แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ไม่มีพยานที่รู้เห็นว่าจำเลยลักเอาสมุดฝากเงินธนาคารและหนังสือใบสุทธิประจำตัวของผู้เสียหายและปลอมเอกสารใบถอนเงินและหนังสือมอบฉันทะให้รับเงินจากธนาคารไปโดยคำเบิกความของผู้เสียหายที่ว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวก็เป็นเพียงการคาดคะเนส่วนพฤติการณ์ที่จำเลยไม่สามารถนำ จ.ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของผู้เสียหายตามที่ได้กล่าวอ้างว่า จ. ได้ไปพบจำเลยโดยนำเอกสารและหลักฐานดังกล่าวของผู้เสียหายไปให้จำเลยช่วยถอนเงินให้โดยบอกว่าผู้เสียหายป่วยหรือหลังจากจำเลยเบิกเงินแล้วไม่รีบนำเงินไปมอบให้ผู้เสียหายทันทีและเมื่อถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดมารดาบุญธรรมจำเลยก็ยินยอมคืนเงินให้ผู้เสียหายโดยดีก็จะถือเป็นข้อพิรุธและฟังเป็นผลร้ายหาได้ไม่จึงมีเหตุสงสัยตามควรว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91, 264, 268, 335, 357 ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์จำนวน 4 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 วรรคแรก 268 วรรคแรก 334 ให้ เรียง กระทง ลงโทษ ทุกกรรมเป็น กระทง ความผิด ไป ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐาน ปลอมเอกสาร และ ใช้ เอกสารปลอม ให้ ลงโทษ ฐาน ใช้ เอกสารปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง ประกอบ ด้วย มาตรา 264 วรรคแรกจำคุก 1 ปี ฐาน ลักทรัพย์ จำคุก 1 ปี รวม ลงโทษ จำคุก 2 ปี ให้ จำเลยคืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ 4 บาท แก่ ผู้เสียหาย คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ อนุญาตให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา จำเลย ว่า จำเลย ได้ กระทำ ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ ปลอมเอกสารและ ใช้ เอกสารปลอม หรือไม่ โจทก์ ไม่มี พยาน ที่ รู้เห็น ว่า จำเลย ลักทรัพย์ของ ผู้เสียหาย และ ปลอมเอกสาร ใบ ถอนเงิน และ หนังสือ มอบฉันทะ ให้ รับ เงินจาก ธนาคาร ศรีนคร จำกัด ที่ ผู้เสียหาย เข้าใจ ว่า จำเลย ลักทรัพย์ ของ ผู้เสียหาย และ ปลอม ลายมือชื่อ ผู้เสียหาย ใน ใบ ถอนเงินและ หนังสือ มอบฉันทะ ให้ รับ เงิน จาก ธนาคาร ศรีนคร จำกัด แล้ว ใช้ เอกสารปลอม ดังกล่าว เบิก เอา เงิน จาก บัญชี เงินฝาก ของ ผู้เสียหาย นั้นก็ เนื่องจาก ใน ระหว่าง วันที่ 10 และ 11 พฤศจิกายน 2530 ตอน เช้าซึ่ง เป็น วัน เวลา เกิดเหตุ จำเลย ได้ ไป นั่ง คุย กับ ผู้เสียหาย ที่ กุฎิต่อมา วันที่ 13 พฤศจิกายน 2530 ผู้เสียหาย ทราบ ว่า สมุดฝากเงินธนาคาร ศรีนคร จำกัด สาขา ห้วยขวาง และ หนังสือ ใบสุทธิ ประจำตัว ของ ผู้เสียหาย หาย ไป ประกอบ กับ เมื่อ ไป ตรวจสอบ บัญชี เงินฝากของ ผู้เสียหาย ที่ ธนาคาร ศรีนคร จำกัด สาขา ห้วยขวาง ก็ ปรากฏว่า จำเลย เป็น ผู้ลงชื่อ เป็น ผู้รับมอบฉันทะ จาก ผู้เสียหาย ให้ ถอนเงิน จากบัญชี เงินฝาก ของ ผู้เสียหาย ไป จึง เข้าใจ ว่า จำเลย กระทำ ความผิดดังกล่าว เห็นว่า ตาม คำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย เป็น เพียง การ คาดคะเนจะ ฟัง เอา เป็น แน่นอน ใน ทางใดทางหนึ่ง ไม่ได้ ที่ สิบตำรวจโท ไพฑูรย์ งามลาภ เบิกความ ว่า จำเลย ได้ ให้การรับสารภาพ ชั้น จับกุม นั้น ก็ ปรากฏว่า จำเลย มิได้ ลงชื่อ ใน บันทึก การ จับกุม ตาม เอกสาร หมาย จ. 4แต่อย่างใด จึง ไม่อาจ ฟัง ประกอบ คำของ สิบตำรวจโท ไพฑูรย์ ให้ มี น้ำหนัก ขึ้น ได้ ทั้ง โจทก์ ไม่มี พยานหลักฐาน ยืนยัน ว่า จำเลยเป็น ผู้ ปลอม ลายมือชื่อ ผู้เสียหาย ใน เอกสาร ดังกล่าว และ ข้อ นี้ จำเลยก็ นำสืบ ว่า วัน เวลา เกิดเหตุ นาย จิระศักดิ์ หรือ อึ่ง ลูก ศิษย์ของ ผู้เสียหาย ได้ ไป พบ จำเลย ที่ บ้าน และ นำ สมุดฝากเงิน ธนาคาร ศรีนคร จำกัด สาขา ห้วยขวาง หนังสือ ใบสุทธิ ประจำตัว และ หนังสือ มอบฉันทะ ให้ รับ เงิน จาก ธนาคาร ศรีนคร จำกัด ของ ผู้เสียหาย ไป ให้ จำเลย ช่วย ถอนเงิน บอก ว่า ผู้เสียหาย ป่วย นาย จิระศักดิ์ หรือ อึ่ง ไม่มี บัตรประจำตัวประชาชน จึง ให้ จำเลย ลงชื่อ ผู้รับมอบฉันทะ ถอนเงิน แทนซึ่ง เป็น การ โต้แย้ง และ ยัน กัน อยู่ ใน คดีอาญา นั้น โจทก์ จะ ต้อง นำสืบข้อเท็จจริง ให้ ฟังได้ โดย ปราศจาก ข้อสงสัย ว่า จำเลย เป็น ผู้กระทำผิด จริงพฤติการณ์ ที่ จำเลย ไม่สามารถ นำสืบ นาย จิระศักดิ์หรืออึ่ง ที่ จำเลย อ้าง ถึง หลังจาก จำเลย เบิกเงิน จาก ธนาคาร แล้ว ไม่ รีบ นำ เงิน ไป มอบให้ ผู้เสียหาย ทันที และ เมื่อ ถูก กล่าวหา ว่า จำเลย กระทำ ความผิดมารดา บุญ ธรรม จำเลย ก็ ยินยอม คืนเงิน ให้ ผู้เสียหาย โดย ดี ไม่ได้โต้แย้ง หรือ คัดค้าน นั้น จะ ถือ เป็น ข้อ พิรุธ และ ฟัง เอา เป็น ผล ร้าย แก่จำเลย หาได้ไม่ ทั้ง หาก จำเลย เป็น คน ลักทรัพย์ ของ ผู้เสียหายและ ปลอม ลายมือชื่อ ผู้เสียหาย ใน ใบ ถอนเงิน และ หนังสือ มอบฉันทะให้ รับ เงิน จาก ธนาคาร ศรีนคร จำกัด เอง หรือ จำเลย ทราบ ว่า ลายมือชื่อ ผู้เสียหาย ใน เอกสาร ดังกล่าว ปลอม ก็ ไม่ น่าเชื่อ ว่า จำเลย จะ กล้า ใช้เอกสาร นั้น เบิก ถอนเงิน จาก ธนาคาร โดย ลงชื่อ เป็น ผู้รับมอบฉันทะและ มอบ บัตรประจำตัวประชาชน ของ ตน ให้ ธนาคาร ถ่าย สำเนา ไว้เป็น หลักฐาน ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 เพราะ จะ เป็น หลักฐาน ผูกมัดและ โยง ไป ถึง จำเลย ว่า เป็น ผู้กระทำ ความผิด ได้ โดย ง่าย อัน ไม่ใช่วิสัย ของ คนร้าย ที่ จะ กระทำ เช่นนั้น คดี โจทก์ มีเหตุ สงสัย ตาม ควร ว่าจำเลย กระทำ ความผิด ดังกล่าว หรือไม่ ต้อง ยก ประโยชน์ แห่ง ความ สงสัยให้ แก่ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา จำเลยฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง