คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ผู้ร้องฟ้องและถอนฟ้องจำเลยไปโดยไม่ปรากฎข้อความในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการแล้วต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ในคดีนี้อีกแม้ว่าผู้ร้องอาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้โดยไม่จำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการก็ตามแต่พฤติการณ์ที่ผู้ร้องเพิ่งจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หลังจากที่ได้ถอนฟ้องคดีเดิมไปแล้วเป็นระยะเวลานานกว่า10เดือนเห็นได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาที่จะถอนฟ้องจำเลยเด็ดขาดแล้วตั้งแต่ต้นความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา36การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการเท่ากับนำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่จึงต้องห้าม

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น สืบพยานโจทก์ แล้ว เสร็จ และ ระหว่าง นัด สืบพยานจำเลย นั้น นาย ปัญญา ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง อ้างว่า เป็น ผู้เสียหาย ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ โจทก์ และ จำเลย คัดค้าน การ ขอ เข้าร่วม เป็นโจทก์ ของ ผู้ร้อง ศาลชั้นต้น ฟัง คำแถลง ของ โจทก์ จำเลย แล้ว ยกคำร้องของ ผู้ร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ตาม ฎีกา ผู้ร้อง มี ว่า ผู้ร้อง จะ เข้าร่วม เป็น โจทก์ กับ พนักงานอัยการ โจทก์ ใน คดี นี้ ตาม คำร้อง ได้ หรือไม่ผู้ร้อง ฎีกา ว่าการ ที่ ผู้ร้อง ถอนฟ้อง นั้น ไม่จำต้อง ระบุ ใน คำร้อง ว่าการ ที่ ผู้ร้อง ถอนฟ้อง นั้น ไม่จำต้อง ระบุ ใน คำร้อง ว่า จะ ถอน ไป เพื่อ เข้าเป็น โจทก์ร่วม กับ พนักงานอัยการ ก็ มีสิทธิ ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์กับ พนักงานอัยการ นั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 36 บัญญัติ ว่า คดีอาญา ซึ่ง ได้ ถอนฟ้อง ไป จาก ศาล แล้ว จะ นำ มาฟ้อง อีก หาได้ไม่ เว้นแต่ จะ เข้า อยู่ ใน ข้อยกเว้น ต่อไป นี้
(1) ถ้า พนักงานอัยการ ได้ ยื่นฟ้อง คดีอาญา ซึ่ง ไม่ใช่ ความผิดต่อ ส่วนตัว ไว้ แล้ว ได้ ถอนฟ้อง คดี นั้น ไป การ ถอน นั้น ไม่ ตัด สิทธิผู้เสียหาย ที่ จะ ยื่นฟ้อง คดี นั้น ใหม่
(2) ถ้า พนักงานอัยการ ถอน คดี ซึ่ง เป็น ความผิดต่อส่วนตัว ไปโดย มิได้ รับ ความ ยินยอม เป็น หนังสือ จาก ผู้เสียหาย การ ถอน นั้น ไม่ตัด สิทธิ ผู้เสียหาย ที่ จะ ยื่นฟ้อง คดี นั้น ใหม่
(3) ถ้า ผู้เสียหาย ได้ ยื่นฟ้อง คดีอาญา ไว้ แล้ว ได้ ถอนฟ้อง คดีนั้น เสีย การ ถอนฟ้อง นี้ ไม่ ตัด สิทธิ พนักงานอัยการ ที่ จะ ยื่นฟ้องคดี นั้น ใหม่ เว้นแต่ คดี ซึ่ง เป็น ความผิดต่อส่วนตัว
ปรากฎ ว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 26 กรกฎาคม 2536 ส่วนคดี ของ ผู้ร้อง ผู้ร้อง ฟ้อง และ ถอนฟ้อง จำเลย ไป เมื่อ วันที่ 8 ตุลาคม2536 โดย ไม่ ปรากฎ ข้อความ ใน คำร้องขอ ถอนฟ้อง ว่า ถอน ไป เพื่อ ขอเข้าร่วม เป็น โจทก์ กับ พนักงานอัยการ ต่อมา วันที่ 30 สิงหาคม 2537ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ กับ พนักงานอัยการ โจทก์ใน คดี นี้ ดังนี้ แม้ ว่า ผู้ร้อง อาจ ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ กับพนักงานอัยการ ได้ โดย ไม่จำต้อง กล่าว หรือ มี ข้อ แม้ ใน คำร้องขอ ถอนฟ้องว่า ถอน ไป เพื่อ ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ กับ พนักงานอัยการ ก็ ตาม แต่พฤติการณ์ ที่ ผู้ร้อง เพิ่ง จะ ยื่น คำร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ หลังจากที่ ได้ ถอนฟ้อง คดี เดิม ไป แล้ว เป็น ระยะเวลา นาน กว่า 10 เดือน เห็นได้ว่า ผู้ร้อง มี เจตนา ที่ จะ ถอนฟ้อง จำเลย เด็ดขาด แล้ว ตั้งแต่ ต้น ตามความหมาย ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 สิทธินำ คดีอาญา มา ฟ้อง ของ ผู้ร้อง จึง ระงับ ไป แล้ว ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) เมื่อ ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์กับ พนักงานอัยการ เท่ากับ นำ คดี มา ฟ้อง จำเลย ใหม่ อีก จึง ต้องห้ามตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ”
พิพากษายืน

Share