คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

สัญญา ข้าราชการไป ศึกษาต่อภายในประเทศและสัญญาขยายระยะเวลาศึกษาต่ออีก2ฉบับมีข้อความอย่างเดียวกันจะต่างกันก็แต่รายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จำเลยลาไปศึกษาต่อตามที่ได้ขอขยายจากกำหนดเดิมออกไปและอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญาเท่านั้นและสัญญาแต่ละฉบับไม่มีข้อความเท้าถึงกันซึ่งตามสัญญาและสัญญาขยายระยะเวลาครั้งแรกระบุดอกเบี้ยของเงินที่ต้องชำระอัตราร้อยละ15ต่อปีส่วนสัญญาฉบับสุดท้ายคิดดอกเบี้ยในกรณีเดียวกันอัตราร้อยละ12ต่อปีดังนี้การที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยขยายเวลาศึกษาต่อโดยได้ทำสัญญาขยายระยะเวลาฉบับสุดท้ายนั้นจึงมีผลทำให้จำเลยมิต้องตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเดิมที่ทำกันไว้กับมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญาจากเดิมร้อยละ15ต่อปีมาเป็นร้อยละ12ต่อปีกรณีนี้เมื่อสัญญาทั้งสามฉบับได้ทำต่อเนื่องกันมาโดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาแต่ละฉบับแตกต่างกันอย่างชัดเจนซึ่งอาจตีความได้สองนัยว่าจะบังคับตามสัญญาฉบับใดเป็นเรื่องที่จะต้อง ตีความ เจตนาของคู่สัญญาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาเป็นสำคัญยิ่งกว่าตัวอักษรการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลดหย่อนจากอัตราเดิมที่ทำกันไว้นั้นจะว่าไม่มีผลใช้บังคับเลยนั้นไม่ได้รูปคดีมีเหตุให้ตีความได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะผ่อนผันให้แก่กันโดยมีความประสงค์จะบังคับตามสัญญาฉบับสุดท้ายเมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์จะยกเอาเจตนาเดิมมาลบล้างสัญญาซึ่งโจทก์กับจำเลยทำกันโดยตกลงกันใหม่หาได้ไม่จำเลยจึงมีความผูกพันต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ12ต่อปีดังระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย รับ ราชการ ใน สังกัด โจทก์ ใน ตำแหน่ง อาจารย์ 1วิทยาลัยครู มหาสารคาม กรม การ ฝึกหัด ครู ต่อมา จำเลย ได้ ทำ สัญญาไป ศึกษา ต่อ ภายใน ประเทศ ที่ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ตั้งแต่ วันที่ 15 มิถุนายน 2519 โดย มี ข้อ สัญญา ว่า เมื่อ จำเลยสำเร็จ การศึกษา แล้ว จำเลย จะ กลับ เข้า รับ ราชการ และ จะ ปฏิบัติ ราชการต่อไป อีก เป็น เวลา ไม่ น้อยกว่า 2 เท่า ของ เวลา ที่ จำเลย รับ เงินเดือนระหว่าง ที่ ไป ศึกษา ต่อ หาก ผิดสัญญา จำเลย ยินยอม ชดใช้ เงินทุน และ หรือเงินเดือน ลดลง ตาม ส่วน ของ เวลา ที่ จำเลย รับ ราชการ ไป แล้ว และเบี้ยปรับ อีก 1 เท่า ของ เงิน ที่ ต้อง ชดใช้ ดังกล่าว แก่ โจทก์ ภายใน30 วัน นับแต่ วันที่ ได้รับ แจ้ง จาก โจทก์ หาก ผิดนัด จำเลย ยอม ให้คิด ดอกเบี้ย จาก เงิน ที่ ยัง ไม่ได้ชำระ อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี หลังจากจำเลย ได้ ทำ สัญญา ลา ไป ศึกษา ต่อ ภายใน ประเทศ แล้วแต่ เรียน ไม่สำเร็จจำเลย ได้ ทำ สัญญา ขออนุญาต ลา ศึกษา ต่อ อีก 2 ครั้ง จน กระทั่งสำเร็จ การศึกษา และ ได้ กลับมา เข้า รับ ราชการ ใน ตำแหน่ง และ สังกัด เดิมแต่ จำเลย รับ ราชการ ไม่ครบ ตาม กำหนด ใน สัญญา ก็ ถูก ไล่ออก จาก ราชการเป็น การ ผิดสัญญา จำเลย จึง ต้อง ชำระ เงิน แก่ โจทก์ เป็น เงิน 145,658.78บาท แต่ โจทก์ ได้รับ ชำระหนี้ จาก ผู้ค้ำประกัน บางส่วน แล้ว คงเหลือเงิน ที่ จำเลย จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ จำนวน 51,704.66 บาท ขอให้ บังคับจำเลย ชำระ เงิน จำนวน 51,704.66 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ที่ ค้างชำระอัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี เป็น เวลา 5 ปี เป็น เงิน 38,778.50 บาทรวมเป็น เงิน 90,483.16 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ15 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 51,704.66 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 82,727.45 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 12 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 51,704.66 บาทนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า ก่อน ที่จำเลย จะ ลา ไป ศึกษา ต่อ นั้น โจทก์ กับ จำเลย ได้ ทำ สัญญา ข้าราชการไป ศึกษา ต่อ ภายใน ประเทศ กัน ไว้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 ต่อมา จำเลยขออนุญาต ลา ศึกษา ต่อ อีก 2 ครั้ง และ ได้ ทำ สัญญา ตาม เอกสาร หมาย จ. 2และ จ. 3 โดย ลำดับ สัญญา ที่ ทำ ขึ้น ภายหลัง มี ลักษณะ ทำ ต่อเนื่อง กัน มาเพื่อ เป็น หลักฐาน แสดง ว่า จำเลย มิได้ ขาด ราชการ เท่านั้น จึง ต้อง ถือเอาสัญญา เอกสาร หมาย จ. 1 เป็น หลัก ใน การ บังคับ ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี คดี นี้ เป็น คดี ที่ ฎีกา ได้ เฉพาะ ใน ปัญหาข้อกฎหมายการ วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ศาลฎีกา จึง ต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวนซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ฟัง ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ ว่า จำเลย ซึ่ง รับ ราชการใน สังกัด โจทก์ ได้รับ อนุญาต ให้ ลา ไป ศึกษา ต่อ ภายใน ประเทศ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2519 โจทก์ กับ จำเลย ได้ ทำ สัญญา ขึ้น ฉบับ แรกตาม เอกสาร หมาย จ. 1 ต่อมา มี การ ขอ ขยาย ระยะเวลา ศึกษา ต่อ ถึง 2 ครั้งโจทก์ กับ จำเลย จึง ได้ ทำ สัญญา กัน อีก ใน โอกาส ที่ มี การ ขอ ขยาย ระยะเวลาดังกล่าว ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 และ จ. 3 โดย ลำดับ ซึ่ง ตาม สัญญา ดังกล่าวเมื่อ สำเร็จ การศึกษา แล้ว จำเลย ต้อง กลับ เข้า ปฏิบัติ ราชการ เป็น เวลาไม่ น้อยกว่า 2 เท่า ของ เวลา ที่ ลา ไป ศึกษา ต่อ หาก ผิดสัญญา รวมทั้งกรณี ประพฤติ ผิด วินัย ถูก ไล่ออก จำเลย ต้อง ชดใช้ เงินทุน และ เบี้ยปรับพร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ปรากฏว่า เมื่อ จำเลย สำเร็จ การศึกษา แล้วได้ กลับ เข้า ปฏิบัติ ราชการ ใน ตำแหน่ง เดิม อยู่ ระยะ หนึ่ง แล้ว ถูก ไล่ออกคิด ระยะเวลา ที่ จำเลย กลับ เข้า ปฏิบัติ ราชการ แล้ว ยัง ไม่ครบ ตามกำหนด เวลา ใน สัญญา จำเลย จะ ต้อง ชดใช้ เงินทุน และ เบี้ยปรับ เมื่อ คิด หักลดลง ตาม ส่วน และ หักเงิน ที่ ผู้ค้ำประกัน ชำระ แทน บางส่วน แล้วจำเลย ยัง คง ค้างชำระ แก่ โจทก์ อีก 51,704.66 บาท ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัยใน ชั้น นี้ คง มี ว่า จำเลย จะ ต้อง ชำระ ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ใน ต้นเงินดังกล่าว เพียงใด เห็นว่า ตาม สัญญา ทั้ง สาม ฉบับ ดังกล่าว มี ข้อความอย่างเดียว กัน จะ ต่างกัน ก็ แต่ รายละเอียด เกี่ยวกับ ช่วง เวลา ที่จำเลย ลา ไป ศึกษา ต่อ ตาม ที่ ได้ ขอ ขยาย จาก กำหนด เดิม ออก ไป และ อัตราดอกเบี้ย ที่ ระบุ ใน สัญญา เท่านั้น และ สัญญา แต่ละ ฉบับ ไม่มี ข้อความเท้า ถึง กัน ซึ่ง ตาม สัญญา เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 ระบุ ดอกเบี้ยของ เงิน ที่ ต้อง ชำระ อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ส่วน สัญญา เอกสาร หมาย จ. 3ซึ่ง ทำ ขึ้น เป็น ฉบับ สุดท้าย คิด ดอกเบี้ย ใน กรณี เดียว กัน อัตรา ร้อยละ12 ต่อ ปี ดังนี้ การ ที่ โจทก์ อนุญาต ให้ จำเลย ขยายเวลา ศึกษา ต่อโดย ได้ ทำ สัญญา เอกสาร หมาย จ. 3 นั้น จึง มีผล ทำให้ จำเลย มิต้องตกเป็น ฝ่าย ผิดสัญญา เดิม ที่ ทำ กัน ไว้ กับ มีผล เป็น การ เปลี่ยนแปลงอัตรา ดอกเบี้ย ใน สัญญา จาก เดิม ร้อยละ 15 ต่อ ปี มา เป็น ร้อยละ 12 ต่อ ปีกรณี นี้ เมื่อ สัญญา ทั้ง สาม ฉบับ ได้ ทำ ต่อเนื่อง กัน มา โดย ระบุ อัตราดอกเบี้ย ไว้ ใน สัญญา แต่ละ ฉบับ แตกต่าง กัน อย่าง ชัดเจน ซึ่ง อาจ ตีความได้ สอง นัย ว่า จะ บังคับ ตาม สัญญา ฉบับ ใด เป็น เรื่อง ที่ จะ ต้อง ตีความเจตนา ของ คู่สัญญา โดย เพ่งเล็ง ถึง เจตนา อัน แท้จริง ของ คู่สัญญาเป็น สำคัญ ยิ่งกว่า ตัวอักษร เห็นว่า การ เปลี่ยนแปลง อัตรา ดอกเบี้ยให้ ลดหย่อน จาก อัตรา เดิม ที่ ทำ กัน ไว้ นั้น จะ ว่า ไม่มี ผล ใช้ บังคับ เลยนั้น ไม่ได้ รูปคดี มีเหตุ ตีความ ได้ว่า คู่สัญญา มี เจตนา จะ ผ่อนผันให้ แก่ กัน โดย มี ความ ประสงค์ จะ บังคับ ตาม สัญญา ฉบับ สุดท้าย เมื่อ เป็นเช่นนี้ โจทก์ จะ ยก เอา เจตนา เดิม มา ลบล้าง สัญญา ซึ่ง โจทก์ กับ จำเลยทำ กัน โดย ตกลง กัน ใหม่ หาได้ไม่ จำเลย จึง มี ความผูกพัน ชำระ ดอกเบี้ยของ ต้นเงิน ดังกล่าว ใน อัตรา ร้อยละ 12 ต่อ ปี ดัง ระบุ ไว้ ใน สัญญาเอกสาร หมาย จ. 3 เท่านั้น
พิพากษายืน

Share