แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยและพวกกับผู้เสียหายทั้งสี่เป็นนักศึกษาต่างสถาบันซึ่งมีเรื่องยกพวกทำร้ายร่างกายกันเป็นประจำในขณะที่สวมเครื่องแบบนักศึกษาแม้ไม่เคยรู้จักกันจำเลยกับพวกมีอาวุธปืนมีดและก้อนหินขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสี่ให้ถอดเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัดซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อยที่ผู้เสียหายทั้งสี่สวมใส่อยู่ให้จำเลยและพวกผู้เสียหายทั้งสี่กลัวจึงยอมทำตามโดยเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัดดังกล่าวเป็นของใช้สำหรับนักศึกษาในสถานศึกษาของผู้เสียหายทั้งสี่ใช้เท่านั้นจำเลยและพวกย่อมไม่สามารถนำเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัดดังกล่าวไปใช้หรือแสวงหาประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินได้จึงเป็นการกระทำโดยมิได้มุ่งประสงค์ต่อผลในการจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริงมิได้มีเจตนาเอาทรัพย์สินดังกล่าวไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่นหากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ทำไปด้วยความคะนองตามนิสัยวัยรุ่นที่ความประพฤติไม่เรียบร้อยเพื่อหยามศักดิ์ศรีของนักศึกษาต่างสถานศึกษาเท่านั้นเป็นการกระทำที่ขาดเจตนา ลักทรัพย์จึงไม่เป็นความผิดฐาน ปล้นทรัพย์ แต่เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้กระทำตามที่จำเลยและพวกประสงค์โดยทำให้กลัวว่าจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้เสียหายทั้งสี่อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา309วรรคสองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์จึงต้องลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 340,340 ตรี และ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ ที่ ยัง ไม่ได้ คืน เป็น เงิน510 บาท แก่ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสอง , 83 ขณะ เกิดเหตุ จำเลย มี อายุ กว่า 17 ปีแต่ ไม่เกิน 20 ปี ลด มาตรา ส่วน โทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 76 จำคุก 6 ปี จำเลย ให้การรับสารภาพ ใน ชั้นสอบสวน มีเหตุบรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คง จำคุก 4 ปี ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ ที่ ยัง ไม่ได้ คืน จำนวน 510บาท แก่ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา ใน ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ข้อความที่ ตัดสิน เป็น ปัญหา สำคัญ อันควร สู่ ศาล สูงสุด และ อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ตาม ที่จำเลย ฎีกา เป็น ข้อ แรก ว่า จำเลย ได้ ร่วม กับพวก กระทำ ความผิด ฐานปล้นทรัพย์ ของ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ตาม ฟ้อง หรือไม่ ใน ปัญหา นี้ โจทก์ มีนาย อรรถชิต แย้มชะมัง ผู้เสียหาย ที่ 1 นาย อรรถสิทธิ์ สมิตารุณ ผู้เสียหาย ที่ 2 นาย ภากร เกษมรัติ ผู้เสียหาย ที่ 3 และ นาย ปรีดา มะณี ผู้เสียหาย ที่ 4 เบิกความ เป็น ประจักษ์พยาน สอดคล้อง ต้อง กัน ว่า ใน วัน เวลา เกิดเหตุ ขณะที่ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ซึ่ง เป็น นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค ดุสิตและ แต่ง เครื่องแบบ นักศึกษา วิทยาลัย ดังกล่าว อยู่ บนรถโดยสารประจำทาง สาย 70 ซึ่ง จอด อยู่ บน ถนน ประชาชื่น ปากซอย เพิ่มทรัพย์ รอ ให้ รถไฟ แล่น ผ่าน ถนน ประชาชื่น ไป จำเลย และ พวก รวม 5 คน ซึ่ง เป็น นักศึกษา โรงเรียน พนมเทคนิคช่างกล-พณิชยการ สวม เสื้อ ฝึกงาน ของ โรงเรียน ดังกล่าว ขึ้น มา บน รถโดยสารประจำทาง นั้นโดย พวก ของ จำเลย คนหนึ่ง มี อาวุธปืน อีก สอง คน มี อาวุธ มีด คน ละ เล่มและ อีก คนหนึ่ง มี ก้อน หิน เป็น อาวุธ พวก ของ จำเลย ที่ มี อาวุธปืน ใช้อาวุธปืน ขู่ บังคับ ให้ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ถอด เสื้อ ฝึกงาน และ หัว เข็มขัดที่ สวม ใส่ ส่ง ให้ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ กลัว ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ถอด เสื้อฝึกงาน ราคา ตัว ละ 140 บาท ของ ตน และ ผู้เสียหาย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ถอด หัว เข็มขัด ราคา อัน ละ 30 บาท ของ ตน ส่ง ให้ จำเลย และ พวก โดยผู้เสียหาย ที่ 1 ถอด เสื้อ ฝึกงาน ส่ง ให้ จำเลย ซึ่ง ไม่มี อาวุธ แล้ว จำเลยกับพวก ลง จาก รถโดยสารประจำทาง ไป จำเลย ถูก เจ้าพนักงาน ตำรวจจับ ได้ เกือบ ทันที พร้อม เสื้อ ฝึกงาน ของ ผู้เสียหาย ที่ 1 ผู้เสียหายทั้ง สี่ ไม่เคย รู้ จัก จำเลย มา ก่อน ศาลฎีกา ได้ พิเคราะห์ คำเบิกความของ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ดังกล่าว แล้ว เห็นว่า ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ต่าง ไม่เคย รู้ จัก จำเลย มา ก่อน ไม่มี เหตุ ที่ จะ ระแวง สงสัย ว่า ผู้เสียหาย ทั้ง สี่จะ เบิกความ ปรักปรำ ใส่ ร้าย จำเลย ขณะ เกิดเหตุ คดี นี้ เป็น เวลากลางวัน ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ จึง มี โอกาส เห็น และ จด จำ จำเลย ได้ ทั้ง จำเลยก็ ถูกจับ ได้ พร้อม เสื้อ ฝึกงาน ของ ผู้เสียหาย ที่ 1 ใน เวลา ใกล้ชิดกับ เหตุ ที่ เกิดขึ้น พยานหลักฐาน ของ โจทก์ จึง มี น้ำหนัก ฟังได้ ว่าจำเลย ได้ ร่วม กับพวก อีก สี่ คน ซึ่ง มี อาวุธปืน มีด และ ก้อน หิน ขู่ บังคับผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ให้ ถอด เสื้อ ฝึกงาน และ หัว เข็มขัด ที่ ผู้เสียหายทั้ง สี่ สวม ใส่ อยู่ ให้ จำเลย และ พวก ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ กลัว ผู้เสียหายทั้ง สี่ ถอด เสื้อ ฝึกงาน และ ผู้เสียหาย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ถอดหัว เข็มขัด ที่ สวม ใส่ อยู่ ของ ตน ส่ง ให้ จำเลย และ พวก ทั้งนี้ โดยผู้เสียหาย ที่ 1 ส่ง เสื้อ ฝึกงาน ของ ตน ให้ แก่ จำเลย อย่างไร ก็ ตามใน การ วินิจฉัย ว่า จำเลย ได้ ร่วม กับพวก กระทำ ความผิด ฐาน ปล้นทรัพย์ของ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ตาม ฟ้อง หรือไม่ นั้น จำต้อง วินิจฉัย ใน เบื้องต้นก่อน ว่า จำเลย และ พวก มี เจตนา ลักทรัพย์ หรือไม่ ใน ปัญหา นี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ ตาม ทางนำสืบ ของ โจทก์ และ จำเลย ว่า จำเลย และ พวก กับ ผู้เสียหายทั้ง สี่ เป็น นักศึกษา ต่าง สถาบัน กัน โดย จำเลย และ พวก เป็น นักศึกษา ของโรงเรียน พนมเทคนิคช่างกล-พณิชยการ ส่วน ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ เป็น นักศึกษา วิทยาลัย เทคนิค ดุสิต นักศึกษา สอง สถาบัน นี้ มี เรื่อง ยก พวก ทำร้ายร่างกาย กัน เป็น ประจำ ใน ขณะที่ สวม เครื่องแบบ ของ นักศึกษาแม้ ไม่เคย รู้ จัก กัน เสื้อ ฝึกงาน และ หัว เข็มขัด ที่ จำเลย และ พวก ขู่บังคับ เอา จาก ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ซึ่ง มี ราคา เพียง ตัว ละ 140 บาท และอัน ละ 30 บาท ตามลำดับ นั้น ก็ ได้ความ จาก ผู้เสียหาย ที่ 4 ว่า เป็นเสื้อ ฝึกงาน และ หัว เข็มขัด สำหรับ นักศึกษา วิทยาลัย เทคนิค ดุสิต ใช้ เท่านั้น นักศึกษา ของ โรงเรียน หรือ วิทยาลัย อื่น นำ ไป ใช้ ไม่ได้จำเลย และ พวก ย่อม ไม่สามารถ จะ นำ เสื้อ ฝึกงาน และ หัว เข็มขัดดังกล่าว ไป ใช้ หรือ แสวงหา ประโยชน์ ใน ลักษณะ ที่ เป็น ทรัพย์สิน ได้การกระทำ ของ จำเลย และ พวก ดังกล่าว จึง เป็น พฤติการณ์ ที่ เห็น ได้ว่าจำเลย และ พวก กระทำ ไป โดย มิได้ มุ่ง ประสงค์ ต่อ ผล ใน การ จะ แสวงหาประโยชน์ จาก ทรัพย์สิน ดังกล่าว โดย แท้จริง มิได้ มี เจตนา ที่ จะ เอาทรัพย์สิน ดังกล่าว ไป เป็น ของ ตนเอง หรือ ผู้อื่น และ เป็น ที่ เห็น ได้ว่าการ ที่ จำเลย และ พวก กระทำ ไป เช่นนั้น เป็น การแสดง อำนาจ บาตรใหญ่ ทำ ไปด้วย ความ คะนอง ตาม นิสัย วัยรุ่น ที่ ความประพฤติ ไม่ เรียบร้อย เพื่อ หยามศักดิ์ศรี ของ นักศึกษา วิทยาลัย เทคนิค ดุสิต ซึ่ง มี เรื่อง ชกต่อย กับ นักศึกษา ของ โรงเรียน พนมเทคนิคช่างกล-พณิชยการ ที่ จำเลย และ พวก กำลัง ศึกษา อยู่ เป็น ประจำ เท่านั้น มิใช่ เป็น การ มุ่งหมายเพื่อ จะ ได้ ประโยชน์ จาก ทรัพย์ ดังกล่าว แต่ ประการใด เป็น การกระทำที่ ขาด เจตนา ถือไม่ได้ว่า จำเลย และ พวก มี เจตนา ลักทรัพย์ ของ ผู้เสียหายทั้ง สี่ การ ที่ จำเลยร่วม กับพวก กระทำการ ดังกล่าว จึง ไม่เป็น ความผิดฐาน ปล้นทรัพย์ ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังขึ้น และ เมื่อวินิจฉัย เช่นนี้ แล้ว ก็ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ข้อ อื่น ของ จำเลย อีก ต่อไปอย่างไร ก็ ตาม การ ที่ จำเลย และ พวก ใช้ อาวุธ ขู่ บังคับ ผู้เสียหายทั้ง สี่ ให้ ถอด เสื้อ ฝึกงาน และ หัว เข็มขัด ให้ จำเลย และ พวก จน ผู้เสียหายทั้ง สี่ กลัว ยอม ถอด เสื้อ ฝึกงาน และ หัว เข็มขัด ให้ จำเลย และ พวก ไป นั้นย่อม เป็น การ ข่มขืน ใจ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ให้ กระทำ ตาม ที่ จำเลย และ พวกประสงค์ โดย ทำให้ กลัว ว่า จะ ทำให้ เกิด อันตราย ต่อ ร่างกาย ผู้เสียหายทั้ง สี่ อันเป็น ความผิด ต่อ เสรีภาพ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309วรรคสอง ซึ่ง ความผิด ดังกล่าว นี้ เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ความผิด ฐานปล้นทรัพย์ ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง จึง ต้อง ลงโทษ จำเลย ตาม ที่ พิจารณา ได้ความ ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคสอง , 83 ขณะ เกิดเหตุ จำเลย มี อายุ กว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ลด มาตรา ส่วน โทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 76 จำคุก 1 ปี และ ปรับ 4,500 บาท จำเลย ให้การรับสารภาพใน ชั้นสอบสวน เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 8 เดือนและ ปรับ 3,000 บาท ขณะ เกิดเหตุ จำเลย เป็น นักศึกษา และ ไม่ปรากฏ ว่าจำเลย เคย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน เมื่อ คำนึง ถึง พฤติการณ์ แห่ง คดี แล้วเห็นสมควร ให้ โอกาส จำเลย กลับ ตัว สักครั้ง หนึ่ง จึง ให้ รอการลงโทษจำคุก ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 และ ให้คุม ความประพฤติ จำเลย ไว้ โดย ให้ ไป รายงาน ตัว ต่อ พนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน ตลอด ระยะเวลา ที่ รอการลงโทษ หาก จำเลย ไม่ชำระ ค่าปรับให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์