คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด45วันต่อปีได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่จำเลยนายจ้างว่าถ้าไม่ได้ขึ้นค่าจ้างในปีต่อไปยอมให้เลิกจ้างได้ดังนี้แม้ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องอุทิศเวลาให้แก่กิจการของจำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีอีกก็มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นแต่เพียงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจำปีเท่านั้นส่วนหนังสือทัณฑ์บนเป็นเพียงการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าหากถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง2ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้จึงไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบแล้วโจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดเพราะลากิจและลาป่วยมากและไม่ถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งโดยชอบของนายจ้างทั้งไม่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและต้องบอกกล่าวล่วงหน้า. จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ลูกจ้างประจำรายวันทุกวันที่14และวันที่28ของเดือนเมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่19กันยายน2528การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่14ตุลาคม2528ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปการที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่19กันยายน2528โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่1ตุลาคม2528และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่13ตุลาคมรวม9วันเพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์เสาร์อาทิตย์รวม4วันและต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา13วัน. เงินบำเหน็จเงินประกันและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้างโจทก์จึงต้องทวงถามก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง รายวัน ของ จำเลย จำเลย จ่ายค่าจ้าง ทุก วันที่ 14 และ 28 ของ เดือน ทำงาน สัปดาห์ ละ 5 วัน หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ วันที่ 19 กันยายน 2528 จำเลย เลิกจ้างโจทก์ ฐาน หย่อนความสามารถ ใน การ ปฏิบัติ หน้าที่ การงาน โดย ให้ มี ผล เป็น การเลิกจ้าง วันที่ 1 ตุลาคม 2528 เป็นต้นไป โดย ไม่ บอกกล่าว ล่วงหน้า แต่จำเลย ยัง ไม่ ได้ จ่าย บำเหน็จ ให้ โจทก์ ไม่ ได้ จ่าย ค่าชดเชย และสินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ระหว่าง ทำงาน จำเลย หัก ค่าจ้างโจทก์ ไว้ 1 เดือน เป็น เงิน ประกัน และ ยัง ไม่ ได้ คืน ให้ โจทก์ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย เงิน ดังกล่าว ทั้งหมด แก่ โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับ แต่ วัน เลิกจ้าง จนกว่า จะชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ คำนวณ เงินบำเหน็จ ไม่ ถูกต้อง ตาม ข้อบังคับฯโจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่าชดเชย เพราะ ประพฤติ ผิด ระเบียบข้อบังคับ การ ทำงาน โดย ลากิจ ลาป่วย เกิน 45 วัน ต่อปี และ ได้ ทำทัณฑ์บน ว่า จะ ไม่ ทำ ผิด อีก แต่ โจทก์ ได้ ประพฤติ ผิด ทัณฑ์บน อันถือ ได้ ว่า ฝ่าฝืน ข้อบังคับ การ ทำงาน ของ จำเลย และ คำสั่ง อันชอบด้วย กฎหมาย ของ นายจ้าง ซึ่ง นายจ้าง ได้ ตักเตือน เป็น หนังสือแล้ว ทั้ง ตาม ข้อบังคับ ว่าด้วย กองทุน บำเหน็จ ถือ ว่า บำเหน็จ ได้รวม ค่าชดเชย ไว้ แล้ว โจทก์ จึง ไม่ มี สิทธิ เรียก ค่าชดเชย อีกการ ที่ โจทก์ ประพฤติ ผิด ทัณฑ์บน ถือ ว่า เป็น การ จงใจ ขัด คำสั่งของ นายจ้าง และ ละเลย ไม่ นำพา ต่อ คำสั่ง เป็น อาจิณ จำเลย จึงเลิกจ้าง โจทก์ ได้ โดย ไม่ ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า จำเลย ให้ มี คำสั่งเลิกจ้าง ให้ โจทก์ ทราบ ตั้งแต่ วันที่ 19 กันยายน 2528 โดย ให้ มี ผลวันที่ 1 ตุลาคม 2528 ถือ ว่า ได้ บอกกล่าว ล่วงหน้า โดย ชอบด้วย กฎหมายแล้ว โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ดอกเบี้ย เพราะ เงินบำเหน็จ และ เงินประกัน นั้น จำเลย พร้อม ที่ จะ จ่าย ตั้งแต่ วัน เลิกจ้าง ขอ ให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย เงิน บำเหน็จ เงินประกัน สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าชดเชย แก่ โจทก์ พร้อมด้วย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2528 จนกว่า จะชำระ เสร็จ
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ตาม ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่าโจทก์ ลากิจ และ ลาป่วย เกิน 45 วัน ต่อปี เป็น การ ไม่ อุทิศ เวลา ให้จำเลย และ ฝ่าฝืน ข้อบังคับ ของ จำเลย และ โจทก์ ได้ ทำ หนังสือ ทัณฑ์บนว่า ถ้า โจทก์ ไม่ ได้ ขึ้น เงินเดือน หรือ ค่าจ้าง ใน ปี 2528 ยอม ให้เลิกจ้าง ได้ ซึ่ง เป็น หนังสือ ตักเตือน ตาม กฎหมาย คุ้มครอง แรงงานแล้ว จำเลย จึง ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า เห็นว่า การ ลากิจ และ ลาป่วย เกิน 45 วัน ต่อปี ของ โจทก์มิใช่ เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของจำเลย เป็น แต่ เพียง เหตุ ที่ ทำ ให้ โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ การพิจารณา ความดี ความชอบ ใน ปี นั้น เท่านั้น หนังสือ ทัณฑ์บน เป็น เพียงการ บอกกล่าว ให้ โจทก์ ทราบ ล่วงหน้า ว่า หาก ถูก งด ขั้น เงินเดือนหรือ ค่าจ้าง 2 ปี ติดต่อ กัน อาจ ถูก เลิกจ้าง ได้ จึง ถือ ไม่ ได้ ว่าเป็น หนังสือ ตักเตือน ตาม ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เมื่อ การ ลากิจ และ ลาป่วย ของ โจทก์ ได้ รับ อนุญาตจาก ผู้บังคับบัญชา โดยชอบ แล้ว โจทก์ จึง ไม่ ได้ กระทำ ผิด เนื่องจากลากิจ และ ลาป่วย มาก การ เลิกจ้าง โจทก์ ใน กรณี นี้ จึง ไม่ เข้า ข้อยกเว้น ตาม ข้อ 47 แห่ง ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลย จึง ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ ไม่ เป็น การ จงใจ ขัด คำสั่ง โดยชอบด้วย กฎหมาย ของ นายจ้าง ทั้ง ไม่ เป็น การ กระทำ ที่ ไม่ เหมาะสมแก่ การ ปฏิบัติ หน้าที่ ของ ตน ให้ ลุล่วง ไป โดย ถูกต้อง และ สุจริตเมื่อ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ จึง ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า
จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย จ่าย ค่าจ้าง แก่ โจทก์ ทุก วันที่ 14 และ 28ของ เดือน การ ที่ จำเลย บอกเลิก การ จ้าง ต่อ โจทก์ วันที่ 19 กันยายน2528 โดย ให้ มี ผล เลิกจ้าง ใน วันที่ 1 ตุลาคม 2528 จึง เป็น การบอกกล่าว เลิก สัญญา ล่วงหน้า โดย ชอบ แล้ว นั้น เห็น ว่า ตาม มาตรา 582 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติ ว่า ฯลฯ กรณี ของ โจทก์ จำเลยจะ ต้อง บอก เลิก การ จ้าง ก่อน วันที่ 14 หรือ อย่าง ช้า ภายใน วันที่14 กันยายน 2528 จึง จะ มี ผล เลิกจ้าง ใน วันที่ 1 ตุลาคม 2528 ได้เมื่อ จำเลย บอก เลิก การจ้าง ใน วันที่ 19 กันยายน 2528 เช่นนี้ การเลิกจ้าง ย่อม มี ผล ตาม กฎหมาย วันที่ 14 ตุลาคม 2528 ซึ่ง เป็น วันกำหนด จ่าย สินจ้าง คราว ถัด ไป การ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2528 ย่อม ไม่ ชอบ ด้วย บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าวจึง ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ให้ แก่ โจทก์ ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง วันที่ 13 ตุลาคม 2528 รวม 9 วัน เพราะ ช่วง ระยะ เวลาดังกล่าว ตรง กับ วันเสาร์ อาทิตย์ รวม 4 วัน ค่าจ้าง เป็น เงิน 675บาท ค่าครองชีพ เป็น เวลา 13 วัน เป็น เงิน 173.33 บาท สำหรับ เงินบำเหน็จ เงินประกัน และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า นั้น ตามกฎหมาย ไม่ ได้ กำหนด ให้ จ่าย ตั้งแต่ วัน เลิกจ้าง ดัง เช่น ค่าชดเชยโจทก์ จึง ต้อง ทวงถาม ก่อน เมื่อ ไม่ ปรากฏ ว่า มี การ ทวงถาม จำเลยจึง ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับ แต่ วันฟ้อง
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า 848.33 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง และ ให้ จำเลยเสีย ดอกเบี้ย สำหรับ เงินบำเหน็จ และ เงินประกัน นับแต่ วันฟ้องนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง.

Share