่า โจทก์ ที่ 2 ฟ้อง ขับไล่ จำเลยออก จาก ที่ พิพาท ซึ่ง เป็น มรดก ของ นาง ทองสุข ตกทอด มา ยัง โจทก์ที่ 2 ตาม พินัยกรรม ของ นาง ทองสุข และ เรียก ค่าเสียหาย ที่ จำเลยอยู่ ใน ที่ พิพาท ของ โจทก์ ที่ 2 โดย ละเมิด หา ใช่ โจทก์ ที่ 2 ฟ้องเรียก ที่ พิพาท ตาม ข้อกำหนด ใน พินัยกรรม ไม่ อีก ทั้ง จำเลย ก็ มิใช่บุคคล ที่ จะ ยก อายุความ 1 ปี ขึ้น ต่อสู้ ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 แม้ โจทก์ ที่ 2 จะ ฟ้อง คดี นี้เกิน 1 ปี หลังจาก เจ้ามรดก ถึงแก่กรรม แล้ว ก็ ตาม คดี ของ โจทก์ ที่2 ก็ ไม่ ขาด อายุความ ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ก็ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน