คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยผู้รับช่วงสิทธิไม่ได้นำสืบแจ้งชัดว่าจำเลยเป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อมากกว่า ว.การที่พนักงานสอบสวนทำบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีแม้เพียงเพื่อเปรียบเทียบปรับทั้งจำเลยและ ว. แต่เมื่อเอกสารนั้นมีข้อตกลงกันให้ต่างคนต่างซ่อมรถยนต์ที่เสียหายโดยที่ขณะนั้นเจ้าของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไม่ได้คัดค้านแสดงว่าเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยและ ว. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันจึงได้มีการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมีต่อกันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850-852และเท่ากับเจ้าของรถยนต์แสดงออกหรือยอมให้ ว. แสดงออกว่า ว.เป็นตัวแทนในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตามมาตรา821ส่วนที่มีการทำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีขึ้นอีกหนึ่งฉบับในภายหลังเมื่อจำเลยและเจ้าของรถยนต์ไม่ได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามที่ทำบันทึกไว้จึงไม่มีผลบังคับและไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ก่อนแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดในมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วในฐานะผู้รับช่วงสิทธิได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ รับประกัน ภัย รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน5ค-2020 กรุงเทพมหานคร จำเลย ขับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 1ร-7969กรุงเทพมหานคร ด้วย ความประมาท เป็นเหตุ ให้ ชน กับ รถ ที่ โจทก์ รับประกันภัย และ รถ ที่ โจทก์ รับประกัน ภัย เสียหาย โจทก์ ใน ฐานะ ที่ รับประกันภัย รถยนต์ คัน ดังกล่าว ได้ ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ นาย วิชัย วสีพันธ์พงศ์ ผู้เอาประกันภัย ตาม สัญญาประกันภัย เป็น เงิน 290,000บาท โจทก์ จึง รับช่วงสิทธิ ตาม กฎหมาย ขอให้ บังคับ จำเลย ใช้ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย นับแต่ วัน ละเมิด ถึง วันฟ้อง รวมเป็น เงิน311,750 บาท และ ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีใน ต้นเงิน 290,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า เหตุ ที่ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ชนกัน เป็น เพราะความประมาท เลินเล่อ ของ นาย วีระยุทธ แต่ ฝ่ายเดียว ต่อมา จำเลย ได้ ตกลง กับ นาย วีระยุทธ ว่าความ เสียหาย ของ รถ ทั้ง สอง คัน อัน เกิด การ ชน ปะทะ กัน ให้ ต่าง คน ต่าง ซ่อม รถยนต์ ของ ตนเอง และ ได้ ทำ เป็น ลาย ลัก ษณ์อักษร ต่อหน้า พนักงานสอบสวน ของ สถานีตำรวจนครบาล ดอนเมือง โจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า เอกสาร หมายล. 1 และ ล. 3 ไม่เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ข้อตกลง เรื่องค่าเสียหาย ยัง ไม่ ยุติ จำเลย ต้อง ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ใน ฐานะผู้รับช่วงสิทธิ นั้น คดี นี้ ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ได้ว่า จำเลย และนาย วีระยุทธ ต่าง ขับ รถยนต์ โดยประมาท และ จำเลย กับ นาย วีระยุทธ ถูก พนักงานสอบสวน เปรียบเทียบ ปรับ จำนวน 1,000 บาท และ 500 บาทตามลำดับ และ ได้ความ จาก ร้อยตำรวจโท อภิชาติ สุริบุญญา พนักงาน สอบสวน ที่ เป็น ผู้ เปรียบเทียบ ปรับ จำเลย และ นาย วีระยุทธ ว่า เหตุ ที่ ปรับ จำเลย มาก กว่า นาย วีระยุทธ เนื่องมาจาก นาย วีระยุทธ ได้รับ บาดเจ็บ ไม่ใช่ เพราะ จำเลย และ นาย วีระยุทธ มี ความประมาท แตกต่าง กัน ส่วน ค่าเสียหาย นั้น จำเลย และ นาย วีระยุทธ ได้ ตกลง กัน ต่าง คน ต่าง ซ่อม ซึ่ง นาย วิชัย เห็นชอบ ด้วย ร้อยตำรวจโท อภิชาติ จึง บันทึก ข้อตกลง ดังกล่าว และ การ เปรียบเทียบ ปรับ ไว้ ใน รายงาน ประจำวัน เกี่ยวกับคดี เอกสาร หมาย ล. 1 เห็นว่า โจทก์ ไม่ได้ นำสืบ แจ้งชัด ว่า จำเลย เป็นฝ่าย ขับ รถยนต์ โดยประมาท เลินเล่อ มาก กว่า นาย วีระยุทธ การ ที่ ร้อยตำรวจโท อภิชาติ เปรียบเทียบ ปรับ ทั้ง จำเลย และ นาย วีระยุทธ และ ค่าเสียหาย ของ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ได้ มี การ ตกลง กัน ให้ ต่าง คน ต่าง ซ่อมตาม เอกสาร หมาย ล. 1 โดย ที่ ขณะ นั้น นาย วิชัย เจ้าของ รถยนต์ ที่ โจทก์ รับประกัน ภัย และ เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย โดยตรง เกี่ยวกับรถยนต์ ที่ มี การ ชนกัน ไม่ได้ คัดค้าน แสดง ว่า เหตุ ที่ รถยนต์ ทั้ง สอง คันชนกัน เกิดจาก ความประมาท ของ จำเลย และ นาย วีระยุทธ ไม่ ยิ่งหย่อน กว่า กัน จึง ได้ มี การ ตกลง กัน ดังกล่าว เพื่อ ระงับ ข้อพิพาท ที่ เกิดขึ้นให้ เสร็จ ไป ด้วย ต่าง ยอม ผ่อนผัน ให้ แก่ กัน โดย การ สละ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ที่ จะ พึง มี ต่อ กัน ข้อตกลง ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 จึง เป็นสัญญา ประนีประนอม ยอมความ และ เป็น ผล ให้ มูลละเมิด ซึ่ง มี อยู่ ระงับสิ้นไป และ การ ที่นาย วิชัย ยินยอม ให้ นาย วีระยุทธ ตกลง ระงับ ข้อพิพาท ใน มูลละเมิด โดย การ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1เท่ากับ นาย วิชัย แสดง ออก หรือ ยอม ให้ นาย วีระยุทธ แสดง ออก ว่า นาย วีระยุทธ เป็น ตัวแทน ของ นาย วิชัย ใน การ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ดังกล่าว นาย วิชัย จึง ต้อง ผูกพัน และ รับ เอา ผล ของ การ ที่ นาย วีระยุทธ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1กับ จำเลย ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก ผู้สุจริต ที่ มีเหตุ ผล ควร เชื่อ ว่านาย วีระยุทธ เป็น ตัวแทน ของ นาย วิชัย ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 โจทก์ จะ อ้างว่า การ ตั้งตัวแทน ไม่ได้ ทำ เป็น หนังสือ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798ไม่ได้ และ ที่ โจทก์ อ้างว่า เหตุ ที่ มี การ ทำ เอกสาร หมาย ล. 1 เป็น เรื่องพนักงานสอบสวน มุ่ง เน้นการ ดำเนินคดี อาญา และ เปรียบเทียบ ปรับ นั้นเห็นว่า แม้ พนักงานสอบสวน จะ ทำ บันทึก รายงาน ประจำวัน เกี่ยวกับคดี เอกสาร หมาย ล. 1 เพื่อ เปรียบเทียบ ปรับ จำเลย และ นาย วีระยุทธ แต่เมื่อ เอกสาร หมาย ล. 1 ดังกล่าว มี ข้อตกลง ระหว่าง คู่กรณี ที่ มุ่งจะ ระงับ ข้อพิพาท ทางแพ่ง ที่ เกิดขึ้น แล้ว อัน มี ลักษณะ เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ รายงาน ประจำวัน เกี่ยวกับ คดี ตาม เอกสาร หมาย ล. 1จึง เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย ส่วน ที่ มีการ ทำ รายงาน ประจำวัน เกี่ยวกับ คดี ตาม เอกสาร หมาย ล. 3 ขึ้น อีกใน ภายหลัง โดย นาย วิชัย และ จำเลย ไป ตกลง กัน ใหม่ ใน เรื่อง ค่าเสียหาย ของ รถยนต์ ที่เกิดเหตุ ชนกัน ต่อหน้า พนักงานสอบสวน ว่า คู่กรณี ขอ ไปทำ ความ ตกลง กันเอง นั้น โจทก์ ก็ มิได้ นำ นาย วิชัย มา สืบ ว่า เหตุใด จึง มี การ ทำ ความ ตกลง กัน ใหม่ ตาม เอกสาร หมาย ล. 3 ข้อเท็จจริงจึง น่าเชื่อ ตาม คำเบิกความ ของ จำเลย ว่า เหตุ ที่ มี การ ทำ เอกสาร หมายล. 3 ขึ้น เนื่องมาจาก นาย วิชัย ขอร้อง จำเลย ให้ ทำ บันทึก เพิ่มเติม เพื่อ นาย วิชัย จะ ได้ ลงชื่อ และ นำ ไป เป็น หลักฐาน แสดง ต่อ โจทก์ เพื่อ ให้ โจทก์ รับผิด ตาม สัญญาประกันภัย เท่านั้น และ ได้ความ จาก จำเลยอีก ว่า หลังจาก ทำ เอกสาร หมาย ล. 3 แล้ว นาย วิชัย ไม่เคย มา ติดต่อ กับ จำเลย อีก เลย ย่อม แสดง ให้ เห็นชัด เจน ยิ่งขึ้น ว่า จำเลย และนาย วิชัย ไม่ได้ มี เจตนา ที่ จะ ผูกพัน กัน ตาม ที่ ทำ บันทึก ไว้ ตาม เอกสาร หมาย ล. 3 ข้อตกลง ตาม เอกสาร หมาย ล. 3 จึง ไม่มี ผลบังคับ แก่ จำเลยและ นาย วิชัย และ ไม่ กระทบ กระเทือน ถึง ความ สมบูรณ์ ของ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ที่ ทำ ไว้ ก่อน แล้ว และ เมื่อ มูลละเมิด ได้ ระงับ สิ้นไป เนื่องจาก สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม เอกสารหมาย ล. 1 ดัง ที่ ได้ วินิจฉัย ไว้ ใน ตอนต้น แล้ว โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้องจำเลย ให้ รับผิด ใน มูลละเมิด ที่ ระงับ สิ้นไป แล้ว ใน ฐานะ ผู้รับช่วงสิทธิได้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share