คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่โจทก์ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฝ่าฝืนพยานหลักฐานในสำนวนเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย. ปัญหาว่าจะนำโทษของจำเลยในคดีนี้นับต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นได้หรือไม่นั้นไม่มีบทบัญญัติห้ามอุทธรณ์ฎีกาจึงฎีกาได้. การที่จำเลยเคยถูกศาลคดีเด็กและเยาวชนมีคำสั่งให้ฝึกอบรมอยู่ณสถานพินิจและคุ้มครองเด็กนั้นการฝึกอบรมดังกล่าวเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนหาใช่เป็นการลงโทษไม่แม้จำเลยจะมาทำผิดในคดีใหม่อีกก็ไม่อาจนับโทษต่อจากการฝึกอบรมได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ฐาน พยายาม ฆ่า ผู้อื่น และ ฐาน มีและ ใช้ ลูกระเบิด
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 38, 55, 78 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83 จำเลยอายุ 15 ปีเศษ ลด มาตราส่วน โทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 75 ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ มาตรา 78 จำคุก 1 ปี ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83 จำคุก 5 ปี รวม 2 กระทง จำคุก6 ปี คำให้การ ชั้นสอบสวน และ คำเบิกความ ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่การ พิจารณา ลดโทษ ให้ กึ่ง หนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี ริบ ของกลาง และ ให้ นับโทษ จำเลย ต่อ จาก โทษ ใน คดีอาญาหมายเลขแดง ที่ 54/2526 ของ ศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัด นครราสีมา
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 38, 74 แก้ไข เพิ่มเติม โดย คำสั่งของ คณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลง วันที่ 21 ตุลาคม 2519ข้อ 9 จำเลย อายุ 15 ปีเศษ ลด มาตราส่วน โทษ กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 จำคุก 6 เดือน คำให้การ คำเบิกความ ของ จำเลยเป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 3 เดือน ยก คำขอ นับโทษ ต่อนอกจาก ที่ แก้ คง เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘คง มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า โจทก์ ได้นำสืบ แล้ว หรือ ไม่ ว่า วัตถุระเบิด แบบ เอ็ม 26 เป็น วัตถุ ระเบิดที่ นายทะเบียน ไม่ อาจ ออก ใบอนุญาต ให้ ได้ ประการ หนึ่ง และ อีกประการ หนึ่ง โจทก์ จะ ขอ นับ โทษ จำเลย ใน คดี นี้ ต่อ จาก การ ฝึกอบรมของ จำเลย ตาม คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 54/2526 ของศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัด นครราชสีมา ได้ หรือ ไม่ สำหรับ ปัญหาข้อแรก โจทก์ อ้าง ใน ฟ้อง ฎีกา ว่า โจทก์ ได้ นำสืบ ร้อยตำรวจเอก นิคมพนักงานสอบสวน เบิกความ ว่า ได้ ส่ง ไป ตรวจ พิสูจน์ แล้ว ผล ปรากฏ ว่าเป็น ลูกระเบิด เอ็ม 26 ซึ่ง นายทะเบียน ไม่ อาจ ออก ใบอนุญาต ให้ ได้ตาม ปัญหา ดังกล่าว พอ แปล คำฟ้อง ฎีกา ของ โจทก์ ดังกล่าว ได้ ว่าการ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยคดี ข้อนี้ ของ โจทก์ โดย วินิจฉัย ว่าโจทก์ ไม่ได้ นำสืบ ว่า เป็น วัตถุระเบิด ที่ นายทะเบียน ไม่ อาจ ออกใบอนุญาต ให้ ได้ นั้น เป็น การ วินิจฉัย คดี โดย ฝ่าฝืน พยานหลักฐานใน สำนวน จึง เป็น ปัญหา ข้อกฎหมาย ส่วน ปัญหา ที่ ว่า จะ นำ โทษ ในคดี นี้ ของ จำเลย นับ ต่อ จาก โทษ ใน คดี อื่น ของ จำเลย ได้ หรือไม่ไม่ มี บทบัญญัติ ห้าม อุทธรณ์ ฎีกา ใน เรื่อง นี้ ซึ่ง จะ ได้ วินิจฉัยต่อไป ตาม ลำดับ สำหรับ ใน ปัญหา ข้อ แรก ที่ โจทก์ อ้าง คำเบิกความของ ร้อยตำรวจเอก นิคม พนักงานสอบสวน พยาน โจทก์ นั้น ศาลฎีกา ได้ตรวจ คำเบิกความ ของ พยาน ดังกล่าว แล้ว พยาน คง เบิกความ ใน ข้อ นี้เพียง ว่า ลูกระเบิด ได้ มี การ ตรวจ พิสูจน์ ปรากฏ ว่า เป็น แบบ เอ็ม26 ซี่ง มี น้ำหนัก เกือบ ครึ่ง กิโลกรัม ปา ได้ ไกล ประมาณ 50 เมตรโดย พยาน ปาก นี้ มิได้ เบิกความ ยืนยัน แต่ อย่างใด ว่า ลูกระเบิด ชนิดนี้ นายทะเบียน ไม่ อาจ ออก ใบอนุญาต ให้ ได้ ศาลอุทธรณ์ จึง หาวินิจฉัยคดี ข้อ นี้ ฝ่าฝืน พยานหลักฐาน ใน สำนวน แต่ อย่างใด ไม่และ ที่ อ้าง ว่า จำเลย ไม่ ได้ ต่อสู้ ว่า ไม่ ใช่ เป็น วัตถุ ระเบิดที่ นายทะเบียน ไม่ อาจ ออก ใบอนุญาต ให้ ได้ ก็ ปรากฏ ว่า จำเลย ให้การปฏิเสธ ฟ้อง โจทก์ โจทก์ จึง มี หน้าที่ นำสืบ ได้ ให้ ความ ตาม ฟ้องฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้น ส่วน ปัญหา ที่ ว่า จะ นับ โทษจำเลย ใน คดี นี้ ต่อ จาก การ ฝึกอบรม ของ จำเลย ใน คดีอาญา หมายเลขแดงที่ 54/2526 ของ ศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัด นครราชสีมา ได้ หรือ ไม่นั้น เห็น ว่า การ ฝึก อบรม ของ จำเลย ดังกล่าว เป็น วิธีการ สำหรับเด็ก และ เยาวชน ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน โดยเจตนารมณ์ ของ กฎหมาย มุ่งประสงค์ จะ ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน ผู้ กระทำผิด ใน เรื่อง วิชาชีพ และ จริยศึกษา ตลอด เวลา ที่ ได้ รับ การ ฝึกอบรม หา ใช่ เป็น การ ลงโทษ ไม่ จึง ไม่ อาจ นับโทษ จำเลย ใน คดี นี้ ต่อจาก การ ฝึก อบรม ของ จำเลย ใน คดี ดังกล่าว ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่นับโทษ ต่อ นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้นเช่นกัน
พิพากษา ยืน’

Share