คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความฟ้องคดีขับไล่ตกลงให้ค่าจ้างโจทก์250,000บาทมีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีกับให้โจทก์ออกเงินทดรองเป็นค่าขึ้นศาลจำนวน20,400บาทค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆในระหว่างดำเนินคดีไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุดถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืนโจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้างเช่นนี้ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความหรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันจึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา133(เดิม)(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 16 มกราคม 2532จำเลย ได้ว่า จ้าง โจทก์ เป็น ทนายความ ใน คดี ฟ้องขับไล่ ตาม คดี หมายเลขแดงที่ 1949/2532 ของ ศาลแพ่ง ธนบุรี ตกลง ให้ ค่าจ้าง โจทก์ 250,000 บาทมีข้อ สัญญา ว่า จำเลย จะ ชำระ ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ คดีถึงที่สุดและ จำเลย เป็น ฝ่าย ชนะคดี กับ ให้ โจทก์ ออก เงินทดรอง เป็น ค่าขึ้นศาลจำนวน 20,400 บาท ค่าธรรมเนียม และ ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ใน ระหว่างดำเนินคดี ไป ก่อน จนกว่า คดี จะ ถึงที่สุด ถ้า จำเลย ไม่ได้ รับ ที่ดินพิพาทคืน โจทก์ จะ ไม่ได้ รับ ค่าจ้าง โจทก์ ได้ ใช้ ความรู้ ความ สามารถ ตลอดจนศิลปะ บังคับ จน จำเลย ใน คดี ดังกล่าว ข้างต้น ยอม ที่ จะ ประนีประนอม ด้วยโดย ขอ ค่า ขนย้าย 25,000 บาท ครั้น ถึง วันนัด จำเลย ได้ ยื่น คำร้องขอถอน โจทก์ จาก การ เป็น ทนายความ พร้อม เสนอ ให้ เงิน แก่ จำเลย คดี นั้น50,000 บาท ศาล จึง มี คำพิพากษา ตามยอม โจทก์ ทวงถาม ค่าจ้าง จาก จำเลยแต่ จำเลย ปฏิเสธ โจทก์ ขอ คิด ค่าเสียหาย เป็น ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ15 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 24 พฤษภาคม 2532 ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน15,833.34 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 265,833.34 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 250,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย จ้าง โจทก์ เป็น ทนายความ ไม่เคย ตกลงให้ ค่าจ้าง โจทก์ ตาม ฟ้อง จำเลย เคย ฟ้อง นาย พีรกิตย์ ถาวรานุสรณ์ เป็น จำเลย ที่ ศาลแพ่ง ธนบุรี โดย จำเลย เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย เองโจทก์ ไม่ได้ เกี่ยวข้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 20,000บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 24พฤษภาคม 2532 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ ค่าจ้าง ว่าความให้ โจทก์ เป็น เงิน 250,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 24 พฤษภาคม 2532 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา ตรวจ สำนวน ประชุม ปรึกษา แล้ว คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้จำเลย ชำระ ค่าจ้าง ว่าความ โดย โจทก์ บรรยายฟ้อง ถึง ข้อตกลง ตามสัญญาจ้าง ว่าความ ว่า จำเลย ได้ว่า จ้าง โจทก์ เป็น ทนายความ ใน คดีฟ้องขับไล่ ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ 1959/2532 ของ ศาลชั้นต้น ระหว่างนาย อลงกรณ์ กมลยะบุตร ที่ 1 นาย อนุสรณ์ ฉวีรัตน์ ที่ 2 โจทก์ นาย พีรกิตย์ ถาวรานุสรณ์ จำเลย ตกลง ให้ ค่าจ้าง โจทก์ 250,000 บาท มี ข้อ สัญญา ว่า จำเลย จะ ชำระ ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ คดีถึงที่สุดและ จำเลย เป็น ฝ่าย ชนะคดี กับ ให้ โจทก์ ออก เงินทดรอง เป็น ค่าขึ้นศาลจำเลย เป็น ฝ่าย ชนะคดี กับ ให้ โจทก์ ออก เงินทดรอง เป็น ค่าขึ้นศาล จำนวน20,400 บาท ค่าธรรมเนียม และ ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ใน ระหว่าง ดำเนินคดีไป ก่อน จนกว่า คดี จะ ถึงที่สุด ถ้า จำเลย ไม่ได้ รับ ที่ดินพิพาท คืนโจทก์ จะ ไม่ได้ รับ ค่าจ้าง ดังนี้ เห็นว่า ข้อตกลง ตาม สัญญาจ้าง ว่าความระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ดังกล่าว มี ลักษณะ เป็น การ หา ประโยชน์ จาก การ ที่ผู้อื่น เป็น ความ กัน หรือ ยุยง ให้ ผู้อื่น เป็น ความ กัน จึง เป็น สัญญาที่ มี วัตถุประสงค์ เป็น การ ขัด ต่อ ความสงบ เรียบร้อย หรือ ศีลธรรม อัน ดีของ ประชาชน ย่อม ตกเป็น โมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 (เดิม ) (มาตรา 150 ที่ แก้ไข ใหม่ ) ปัญหา ข้อ นี้ แม้ คู่ความจะ มิได้ อุทธรณ์ ฎีกา แต่ ก็ เป็น ปัญหา อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อยของ ประชาชน ศาลฎีกา เห็นสมควร หยิบยก ขึ้น วินิจฉัย เอง ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบ ด้วยมาตรา 246, 247 และ เมื่อ วินิจฉัย ดังนี้ แล้ว คดี ก็ ไม่จำต้องวินิจฉัย ประเด็น ตาม ฎีกา จำเลย ข้อ อื่น อีก ต่อไป เพราะ ไม่อาจ ทำให้ผล คดี เปลี่ยนแปลง ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย กับ คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

Share