แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
มารดาตาย โจทก์จำเลยได้รับโอนมรดกที่พิพาทร่วมกัน ต่อมาได้ตกลงแบ่งแยกกับครอบครอง ถือว่าเป็ฯการตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทจะมีขึ้นให้เสร็จไป เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 850 แต่เมื่อมิได้มีหลักฐษนเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 จะนำพยายบุคคลมาสืบหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 โดยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 530/2496 และ 147/2510
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เมื่อบิดามารดาตายได้พากันขอรับมรดกที่พิพาทร่วมกัน และได้ครอบครองตลอดมา ขอให้บังคับให้จำเลยแบ่งคนละครึ่ง
จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นคนออกเงินซื้อที่พาทลงชื่อมารดาในโฉนดเมื่อมารดาตาย โจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งกันเป็นสัดส่วน โดยจำเลยได้ส่วนหน้าพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ได้ส่วนหลังซีกด้านทิศตะวันตก แบ่งแล้วต่างคนต่างก็ครอบครองเป็นส่วนสัดตลอดมา การตกลงแบ่งที่พิพาทไม่ได้ทำเป็นหนังสือ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การตกลงแบ่งที่ดินพิพาทเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ย่อมรับฟังไม่ได้ พิพากษาให้แบ่งที่พิพาทคนละครึ่ง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อมารดาโจทก์จำเลยตาย ที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์จำเลย โจทก์จำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์รวมกัน ต่อมาได้ตกลงแบ่งแยกที่พิพาทกันครอบครอง ถือว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไป เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมคามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๐ มิใช่ตกลงกันแบ่งปันทรัพย์มรดก แต่เมื่อมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายโจทก์ที่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๑ จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา ๙๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจาณณาความแห่ง โดยนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๓๐/๒๑๙๖ ระหว่างนายชิน ตันสุหัส โจทก์ นายชูศรี ตันสุหัส กับพวก จำเลย และที่ ๑๔๒๐/๒๕๑๐ ระหว่างนายเจริญ โสฆะมัย โจทก์ นางสังวาลย์ จันทูป จำเลย
พิพากษายืน