แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
หลังจากจำเลยที่1ทำสัญญาเช่าซื้อรถขุดจากโจทก์แล้วจำเลยที่1ก็ชำระค่าเช่าซื้องวดแรกให้แก่โจทก์ตามกำหนดโดยขณะนั้นรถที่เช่าซื้อได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเอาไว้เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติเหมืองแร่ฯโจทก์สมัครใจทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่1ใหม่โดยสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองทำก่อนถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดที่สองตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกข้อความตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีการเปลี่ยนแปลงยอดเงินที่จะต้องชำระราคาเช่าซื้อกันทั้งหมดตลอดจนจำนวนเงินที่จำเลยที่1จะต้องผ่อนชำระในแต่ละงวดซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการชำระหนี้อันเป็นการเปลี่ยนสิ่งสาระสำคัญแห่งหนี้แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองรถขุดที่เช่าซื้อถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปแล้วแต่ก็แสดงความประสงค์ของโจทก์กว่ามีเจตนาเพียงต้องการได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้นจึงได้ทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่1ชำระเงินแต่ละงวดเพื่อระงับหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกโดยให้ใช้สัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองแทนจึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่สัญญาเช่าซื้อฉบับแรกเมื่อระงับไปแล้วก็ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกอีก
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 2,763,128.46 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี จากต้นเงิน 1,800,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27กรกฎาคม 2534 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์คำขอนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฎีกาจำเลยที่ 2 ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฎีกาเฉพาะจำเลยที่ 2 จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความของศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2529 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถขุดจากโจทก์ในราคา 2,200,000 บาท จำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าในวันทำสัญญาเป็นเงิน 200,000 บาท ส่วนที่เหลือตกลงผ่อนชำระ 10 งวด ติดต่อกันไปงวดละ 200,000 บาทต่อเดือนโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรบผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 ตามลำดับภายหลังทำสัญญาเช่าซื้อ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2530 จำเลยที่ 1นำรถขุดที่เช่าซื้อไปกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติเหมืองแร่ พ.ศ. 2510จนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพร้อมกับยึดรถขุดดังกล่าวไว้เป็นของกลางและจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้องวดแรกประจำวันที่ 25 มกราคม 2530ให้แก่โจทก์ ครั้นวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2530 โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สอง โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเช่นเดิม ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย ล.1 จากนั้นโจทก์ไปยึดรถขุดที่เช่าซื้อคืนในวันที่ 2 พฤษภาคม 2530 อ้างว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และนำไปให้บุคคลอื่นเช่าซื้อต่อ เมื่อวันที่ 5กุมภาพันธ์ 2531 ศาลจังหวัดตราดมีคำพิพากษาในริบรถขุดของกลางเจ้าพนักงานตำรวจจึงยึดรถขุดคืนจากผู้เช่าซื้อ โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนรถขุดของกลาง ศาลจังหวัดตราดได้ยกคำร้องของโจทก์ ตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย จ.13 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่เห็นว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถขุดจากโจทก์ ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกเอกสารหมาย จ.4 แล้วจำเลยที่ 1 ก็ชำระค่าเช่าซื้องวดแรกให้แก่โจทก์ตามกำหนดโดยขณะนั้นรถขุดที่เช่าซื้อได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเอาไว้เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติเหมืองแร่ พ.ศ. 2510ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่าโจทก์จะรู้ถึงการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ดังจะเห็นได้ว่าโจทก์สมัครใจทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 ใหม่ ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองเอกสารหมาย ล.1 โดยสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองทำก่อนถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดที่สองตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกและเมื่อพิจารณาถึงข้อความตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีการเปลี่ยนแปลงยอดเงินที่จะต้องชำระราคาค่าเช่าซื้อกันทั้งหมดตลอดจนจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องผ่อนชำระในแต่ละงวดซึ่งเป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขในการชำระหนี้ อันเป็นการเปลี่ยนสิ่งสาระสำคัญแห่งหนี้ แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สอง ตามเอกสารหมาย ล.1 รถขุดที่เช่าซื้อ ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปแล้ว แต่ก็แสดงความประสงค์ของโจทก์ว่ามีเจตนาเพียงต้องการได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้นจึงได้ทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแต่ละงวดเพื่อระงับหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกสารบบความของศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2529 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถขุดจากโจทก์ในราคา 2,200,000 บาท จำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าในวันทำสัญญาเป็นเงิน 200,000 บาทส่วนที่เหลือตกลงผ่อนชำระ 10 งวด ติดต่อกันไปงวดละ 200,000 บาทต่อเดือน โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.4 และจ.5 ตามลำดับ ภายหลังทำสัญญาเช่าซื้อ เมื่อวันที่ 22 มกราคม2530 จำเลยที่ 1 นำรถขุดที่เช่าซื้อไปกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติเหมืองแร่ พ.ศ. 2510 จนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพร้อมกับยึดรถขุดดังกล่าวไว้เป็นของกลาง และจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้องวดแรกประจำวันที่ 25 มกราคม 2530 ให้แก่โจทก์ ครั้นวันที่19 กุมภาพันธ์ 2530 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สอง โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเช่นเดิม ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย ล.1 จากนั้นโจทก์ไปยึดรถขุดที่เช่าซื้อคืนในวันที่ 2 พฤษภาคม 2530 อ้างว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และนำไปให้บุคคลอื่นเช่าซื้อต่อ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2531ศาลจังหวัดตราดมีคำพิพากษาให้ริบรถขุดของกลางเจ้าพนักงานตำรวจจึงยึดรถขุดคืนจากผู้เช่าซื้อ โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนรถขุดของกลาง ศาลจังหวัดตราดได้ยกคำร้องของโจทก์ ตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย จ.13 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ เห็นว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถขุดจากโจทก์ ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรก เอกสารหมายจ.4 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ชำระค่าเช่าซื้องวดแรกให้แก่โจทก์ตามกำหนดโดยขณะนั้นรถขุดที่เช่าซื้อได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเอาไว้เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติเหมืองแร่พ.ศ. 2510 ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่าโจทก์จะรู้ถึงการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ดังจะเห็นได้ว่าโจทก์สมัครใจทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 ใหม่ ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองเอกสารหมาย ล.1โดยสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองทำก่อนถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดที่สองตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกและเมื่อพิจารณาถึงข้อความตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีการเปลี่ยนแปลงยอดเงินที่จะต้องชำระราคาค่าเช่าซื้อกันทั้งหมดตลอดจนจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องผ่อนชำระในแต่ละงวดซึ่งเป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขในการชำระหนี้ อันเป็นการเปลี่ยนสิ่งสาระสำคัญแห่งหนี้ แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สอง ตามเอกสารหมาย ล.1 รถขุดที่เช่าซื้อ ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปแล้ว แต่ก็แสดงความประสงค์ของโจทก์ว่ามีเจตนาเพียงต้องการได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้นจึงได้ทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแต่ละงวดเพื่อระงับหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกโดยให้ใช้สัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองแทน จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ สัญญาเช่าซื้อฉบับแรกเมื่อระงับไปแล้วก็ไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงในการทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองนั่นเอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกอีก ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ในปัญหาเรื่องค่าเสียหายต่อไปที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ชอบแล้วศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน