แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์ไปตามถนน พหลโยธินซึ่งแบ่งเส้นทางจราจรเป็น2ช่องเดินรถโดยมีเกาะกลางถนนคั่นเมื่อถึงหน้ากรมการขนส่งทางบกจำเลยที่1ขับรถด้วยความประมาทด้วยความเร็วสูงไม่ระมัดระวังในการบังคับรถเป็นเหตุให้รถแล่นขึ้นมาบนเกาะกลางถนนชนเสาไฟฟ้าหักและเป็นเหตุให้โคมไฟฟ้าสาธารณะของโจทก์ที่ติดอยู่บนเสาไฟฟ้าดังกล่าวแตกเสียหายซึ่งเป็นการบรรยายถึงลักษณะแห่งความประมาทของจำเลยที่1แล้วคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ส่วนจำเลยที่1จะขับรถมาจากทิศทางใดจะไปไหนและออกนอกเส้นทางอย่างไรไม่ใช่ข้อสาระสำคัญฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่ผู้เดียวการที่ผู้อำนวยการกองก่อสร้างและบูรณะซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจะถือว่าโจทก์รู้ด้วยไม่ได้เพราะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงชื่อรับทราบและอนุมัติให้ฟ้องคดีในหนังสือแจ้งเหตุละเมิดและขออนุมัติฟ้องคดีในวันที่27มิถุนายน2533จึงถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่27มิถุนายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่12ตุลาคม2533ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิดจำเลยที่3จะยกอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคแรกมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน2ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคแรก จำเลยที่2เป็นนายจ้างซึ่งกฎหมายกำหนดให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่1ได้กระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่2จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่1และต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันทำละเมิดแก่โจทก์โดยโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนเพราะถือว่าจำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดแล้วส่วนจำเลยที่3เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดการที่โจทก์มีข้อตกลงให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้ซ่อมโคมไฟฟ้าสาธารณะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นและโจทก์จะจ่ายเงินค่าซ่อมให้การไฟฟ้านครหลวงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่3ชำระค่าเสียหายภายใน15วันนับแต่วันได้รับหนังสือจำเลยที่3ได้รับเมื่อวันที่25สิงหาคม2532แต่ไม่ชำระภายในกำหนดจำเลยที่3จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่10กันยายน2532
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2เป็น เจ้าของ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน 11-3916 กรุงเทพมหานครซึ่ง ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย ที่ 3 วันที่ 27 เมษายน 2532 จำเลย ที่ 1ขับ รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 2 คัน ดังกล่าว ด้วย ความประมาท ชน เสา ไฟฟ้าหมายเลข 31 ที่อยู่ บน เกาะกลางถนน หัก เป็นเหตุ ให้ โคมไฟฟ้า สาธารณะของ โจทก์ ที่ ติด ตั้ง บน เสา ไฟฟ้า ดังกล่าว จำนวน 2 ชุด หัก และ แตก ใช้ การไม่ได้ ต้อง เปลี่ยน ใหม่ คิด เป็น เงิน 17,182.95 บาท โจทก์ ทราบ ถึงการ ละเมิด และ รู้ ว่า จำเลย ทั้ง สาม คือ ผู้ที่ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน 2533 ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สาม ชดใช้ ค่าเสียหาย ดังกล่าว แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ละเมิด จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม เพราะไม่ได้ บรรยาย ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถ จาก ทาง ใด มุ่งหน้า ไป ใน ทิศทาง ใดและ อยู่ ใน ช่อง เดินรถ ช่อง ใด ทำให้ จำเลย ที่ 2 หลง ข้อต่อสู้ ได้ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ค่าเสียหาย ของ โจทก์ ไม่เกิน 2,000 บาททั้ง โจทก์ ยัง ไม่ได้ ซ่อม จึง ไม่สามารถ เรียก ค่าเสียหาย ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน17,182.95 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงินดังกล่าว นับแต่ วันที่ 27 เมษายน 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่า คำฟ้องของ โจทก์ เคลือบคลุม นั้น เห็นว่า ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ ได้ บรรยาย ว่าจำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ ไป ตาม ถนน พหลโยธิน เมื่อ ถึง บริเวณ หน้า กรมการขนส่งทางบก ซึ่ง ถนน พหลโยธิน ได้ แบ่ง เส้นทาง จราจร เป็น 2 ช่อง เดินรถ โดย มี เกาะกลางถนน คั่น กลาง จำเลย ที่ 1 ขับ รถ ด้วยความประมาท ด้วย ความ เร็ว สูง ไม่ ระมัดระวัง ใน การ บังคับ รถ เป็นเหตุ ให้รถ แล่น ขึ้น มา บน เกาะกลางถนน ชน เสา ไฟฟ้า หมายเลข 31 ที่อยู่ บน เกาะกลาง ถนน หัก และ เป็นเหตุ ให้ โคมไฟฟ้า สาธารณะ ของ โจทก์ ที่ ติด อยู่ บนเสา ไฟฟ้า ดังกล่าว แตก เสียหาย ซึ่ง เป็น การ บรรยาย ถึง ลักษณะ แห่งความประมาท ของ จำเลย ที่ 1 แล้ว คำฟ้อง ของ โจทก์ จึง แสดง โดยชัดแจ้งซึ่ง สภาพแห่งข้อหา ของ โจทก์ ส่วน จำเลย ที่ 1 จะ ขับ รถ มาจาก ทิศทาง ใดจะ ไป ไหน และ ออก นอก เส้นทาง อย่างไร ไม่ใช่ ข้อ สาระสำคัญ เพราะ ไม่ว่าจำเลย ที่ 1 จะ ขับ รถ มาจาก ทิศทาง ใด ก็ ตาม เมื่อ รถ แล่น ขึ้น บน เกาะกลางถนนด้วย ความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 1 ไป ชน เสา ไฟฟ้า เป็นเหตุ ให้โคมไฟฟ้า สาธารณะ ของ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ย่อม เป็น การกระทำ ละเมิดต่อ โจทก์ แล้ว ฟ้องโจทก์ จึง หา เคลือบคลุม ไม่
ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ เพราะผู้อำนวยการ กอง ก่อสร้าง และ บูรณะ ของ โจทก์ มี หนังสือ ทวงถาม ให้ จำเลยชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2532 ถือว่า โจทก์ได้ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง รับผิด ใช้ ค่าสินไหมทดแทนแล้ว เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2532 โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 12ตุลาคม 2533 คดี ของ โจทก์ จึง ขาดอายุความ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก เห็นว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคลมี ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร เป็น ผู้มีอำนาจ ทำการ แทน โจทก์ แต่ ผู้เดียวการ ที่ ผู้อำนวยการ กอง ก่อสร้าง และ บูรณะ ซึ่ง เป็น เจ้าหน้าที่ ระดับ ล่างของ โจทก์ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทนจะ ถือว่า โจทก์ รู้ ด้วย ไม่ได้ เพราะ เจ้าหน้าที่ ดังกล่าว ไม่ใช่ผู้มีอำนาจ ทำการ แทน โจทก์ เมื่อ เจ้าหน้าที่ ของ โจทก์ ทำ หนังสือ เสนอผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร เพื่อ ทราบ เหตุ ละเมิด และ ขออนุมัติ ฟ้องคดีซึ่ง ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ได้ ลงชื่อ รับทราบ และ อนุมัติ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2533 ถือว่า ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร รู้ ถึงการ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน เมื่อ วันที่27 มิถุนายน 2533 โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม 2533ฟ้อง ของ โจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก ส่วน จำเลย ที่ 3 นั้น เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง ขอให้จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนตาม กรมธรรม์ประกันภัย ไม่ได้ ฟ้อง ให้ รับผิด ใน ฐานะ ผู้ทำละเมิดฉะนั้น จำเลย ที่ 3 จะ ยก อายุความ เรื่อง ละเมิด ตาม มาตรา 448 วรรคแรกมา ปฏิเสธ ความรับผิด ไม่ได้ ปัญหา ว่าคดี โจทก์ ขาดอายุความ เรียกค่าสินไหมทดแทน ตาม สัญญาประกันภัย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 วรรคแรก หรือไม่ เห็นว่า เหตุ ละเมิด เกิด เมื่อ วันที่27 เมษายน 2532 โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม 2533ยัง ไม่ พ้น กำหนด 2 ปี นับแต่ วัน วินาศภัย คดี ของ โจทก์ยัง ไม่ขาดอายุความ
ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่ใช่ผู้ทำละเมิด จึง ไม่อาจ ทราบ ได้ว่า เหตุ ละเมิด เกิดขึ้น เมื่อใดแต่ จะ ทราบ เมื่อ โจทก์ มี หนังสือ มา ทวงถาม และ แจ้ง ว่า โจทก์ ได้ ชำระ เงินไป แล้ว ดังนั้น ดอกเบี้ย ที่ โจทก์ จะ คิด จาก จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ได้ ควร เป็น ดอกเบี้ย ซึ่ง นับ จาก วันที่ โจทก์ ได้ ชำระ เงิน ไป ไม่ใช่นับแต่ วัน ละเมิด เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วมรับผิดกับ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ จำเลย ที่ 2 เป็น นายจ้าง จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 บัญญัติ ให้ นายจ้าง ต้องร่วมรับผิด กับ ลูกจ้าง ใน ผล แห่ง ละเมิด ซึ่ง ลูกจ้าง ได้ กระทำ ไปใน ทางการที่จ้าง นั้น ดังนั้น จำเลย ที่ 2 จึง อยู่ ใน ฐานะ เป็น ลูกหนี้เช่นเดียว กับ จำเลย ที่ 1 และ ต้อง รับผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ตาม ที่จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ชดใช้ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับแต่ วัน ทำละเมิด โดย โจทก์ ไม่จำต้อง ต้อง บอกกล่าว ก่อนเพราะ ถือว่า จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ ผิดนัด มา ตั้งแต่ เวลา ที่ทำละเมิด แล้ว ส่วน จำเลย ที่ 3 โจทก์ ฟ้อง ขอให้ รับผิด ตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลย ที่ 3 ไม่ใช่ ผู้ทำละเมิด หรือ ต้อง ร่วมรับผิดกับ ผู้ทำละเมิด โจทก์ จึง จะ ขอให้ จำเลย ที่ 3 เสีย ดอกเบี้ย นับแต่วัน ทำละเมิด ไม่ได้ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า โจทก์ ได้ มี หนังสือ ทวงถามให้ จำเลย ที่ 3 ชำระหนี้ เมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม 2532 โดย กำหนด ให้ชำระ ภายใน 15 วัน นับแต่ วัน ได้รับ หนังสือ จำเลย ที่ 3 ได้รับเมื่อ วันที่ 25 สิงหาคม 2532 แต่ ไม่ชำระ ภายใน กำหนด คือ วันที่9 กันยายน 2532 จำเลย ที่ 3 จึง ผิดนัด ตั้งแต่ วันที่ 10 กันยายน 2532ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา อ้างว่า จำเลย ที่ 3 ควร รับผิด ตั้งแต่ วันที่ โจทก์ได้ ชำระ เงิน ให้การ ไฟฟ้า นครหลวง นั้น เห็นว่า การ ที่ โจทก์ มี ข้อตกลงให้การ ไฟฟ้า นครหลวง เป็น ผู้ ซ่อม โคมไฟฟ้า สาธารณะ เมื่อ เกิด ความเสียหายขึ้น และ โจทก์ จะ จ่ายเงิน ค่าซ่อม ให้การ ไฟฟ้า นครหลวง ไม่เกี่ยวกับจำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก เมื่อ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้เสียหายมี หนังสือ ทวงถาม ให้ จำเลย ที่ 3 ชำระ ค่าเสียหาย จำเลย ที่ 3 ไม่ชำระจึง ตกเป็น ผู้ผิดนัด ตั้งแต่ วันที่ พ้น กำหนด ระยะเวลา ที่ กำหนด ไว้ ตามที่ วินิจฉัย ข้างต้น
อนึ่ง คดี นี้ มี ทุนทรัพย์ 19,064.83 บาท แต่ ศาลอุทธรณ์ กำหนดค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน ใช้ แทน โจทก์1,000 บาท เกินกว่า อัตรา ที่ กำหนด ไว้ ตาม ตาราง 6 ท้าย ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง แม้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จะ มิได้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อ นี้ ศาลฎีกา ย่อม กำหนด ใหม่ ให้ ถูกต้อง ได้
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 3 ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ผิดนัด (วันที่ 10 กันยายน 2532) นอกจากที่ แก้ คง ให้ บังคับ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์