แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ย่อยาว
โจทย์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ เปนพนักงานคลังยุทธอาภรณ์พัศดุทหารเรือ จำเลยที่ ๓ เปนผู้รับจ้างตัดแลเย็บเครื่องแบบพลทหารเรือ มีเสื้อกางเกงแลหมวกเปนต้น สมคบกันยักยอกผ้าสีกากีของกระทรวงทหารเรือไปรวมผ้า ๑๑๓๘๔ ๑๐/๑๒ หลา ราคาเงิน ๖๑๗๗ บาท ๔๘ สตางค์ ครั้นวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ เจ้าพนักงานจับสีกากีของกลางได้จากจำเลยที่ ๓ รวมผ้า ๒๑๔๕ ๒๕/๓๐ หลา ขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณอาญามาตรา ๑๓๑ – ๑๓๒ – ๓๑๔ – ๓๑๙ แลขอให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์ที่ยังขาดอยู่ราคา ๔๗๒๖ บาท ฯ
จำเลยทั้ง ๓ คนให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิดดังข้อหา นายเสียนจำเลยที่ ๓ ให้การต่อสู้ว่า ผ้าสีกากีของกลางที่เจ้าพนักงานจับได้นั้นเปนผ้าของจำเลยได้ซื้อมาจากร้านผู้มีชื่อ ฯ
ทางพิจารณาโจทย์ไม่มีพยานว่าจำเลยทั้ง ๓ ได้ยักยอกผ้าสีกากีศาลคลังยุทธอาภรณ์ทหารเรือ แต่ได้ความว่าจำเลยที่ ๓ เปนผู้รับช่างตัดแลเย็นเครื่องแบบ คือ เสื้อกางเกงหมวกพลทหารเรือมา ๔ ปีแล้ว ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า ๕๐๐๐ สำรับ เวลาเจ้าพนักงานจะจ่ายผ้าสีกากีให้จำเลยมาตัดแลเย็บเครื่องแบบ ก็ได้ตรวจตราผ้านั้นเปนจำนวนแน่นอนแล้ว ทั้งเจ้าพนักงานได้คิดคำณวนด้วยว่าผ้าที่จ้ายไปนั้นจะทำเสื้อการเกงแลหมวกทหารเรือได้กี่สำรับ จึงมอบผ้านั้นให้แก่จำเลยไปตัดแลเย็บเครื่องแบบตามที่เจ้าพนักงานกำหนดให้ทำเปนจำนวนเท่านั้นสำรับ จำเลยก็รับผ้านั้นไปตัดแลเย็บเครื่องแบบทหารเรือมาส่งให้เจ้าพนักงานครบจำนวนตามที่เจ้าพนักงานต้องการ แต่หาได้มีสัญญากันถึงเศษผ้าที่เหลือจากตัดเครื่องแบบไม่ ก่อนเวลาที่เจ้าพนักงานจะไปจับผ้าของกลางที่จำเลยที่ ๓ นั้น โดยเจ้าพนักงานทราบว่ามีผ้าสีกากีของกระทรวงทหารเรือตกอยู่ที่ร้ายจำเลย เจ้าพนักงานจึงไปค้นที่ร้านจำเลยได้ผ้าสีกากีชนิดที่เรียกว่าผ้ามิดซุย ๑๐๐๐ หลา เปนผ้าที่กระทรวงทหารเรือสั่งมาจากห้างมิดซุยประเทศญี่ปุ่น มีตราช้างติดบนผืนผ้าเปนเครื่องหมาย แลเครื่องหมายของผ้าชนิดนี้ไม่มีของใครในกรุงเทพ ฯ นอกจากของกระทรวงทหารเรือ จำเลยให้การรับต่อเจ้าพนักงานตำรวจพระนครบาลชั้นไต่สวนว่า ผ้าของกลางสีกากีชนิดป้ามิตซุยนี้ เปนผ้าเหลือจากตัดเครื่องแบบทหารเรือ ครั้นจำเลยมาให้การที่ศาลกลับให้การอีกอย่างหนึ่ง ว่าเปนผ้าที่จำเลยซื้อมาจากร้านผู้มีชื่อ ฯ
ได้ความตามทางพิจารณาดังกล่าวนี้ ศาลพระราชอาญาพิพากษาว่าจำเลยทั้ง ๓ คนไม่ได้กระทำผิดดังข้อหา ให้ยกฟ้องโจทย์ปล่อยตัวจำเลยทั้ง ๓ คนไป ฯ
โจทย์อุทธรณ ศาลอุทธรณวินิจฉัยว่าควรฟังคำรับจำเลยที่ ๓ ชั้นไต่สวนว่าผ้าของกลางชนิดผ้ามิตซุย ๑๐๐๐ หลา เปนผ้าที่เหลือจากตัดเครื่องแบบทหารเรือ จำเลยเบียดบังไว้เปนประโยชน์ส่วนตน จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลพระราชอาญาว่านายเสียนจำเลยที่ ๓ คนเดียวมีความผิดฐานยักยอกตามกฎหมายลักษณอาญามาตรา ๓๑๔ ให้จำคุกนายเสียนจำเลยที่ ๓ มีกำหนด ๑ ปี ให้คืนผ้าของกลางชนิดผ้ามิตซุย ๑๐๐๐ หลาให้กระทรวงทหารเรือ ข้อความอื่นนอกจากนี้ยืนตามศาลเดิม ฯ
นายเสียนจำเลยที่ ๓ ผู้เดียวทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาคัดค้านว่าไม่ควรฟังคำรับของจำเลยชั้นไต่สวนขึ้นวินิจฉัยคดีเรื่องนี้ ฯ
กรรมการศาลฎีกาได้ตรวจสำนวนเรื่องนี้ตลอดแล้ว ในชั้นฎีกานี้คงมีปัญหาแต่คดีส่วนตัวจำเลยที่ ๓ คนเดียว ในทางพิจารณาไม่ได้ความว่าจำเลยที่ ๓ ได้คบคิดกับจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยักยอกผ้าสีกากีไปจากคลังยุทธอาภรณ์ทหารเรือเปนจำนวนผ้าถึง ๑๑๓๘๔ หลาดังฟ้องโจทย์ ทั้งศาลล่างได้พิพากษาต้องกันมาแล้วว่า จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ซึ่งเปนพนักงานคลังยุทธอาภรณ์ทหารเรือมิได้กระทำความผิด แต่มาได้ความจริงว่าจำเลยที่ ๓ เปนผู้รับจ้างตัดแลเย็บเครื่องแบบพลทหารเรือ แลมีผ้าสีกากีของกระทรวงทหารเรือเหลืออยู่ที่จำเลย ส่วนวิธีการที่ได้ประพฤติกันมาคงได้ความว่า เมื่อเวลาเจ้าพนักงานจะมอบผ้าให้จำเลยตัดแลเย็บเครื่องแบบ เจ้าพนักงานได้คิดคำณวนดูผ้าที่มอบให้จำเลยไปนั้นจะตัดแลเย็บเครื่องแบบได้กี่สำรับ ก็ให้จำเลยตัดแลเย็บเครื่องแบบให้ถูกต้องตามตัวอย่างมาให้เท่านั้นสำรับ จำเลยก็ได้ทำถูดต้องกับตัวอย่างตามความประสงค์ของเจ้าพนักงานโดยครบถ้วนแล้ว ความประพฤติระหว่างเจ้าพนักงานกับจำเลยมาดังนี้ถึง ๔ ปีมิได้กล่าวถึงผ้าที่เหลือจากตัดเครื่องแบบเลย จำเลยอาจเข้าใจว่าผ้าที่เหลือนั้นจะเปนของจำเลยก็ได้แต่เหตุที่ผ้าสีกากีเหลืออยู่ที่จำเลยมากถึงเพียงนี้นั้น ก็ได้ความว่าจำเลยรับทำเครื่องแบบพลทหารเรือมาหลายปีแล้ว ทั้งได้ทำเปนจำนวนมากด้วย น่าจะเห็นได้ว่าเหตุที่ผ้าเหลือนี้อาจเปนโดยวิชาของจำเลยในการตัดแลเย็บผ้า คือ มีเศษผ้าเหลืออยู่คราวละน้อย ต่อเมื่อนำมามากคราวขึ้นจำเลยคงจะได้เอาเศษผ้านั้นมาใช้ทดแทนจึงได้มีผ้าที่ดีทั้งผืนฤาทั้งพับมากขึ้น เมื่อข้อเท็จจริงลงความสันนิษฐานได้ดังกล่าวมานี้ คดียังไม่พอจะชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานยักยอกดังข้อหา คงมีปัญหาอยู่แต่ว่าป้าของกลางนี้จะควรเปนของฝ่ายใด ตามปัญหาข้อนี้พร้อมกันเห็นว่า เมื่อจำเลยผู้รับจ้างไม่มีสัญญาแก่ผู้จ้างเปนพิเศษว่าเศษผ้าที่เหลือตัดให้เปนของจำเลยแล้ว ตามธรรมดาผ้าที่เหลือต้องเปนของผู้จ้าง เพราะจำเลยได้รับประโยชน์เปนเงินค่าจ้างจากผู้จ้างต่างหากแล้ว อาศรัยเหตุนี้ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณข้อที่ลงโทษจำเลยที่ ๓ นั้นเสีย ให้ปล่อยตัวจำเลยที่ ๓ ไปตามคำพิพากษาศาลพระราชอาญา แต่ให้ผ้าสีกากีชนิดผ้ามิตซุยที่ได้มาจากจำเลย ๑๐๐๐ หลานั้นเปนของกระทรวงทหารเรือ ฯ
วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๓