คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งจนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียถ้าหากมีเมื่อโจทก์ทั้งสองเห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องโจทก์ทั้งสองก็ชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาเพื่อให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำพิพากษาหรือคำสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขต่อไปสำหรับการ บังคับคดีนั้นเมื่อโจทก์ที่1ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจำเลยที่2ซึ่งเป็นฝ่ายชนะชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271หากโจทก์ทั้งสองประสงค์จะขอให้งดการบังคับคดีไว้ก็ต้องยื่นคำร้องขอในคดีเดิมโจทก์ทั้งสองไม่อาจฟ้องขอให้ เพิกถอนคำพิพากษาหรือขอให้สั่ง งดการบังคับคดีเป็นคดีใหม่ได้เมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ก็ไม่อาจนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา254มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสี่ได้

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง มี ที่ดิน ปลูกเรือน และเรือน 1 หลัง เมื่อ ประมาณ 9 เดือน ก่อน ฟ้อง มี เจ้าพนักงาน บังคับคดีมา ยึดทรัพย์ และ ประกาศ ขายทอดตลาด ทรัพย์ ดังกล่าว เพื่อ นำ เงินมา ชำระหนี้ ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น โจทก์ ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ 180/2535 ของ ศาลชั้นต้น ที่ ฟ้อง อ้างว่า โจทก์ ที่ 1 ได้ ตกลง ทำสัญญา กับ จำเลย ที่ 2 ต่อหน้า จำเลย ที่ 3 ว่า ใน การ ที่นาย พิทักษ์ ปูทา บุตร โจทก์ ที่ 1 ได้เสีย กับ จำเลย ที่ 1 จน มี บุตร ใน ครรภ์ โจทก์ ทั้ง สอง ยอม ชำระ เงิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 เป็น เงิน 20,000บาท อันเป็น ความเท็จ ความจริง แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ หนี ตาม บุตรโจทก์ ทั้ง สอง คดี ดังกล่าว ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 เป็นฝ่าย ชนะคดี โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง ขาย ที่ ไร่ ต่อสู้ คดี จ้าง ทนายความ ว่า ต่างและ ต้อง เสีย ค่าใช้จ่าย ไป รวมเป็น เงิน 51,000 บาท ขอให้ ศาล บังคับดังนี้ คือ 1. ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 51,000 บาทให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง 2. ให้ จำเลย ที่ 2 ยื่น คำร้อง ต่อ เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือ ต่อ ศาล ขอให้ถอนการยึดทรัพย์ พิพาท 3. ให้ เพิกถอนคำพิพากษา คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 180/2535 ของ ศาลชั้นต้น ระหว่างจำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น โจทก์ ใน คดี ดังกล่าว กับ โจทก์ ที่ 1 ใน คดี นี้ซึ่ง เป็น จำเลย ใน คดี ดังกล่าว หาก เพิกถอน หรือ ทำลาย ไม่ได้ อย่า ให้คำพิพากษา ผูกมัด ทรัพย์สิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง
ศาลชั้นต้น สั่ง คำฟ้อง ว่า รับคำ ฟ้อง เฉพาะ คำขอ ท้ายฟ้อง ข้อ 1ส่วน คำขอ ท้ายฟ้อง ข้อ 2, 3 เป็น เรื่อง ที่ โจทก์ จะ ไป ใช้ สิทธิ อุทธรณ์คำพิพากษา ของ ศาล ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 180/2535
ต่อมา โจทก์ ทั้ง สอง ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล สั่ง งด การ ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ไว้ ก่อน มิฉะนั้น จะ ทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง เสียหาย มาก และหาก โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ฝ่าย ชนะคดี ก็ จะ เป็น การ เสียหาย แก่ จำเลย เช่นกัน
ศาลชั้นต้น สั่ง คำร้องขอ งโจทก์ ทั้ง สอง ว่า กรณี ไม่มี เหตุ ตามกฎหมาย ที่ ศาล จะ มี คำสั่ง ให้ คุ้มครอง ชั่วคราว ใน คดี นี้ ให้ยก คำร้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ขอให้เพิกถอน คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น หาก ถอน หรือ ทำลาย ไม่ได้ ก็ อย่า ให้คำพิพากษา ผูกมัด ทรัพย์สิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง และ ขอให้ สั่ง ให้ จำเลย ที่ 2ยื่น คำร้อง ต่อ เจ้าพนักงาน บังคับคดี หรือ ต่อ ศาล ขอให้ถอนการยึดทรัพย์พิพาท ของ โจทก์ ทั้ง สอง ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ 180/2535 ของ ศาลชั้นต้นซึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกบัญญัติ ให้ คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ของ ผูกพัน คู่ความ ใน กระบวนพิจารณาของ ศาล ที่ พิพากษา หรือ มี คำสั่ง นับ ตั้งแต่ วันที่ ได้ พิพากษา หรือมี คำสั่ง จน ถึง วันที่ คำพิพากษา หรือ คำสั่ง นั้น ได้ ถูก เปลี่ยนแปลง แก้ไขกลับ หรือ งด เสีย ถ้าหาก มี เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง เห็นว่า คำพิพากษา ของศาลชั้นต้น ไม่ถูกต้อง โจทก์ ทั้ง สอง ก็ ชอบ ที่ จะ อุทธรณ์ ฎีกา เพื่อ ให้ศาลอุทธรณ์ หรือ ศาลฎีกา มี คำพิพากษา หรือ คำสั่ง เปลี่ยนแปลง แก้ไข ต่อไปสำหรับ การ บังคับคดี นั้น เมื่อ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง เป็น ฝ่าย แพ้ คดี มิได้ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา ของ ศาล จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น ฝ่าย ชนะ ชอบ ที่ จะร้องขอ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา นั้น ได้ ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 271 หาก โจทก์ ทั้ง สอง ประสงค์ จะ ขอให้ งดการบังคับคดีไว้ ก็ ต้อง ยื่น คำร้องขอ ใน คดี เดิม โจทก์ ทั้ง สอง ไม่อาจ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอนคำพิพากษา หรือ ขอให้ สั่ง งดการบังคับคดี เป็น คดี ใหม่ ได้ เมื่อ โจทก์ทั้ง สอง ฟ้อง เป็น คดี ใหม่ ไม่ได้ ก็ ไม่อาจ นำ วิธีการ ชั่วคราว ก่อน พิพากษาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 มา ใช้ บังคับ แก่จำเลย ทั้ง สี่ ได้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ทั้ง สองฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share